การพยากรณ์อากาศ


1,235 ผู้ชม


การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต   

อุตุฯ ประกาศเตือนฝนตกหนักภาคใต้-คลื่นลมแรงอ่าวไทย


          กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยฝนตกหนักในภาคใต้และคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ฉบับที่ 13 ในช่วงวันที่ 30-30 ตุลาคม บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุม ประเทศไทยตอนบนประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ซึ่งจะทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนัก คลื่นลมมีกำลังแรง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณ 13 จังหวัดภาคใต้ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ
         ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีอากาศเย็นลง 2-3 องศาในช่วงวันที่ 1-3 พฤศจิกายนนี้
ที่มา : https://www.norsorpor.com/     
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ช่วงชั้นที่ 4 
สาระที่ 6   กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน  ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก   ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

การพยากรณ์อากาศ

การพยากรณ์อากาศ

    หมายถึง การคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่ สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ขั้นตอนในการพยากรณ์อากาศ
    ขั้นตอนที่สำคัญสามขั้นตอนในการพยากรณ์อากาศได้แก่ 
1. การตรวจอากาศเพื่อให้ทราบสภาวะอากาศปัจจุบัน 
2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูลผลการตรวจอากาศ และ
3. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคาดหมาย 
    ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น สามารถแบ่งขั้นตอนออกไปได้อีกคือ 
    3.1 ขั้นตอนแรกเป็นการบันทึกผลการตรวจอากาศที่ได้รับทั้งหมด ทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ ลงบนแผนที่หรือแผนภูมิทางอุตุนิยมวิทยาชนิดต่าง ๆ เช่น แผนที่อากาศผิวพื้น แผนที่อากาศชั้นบน แผนภูมิการหยั่งอากาศ ด้วยสัญลักษณ์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา 
    3.2 ขั้นตอนที่สองคือการวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรก โดยการลากเส้นแสดงค่าองค์ประกอบทางอุตุนิยามวิทยา เช่น เส้นความกดอากาศเท่าที่ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยเพื่อแสดงตำแหน่ง และความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศเส้นทิศทางและความเร็วลมในระดับความสูงต่าง ๆ เพื่อแสดงลักษณะอากาศในระดับบน และเส้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความสูงเพื่อแสดงเสถียรภาพของ บรรยากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดเมฆและฝน 
    3.3 ขั้นตอนที่สามคือการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของตัวระบบลมฟ้า อากาศที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่สอง โดยใช้วิธีการพยากรณ์อากาศแบบต่าง ๆ 
    3.4 ขั้นตอนที่สี่คือการออกคำพยากรณ์ ณ ช่วงเวลาและบริเวณที่ต้องการ โดยพิจารณาจากตำแหน่งและความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในขั้นตอนที่สาม 
    3.5 ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งคำพยากรณ์อากาศไปยังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไป สู่ประชาชน และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป ตามความเหมาะสม เช่นการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ

การพยากรณ์อากาศ การพยากรณ์อากาศ

ระยะเวลาของการพยากรณ์อากาศ
      การพยากรณ์อากาศอาจเป็นการคาดหมายสำหรับช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า จนถึงการคาดหมายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกหลายปีจากปัจจุบัน สามารถแบ่งชนิดของการพยากรณ์อากาศตามระยะเวลาที่คาดหมายได้ดังนี้
1. การพยากรณ์ปัจจุบัน (nowcast) หมายถึงการรายงานสภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศสำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2. การพยากรณ์ระยะสั้นมาก คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง
3. การพยากรณ์ระยะสั้น หมายถึง การพยากรณ์สำหรับระยะเวลาเกินกว่า 12 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 3 วัน
4. การพยากรณ์อากาศระยะปานกลาง คือ การพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาที่เกินกว่า 3 วันขึ้นไปจนถึง 10 วัน
5. การพยากรณ์ระยะยาว คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลาระหว่าง 10 ถึง 30 วัน  โดยปกติมักเป็นการพยากรณ์ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงเวลานั้นจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
6. การพยากรณ์ระยะนาน คือการพยากรณ์ตั้งแต่ 30 วัน จนถึง 2 ปี ซึ่งยังแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ
    6.1การคาดหมายรายเดือน คือการคาดหมายว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิกาศอย่างไร
    6.2การคาดหมายรายสามเดือน คือการคาดหมายค่าว่าเฉลี่ยของตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงนั้น จะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
    6.3การคาดหมายรายฤดู คือการพยากรณ์ค่าเฉลี่ยของฤดูนั้นว่าจะแตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางภูมิอากาศอย่างไร
7. การพยากรณ์ภูมิอากาศ คือการพยากรณ์สำหรับช่วงเวลามากกว่า 2 ปีขึ้นไป โดยแบ่งเป็น
    7.1การพยากรณ์การผันแปรของภูมิอากาศ คือการพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผันแปรไปจากค่าปกติเป็นรายปีจนถึงหลายสิบปี
    7.2การพยากรณ์ภูมิอากาศคือการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคตโดยพิจารณาทั้ง สาเหตุจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์
คำถามชวนคิด
1. หน่วยงานที่ทำหน้าที่พยากรณ์อากาศคือหน่วยงานใด
2. หน่วยงานที่ทำหน้าที่พยากรณ์อากาศขึ้นตรงต่อกระทรวงใด
3. การพยากรณ์อากาศมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
ศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม  

การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
แหล่งที่มา
https://www.tmd.go.th/info/info.php
https://www.aeromet.tmd.go.th/sat_image/sat.asp 
ภาพ
https://www.tmd.go.th/info/images/photos/pic_forecast01.jpg
https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/69374.jpg 
https://www.samui-center.com/SamuiForum/images_upload/20071021224371.jpg 
https://www.tmd.go.th/weather_map.php

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3293

อัพเดทล่าสุด