ไซโคลน “กิริ” ความแรงเท่าไต้ฝุ่นระดับ 4 กำลังเร่งความเร็วอยู่ห่างจากเมืองท่าสิตต่วย (Sittwe) เพียง 200 กม.ในวันศุกร์ (22 ต.ค.) นี้ คาดว่าจะเข้าถึงฝั่งในสุดสัปดาห์
ไซโคลนกิริ (Giri) ได้ทวีความเร็วขึ้นเป็นระดับ 5 (Category 5) ในวันศุกร์ (22 ต.ค.) นี้ ท่ามกลางเสียงเตือนจากหลายฝ่ายให้ระวังคลื่นสูงถาโถมขึ้นกวาดสรรพสิ่งใกล้ชายฝั่งให้ตกทะเล แบบเดียวกับพายุนาร์กิส (Nargis) ที่กวาดผู้คนนับหมื่นหายไปจากทั้งเมืองในชั่วพริบตาในต้นเดือน พ.ค.2551
ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์
จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า การเกิดพายุไซโคลนและความรุนแรงเป็นอย่างไร
เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 3 สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในผิวโลกและเปลือกโลก ความสำคัญของกระบวนการต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ภูมิประเทศและสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุไชโคลน
พายุไซโคลนหรือพายุหมุนเขตร้อนซึ่งจะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (30 เมตร/วินาที , 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี “ตา” ซึ่งเป็นบริเวณที่ลมค่อนข้างสงบและมีความกดอากาศค่อนข้างต่ำอยู่กลางวงหมุน ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตา
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก พายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า ไซโคลน แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล
คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. หากเกิดภัยพิบัติเกี่ยวกับพายุไซโคลนนักเรียนคิดว่า กลุ่มบุคคลใดควรมีร่วมแสดงความรับผิดชอบให้ความช่วยเหลือในด้านใดและประเด็นใดบ้าง
2. จังหวัดหวัดสงขลามีความเสี่ยงมากหรือน้อยเพียงใดต่อภัยจากพายุหมุนเขตร้อน
กิจกรรมเสนอแนะมีรายละเอียดดังนี้
ให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มแสดงสถานการณ์จำลองเกี่ยวกับ การประกาศเตือนเกี่ยวกับพายุไซโคลน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แบ่งสมาชิกในห้องออกเป็น 5 กลุ่ม โดยให้จับสลากเพื่อแสดงบทบาทและความรับผิดชอบเกี่ยวกับพายุโซโคลนที่จะเกิดในท้องถิ่นของตนเอง (1) นักอุตุนิยมวิทยา (2) ผู้อำนวยการโรงเรียน (3) ผู้นำชุมชน (4) ห้วหน้าครอบครัว (5) นักข่าว
2. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอบทบาทของกลุ่มตนเอง กลุ่มละ 5 นาที
3. ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกภายในห้องเรียน
4. ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวรับภัยจากพายุไซโคลน
การบูรณาการกับกลุ่มสาะะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการคำนวณความเร็วของพายุ เพื่อคำนวณเวลาและระยะทางที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง/แหล่งที่มา
- พายุไซโคลน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3277