ภูเขาไฟ “เมราปี” บนเกาะชวา ใกล้เมืองย็อคยาการ์ตาของอินโดนีเซีย เกิดระเบิดรุนแรงส่งกลุ่มเถ้าถ่านและก๊าซร้อนพวยพุ่งขึ้นฟ้าไม่ต่ำกว่า 4 กิโลเมตร
ภูเขาไฟ " เมราปี (Mount Merapi) " ระเบิดบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
ภูเขาไฟ “เมราปี” บนเกาะชวา ใกล้เมืองย็อคยาการ์ตาของอินโดนีเซีย เกิดระเบิดรุนแรงขึ้นอีกระลอก ส่งกลุ่มเถ้าถ่านและก๊าซร้อนพวยพุ่งขึ้นฟ้าไม่ต่ำกว่า 4 กิโลเมตร ทางการอินโดนีเซียสั่งขยายเขตอพยพชาวบ้านออกเป็นภายในรัศมี 20 กิโลเมตรแล้ว แต่อิทธิฤทธิ์เมราปีระเบิดล่าสุด ยังส่งไอและก๊าซร้อนสูงคร่าชีวิตผู้คน และยังมีบ้านเรือนถูกแผดเผาอีกหลายหลัง ส่วนสภาพอากาศเมืองย็อคยาการ์ตาเข้าสู่ภาวะทมึน ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะต้องเปิดไฟหน้าส่องสว่างทาง แม้เป็นช่วงกลางวัน
(ที่มาไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/oversea/124696 )
ภาพภูเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi) ระเบิด
ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง)
ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
จำแนกภูเขาไฟตามรูปร่างได้ 3 ประเภทคือ กรวยภูเขาไฟสลับชั้น ภูเขาไฟรูปโล่ และกรวยกรวดภูเขาไฟ
ภูเขาไฟเมราปีระเบิด ที่มาจาก youtube.com
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง ภูเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi )
ภาพภูเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi)
ภูเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi หรือ Gunung Merapi ) เป็นภูเขาไฟในชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย
สูง 2,914 ม. ภูเขาไฟเมราปิเป็นหนึ่งในจำนวนภูเขาไฟ 129 ลูกในอินโดนิเชียที่ยังคุกรุ่นอยู่ การระเบิด
ของมันเมื่อ พ.ศ. 2537 ได้คร่าชีวิตผู้คนไป 70 ราย ขณะที่การระเบิดใน พ.ศ. 2473 มีผู้เสียชีวิตถึง
1,300 ราย ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เมื่อเวลา 5.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น
การประทุในปี พ.ศ.2553
ภูเขาไฟเมราปีกลับมาประทุอีกครั้งเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ก่อให้เกิดเถ้าถ่านและ
กลุ่มควันสูงขึ้นไปในอากาศ 1.5 กิโลเมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 คน ทำให้ทางการสั่งอพยพประชาชน
ในพื้นที่ 40,000 คน ก่อนหน้านี้ เกิดแผ่นดินไหวจากภูเขาไฟกว่า 500 ครั้ง และการปะทุของลาวา
ที่เพิ่มความถี่มากขึ้นจากเมื่อการประทุเมื่อพ.ศ. 2549 และในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2553 มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม
จำแนกภูเขาไฟตามรูปร่างได้ 3 ประเภทคือ
1. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียน
ของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลง
รูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน
(ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐฯ)
2. ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้
เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน
เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Muana Loa
(ฮาวาย)
3. กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมา
ทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมา
จากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดความสูญเสีย
ชีวิตมากมาย
ภาพภูเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi) กำลังประทุ
ดังนั้น ภูเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi) บนเกาะชวาของอินโดนีเซีย จัดเป็นจัดเป็นภูเขาไฟ
ประเภท active stratovolcano หรือแบบComposit หรือกรวยภูเขาไฟสลับชั้น
(Composit Cone Volcano) ค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. ภููเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi ) ตั้งอยู่ในประเทศอะไร
2. ภูเขาไฟเมราปีประทุครั้งแรกเมื่อใด
3. ภูเขาไฟเมราปีกลับมาประทุอีกครั้งในปี 2553 เมื่อใด
4. ภูเขาไฟมีกี่ประเภท
5. ภููเขาไฟเมราปี ( Mount Merapi ) จัดเป็นภูเขาไฟประเภทใด
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องภููเขาไฟเมราปีเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการป้องกันอันตรายจากภููเขาไฟระเบิด
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับภููเขาไฟเมราปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นับจำนวนภูเขาไฟที่พบในอินโดนีเซีย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาลักษณะพื้นผิวของโลกที่เกิดภูเขาไฟ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนประดิษฐ์ภูเขาไฟจำลอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา นักเรียนเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพภููเขาไฟเมราปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของภููเขาไฟเมราปี
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/oversea/124696
2. https://th.wikipedia.org/wiki/ภูเขาไฟเมราปี
3. https://th.wikipedia.org/wiki/ภูเขาไฟ
4. https://en.wikipedia.org/wiki/Stratovolcano
5. https://en.wikipedia.org/wiki/Mount_Merapi
6. https://www.vcharkarn.com/uploads/31/31399.jpg
7. https://dsc.discovery.com/news/afp/20060515/gallery/indovolcano_zoom.jpg
8. https://www.volcano-facts.com/mount-merapi-pictures.php
9. https://www.virginmedia.com/images/merapi-431x300.jpg
10. https://static.guim.co.uk/sys-images/Guardian/Pix/GWeekly/2010/11/1/1288633556274/Mount-Merapi-volcano-006.jpg
11.https://media.monstersandcritics.com/galleries/2607445_11861/0242888555085.jpg
12.https://farm4.static.flickr.com/3252/3285900513_b9f897d34d.jpg
13.https://blog.indahnesia.com/images/20071108_gunung_merapi_view_2006.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3309