กรมทรัพยากรธรณียัน 30 ธันวาคมนี้ไม่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ


790 ผู้ชม


สั่งจับตาแผ่นดินไหวบนบก โดยเฉพาะจุดรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เมืองกาญจน์   

      
           กรมทรัพยากรธรณียัน  30  ธันวาคมนี้ไม่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ  หลังลือสะพัดจนนักท่องเที่ยวผวาไม่กล้ามาพัก
ทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน  สั่งจับตาแผ่นดินไหวบนบก  โดยเฉพาะจุดรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เมืองกาญจน์  
หากเกิดจะส่งผลกระทบ  147  อำเภอ  20  จังหวัดทางภาคกลาง
           ที่มา  https://www.thairath.co.th/content/region/136783
  
ประเด็นศึกษา  เรื่องสึนามิ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

          ภัยธรรมชาติต่างๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสภาพลมฟ้าอากาศที่แปรปรวนซึ่งยังความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินอย่างมหาศาล ภัยที่เกิดจากธรรมชาติเหล่านี้ได้แก่ วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม คลื่นพายุซัดฝั่ง เป็นต้น แต่มนุษย์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย  จึงควรที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมกันช่วยเหลือในการหาความรู้และระดมความคิดเพื่อวางแผนป้องกัน แก้ไขและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ส่งผลกระทบน้อยลง 
          ยุคปัจจุบัน ได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้และภัยธรรมชาติ
เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในขณะที่มนุษย์ไม่อาจยับยั้งภัยพิบัติธรรมชาติได้ แต่สิ่งที่เราสามารถกระทำได้คือ การบรรเทาความสูญเสียให้น้อยที่สุดอันเนื่องมาจากธรรมชาติเหล่านี้ ซึ่งต้องอาศัยการพยากรณ์ที่แม่นยำและการเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ มาตรการการป้องกันและเตรียมพร้อม แม้มนุษย์จะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดคลื่นสึนามิได้ 
แต่ก็สามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้หากมีการเตรียมพร้อมที่ดี  ดังนั้นความไม่ประมาทและการเตรียมพร้อมจึงเป็นเรื่องดีและไม่ก่อให้เกิดผลเสียด้านการท่องเที่ยวหากมีการไห้ความรู้แก่ประชาชนอย่างถูกต้อง

                                    กรมทรัพยากรธรณียัน 30 ธันวาคมนี้ไม่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

                                    ภาพจาก https://www.google.co.th/imglanding
           การเตือนภัยคลื่นสึนามิล่วงหน้านั้นทำได้ยากกว่าการตรวจจับแผ่นดินไหว  นักวิทยาศาสตร์มักทำได้แค่ชี้ว่า
ตรงไหนมีโอกาสจะเกิดคลื่นสึนามิได้บ้าง โดยดูตามประวัติที่มีบันทึกไว้ และกว่าจะระบุได้ว่าเจ้าคลื่นยักษ์ใต้สมุทรนี้ 
มีความเร็วสักเท่าไร ก็ต้องรอตรวจจับแผ่นดินไหวได้ก่อนเป็นลำดับแรก ฉะนั้นหากเกิดแผ่นดินไหวใกล้แผ่นดิน
อย่างในกรณีที่ เพิ่งอุบัติขึ้นที่นิวกินี คลื่นสึนามิก็จะพุ่งเข้าถล่มชายฝั่งในเวลาแค่ไม่กี่วินาทีให้หลังจึงเป็นไปไม่ได้
ที่ใครจะหนีทันวิธีสังเกตขณะคลื่นสึนามิ กำลังจะเข้าสู่ฝั่งคือเมื่อระดับน้ำที่ชายหาดลดต่ำกว่าระดับน้ำลงต่ำสุดตามปกติเป็นอย่างมากจนมองเห็นแนวชายฝั่งออกไปได้ไกล ผิดหูผิดตา หากรู้สึกว่าแผ่นดินไหวหรือพื้นดินสั่นสะเทือนขณะอยู่ใกล้ชายหาด จงวิ่งสุดฝีเท้าย้อนขึ้นไปให้ไกลจากน้ำทะเลที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
 
สึนามิคืออะไร
     สึนามิ (Tsunami) เป็นคำที่ยอมรับกันทั่วโลกแล้วว่า เป็นคลื่นยักษ์ที่มีความยาวคลื่นเป็นหลัก 100 กิโลเมตรขึ้นไป 
ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นหากแปลตรงตัวคำว่า “TUS” หมายถึง ท่าเรือ “NAMI” หมายถึง คลื่น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลในแนวดิ่งตรงรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งก่อให้มีแนวของรอยเลื่อนมีพลังอันเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คลื่นที่เกิดขึ้นมักมีลักษณะขนาดเล็ก ๆ ไม่สามารถตรวจวัดได้ขณะอยู่ในทะเลเปิด ต่อเมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตามสภาพภูมิลักษณ์ของชายฝั่งนั้นๆ จนมีผลกระทบร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีผลต่ออ่าวที่เว้าเป็นรูปตัววี (V) และเปิดไปสู่มหาสมุทรโดยตรง

สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ
             คลื่นสึนามิ มีสาเหตุการเกิดหลายประการ เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกตามแนวรอยเลื่อนที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวที่พื้นท้องทะเล  การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล   ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล  การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล คลื่นสึนามิในมหาสมุทรหรือทะเลตรงที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นความพยายามที่จะกลับคืนสู่
สมดุลย์ภายหลังจากการยกตัวอย่างฉับพลันของพื้นท้องมหาสมุทรนำมาซึ่งการยกตัวของมวลน้ำทะเลอย่างทันทีทันใด อนุภาคของน้ำจะกระเพื่อมขึ้นและลง เริ่มต้นเป็นศูนย์กลางของการแผ่กระจายคลื่นน้ำออกไปในทุกทิศทาง โดนอนุภาคของน้ำเคลื่อนที่เป็นวงรี และมีลักษณะยาวตามแนวนอน โดยมีความสูงของคลื่นไม่มากนักในทะเลลึกแต่มีค่าความเร็วสูง เมื่อคลื่นเข้าใกล้ฝั่งความเร็วของคลื่นจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างฉับพลัน โดยที่แรงปะทะยังทรงพลังอยู่ จึงทำให้
ยอดคลื่นถูกยกขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และสูงสุดที่ชายฝั่ง ดังนั้นผลกระทบจากคลื่นสึนามิบริเวณแหล่งกำเนิดในทะเล
จึงแทบไม่ปรากฏ ส่วนบริเวณชายฝั่งตื้นย่อมก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกับชีวิตและทรัพย์สินบริเวณชายฝั่งนั้น

            การตรวจจับคลื่นคลื่นสึนามินั้นกระทำได้ยากมาก เมื่อคลื่นเริ่มเกิดในมหาสมุทรบริเวณที่น้ำลึก คลื่นอาจจะมีความสูงเพียง 10-20 นิ้วเอง ซึ่งดูเหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมากกว่าการกระเพิ่มขึ้นลงของน้ำในมหาสมุทรเอง

สึนามิต่างจากคลื่นในท้องทะเล

         สึนามินั้นไม่เหมือนกับคลื่นที่เกิดจากลม ซึ่งเรามักจะสังเกตเห็นคลื่นได้จากในทะเลสาปหรือในท้องทะเลซึ่งคลื่นเหล่านั้นมัก เป็นคลื่นที่ไม่สูงนัก หรือคลื่นที่มีลูกคลื่นตื้น ๆ ประกอบกับมีระลอกและความยาวของคลื่นที่ค่อนข้างยาว
ต่อเนื่องลมเป็นตัวที่ก่อให้เกิด คลื่นซึ่งเราจะเห็นได้อยู่ทั่ว ๆไป ตามชายหาด อย่างเช่น หาดบริเวณแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีคลื่นม้วนตัวกลิ้งอยู่เป็นจังหวะต่อเนื่องจากลูก หนึ่งไปสู่อีกลูกหนึ่งซึ่งบางคราวกินเวลาต่อเนื่อง กว่า 10 วินาทีและมีความยาวของลูกคลื่นกว่า 150 เมตรในทางตรงกันข้ามคลื่นสึนามิ มีความยาวคลื่นเกินกว่า 100 กิโลเมตรและช่วงระยะเวลาของระลอกคลื่น ยาวนานกว่า 1 ชั่วโมงซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความยาวของคลื่น ที่มีความยาวมากนั่นเอง

เมื่อคลื่นสึนามิขึ้นฝั่ง 
          คลื่นสึนามิจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว จากบริเวณน้ำลึกเข้าสู่บริเวณฝั่ง เมื่อใกล้ฝั่งความเร็วของ คลื่นสึนามิจะ
ลดลง ความสูงของคลื่นจะก่อตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคลื่นสึนามิ ขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิจะโถมขึ้นสู่ฝั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ความสูงของยอดคลื่นสูงมาก ยิ่งขึ้น เมื่อคลื่นสึนามิเข้าปะทะแผ่นดินพลังงานของมันจะสูญเสียไปเนื่องจากการสะท้อน กลับของคลื่นที่ปะทะชายฝั่งในขณะที่พลังงานของคลื่นที่แผ่เข้าสู่ฝั่งจะถูกทำให้กระจาย พลังงานสู่ด้านล่างและเกิดกระแสหมุนวน ทั้งนี้ทั้งนั้นการสูญเสียพลังงานนี้มิได้ทำให้ คลื่นสึนามิลดความรุนแรงลงมันยังคงเคลื่อนเข้าปะทะฝั่งด้วยพลังงานอย่างมหาศาล คลื่นสึนามิมีพลังงานมหาศาลในการกัดเซาะ พังทลายโดยเฉพาะชายฝั่งหาดทรายที่ปกคลุมด้วยต้นไม้และพืชพันธ์จะถูกน้ำท่วมปกคลุม ระดับน้ำจะสูงขึ้นและการเคลื่อนตัวของน้ำที่รวดเร็วจะปะทะกับบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ คลื่นสึนามินั้นบางครั้งสามารถปะทะฝั่งที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่10 เมตร 20 เมตร และบางครั้งอาจสูงถึง 30 เมตรได้

          ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในฮาวายเป็นศูนย์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารในยานแปซิฟิก ซึ่งจะมีแถลงการณ์ที่ออกประกาศถึงการเกิด คลื่นสึนามิ 2 แบบคือ การเฝ้าระวังและการเตือนภัย การแถลงข่าวการเฝ้าระวังเรื่องสึนามิจะออกอากาศเมื่อแผ่นดินไหวเกิดขึ้นขนาด 6.75 ตามมาตราวัดริคเตอร์ หรือมากกว่านั้น ส่วนการแถลงการณ์ เตือนภัยนั้นจะกระทำต่อเมื่อได้ข้อมูลจากสถานีวัดระดับน้ำ ซึ่งบ่งชี้ ถึงศักยภาพที่สามารถก่อให้เกิดสึนามิได้ สถานีวัดระดับน้ำจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ น้ำรอบ ๆ สถานี และจะประกาศเตือนเมื่อ คุณสมบัติของข้อมูลตรงกับศักยภาพของการเกิดคลื่นสึนามิ 

                                 กรมทรัพยากรธรณียัน 30 ธันวาคมนี้ไม่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

                             ภาพจาก https://www.google.co.th/imglanding

การบรรเทาภัยคลื่นสึนามิ 

        เมื่อคลื่นสึนามิจะพุ่งเข้าสู่ฝั่งมาหาคุณ พื้นแผ่นดินจะสั่นสะเทือนโดยรู้สึกได้ใต้เท้าของคุณหรือคุณอาจได้รับ
 คำเตือน แจ้งให้ผู้คนวิ่งหา พื้นที่ๆ สูง เพื่อที่ให้ทราบถึงวิธีการปกป้องตัวเองจากคลื่นสึนามินั้น หัวข้อต่าง ๆ ที่พึงทราบ
มีดังต่อไปนี้ 
        1.  ต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคลื่นสึนามิ 
        2.  หากเกิดคลื่นสึนามิขึ้น จะมีวิธีการบรรเทาภัยอย่างไร กรณีที่อยู่บนพื้นดินและอยู่บนเรือ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสึนามิ  สรุปได้ดังต่อไปนี้ 
       1.  คลื่นสึนามิจะเข้าปะทะฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกและมักจะเกิดจากแผ่นดินไหวโดยที่
            แผ่นดินไหวบางครั้งเกิดไกลหรือใกล้ จากบริเวณที่ผู้คนพักอาศัย 
       2.  คลื่นสึนามิบางครั้งจะใหญ่มาก ในบริเวณชายฝั่ง คลื่นอาจมีความสูงถึง 30 ฟุตหรือมากกว่า (บางครั้งอาจ
            เกินกว่า 100 ฟุต) และเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่งได้ไกลหลายร้อยฟุต 
       3.  ชายฝั่งที่มีพื้นลาดต่ำสามารถถูกคลื่นสึนามิพัดถล่มได้ง่าย 
       4.  คลื่นสึนามิประกอบด้วยคลื่นหลายๆ คลื่น รวมเป็นชุดของคลื่น ซึ่งคลื่นลูกแรกนั้น มีบ่อยครั้งที่มักจะไม่ใช่
            ลูกที่ใหญ่ที่สุด 
      5.  คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วกว่าคนวิ่ง 
      6.  บางครั้งคลื่นสึนามิเป็นสาเหตุให้กระแสน้ำบริเวณชายฝั่งถดถอยหรือถอยร่นไป แล้วไปโผล่ที่พื้นสมุทร 
      7.  แรงกระทำที่คลื่นสึนามิกระทำนั้นค่อนข้างรุนแรง หินก้อนใหญ่ๆ อาจถูกคลื่นสึนามิหอบขึ้นมาทับเรือหรือ
           แม้แต่เศษซากปรักหักพังอื่นๆ 
      8.  คลื่นสึนามิเกิดได้ทุกเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน 
      9.  คลื่นสึนามิสามารถเคลื่อนตัวสู่แม่น้ำที่เชื่อมต่อทะเลและมหาสมุทรได้ 
     10. หากคุณอยู่บนแผ่นดิน หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายครอบครัวและ
           ตัวคุณออกจากพื้นที่ที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่ 
     11. หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงเพื่อหลบภัยทันทีและให้อยู่
           ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร 
     12. หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ 
          แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาทีเท่านั้น
          สำหรับหาที่หลบภัยได้ 
    13. สำหรับตึกสูงและมีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามืได้    
         
ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย
    14. หากอยู่บนเรือ หากคลื่นสึนามิกำลังโถมเข้าปะทะฝั่ง ควรจะถอยเรือห่างจากฝั่งไปยังบริเวณพื้นที่น้ำลึก
          เนื่องจาก 
คลื่นสึนามิจะทำให้ระดับน้ำบริเวณ ใกล้ฝั่งหรือท่าเรือเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

ระบบเตือนภัยจากสึนามิ
            การบรรเทาภัยจากสึนามิจะทำได้โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ประเทศไทยเป็นสมาชิกในระบบเตือนภัยสึนามิในแปซิฟิก (Pacific Tsunami Warning System) ซึ่งมีสมาชิก 26 ประเทศ ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่ฮาวาย เมื่อศูนย์ได้รับข้อมูลแผ่นดินไหวจะทำการตรวจสอบว่าตำแหน่งที่เกิดกับขนาดของแผ่นดินไหวว่าเข้าเกณฑ์เสี่ยงไหม ถ้าพบว่า
เข้าเกณฑ์เสี่ยงก็จะทำการแจ้งเตือนภัยโดยรอบ พร้อมทั้งจะให้ข้อมูลเวลาที่คาดว่าคลื่นจะมาถึงสำหรับบริเวณที่คลื่นจะถึงใน 2-3 ชั่วโมง เมื่อทางศูนย์ตรวจพบสึนามิใหญ่จากการตรวจวัดภาพพื้นทะเล ศูนย์จะแจ้งเตือนทั่วประเทศในภาคพื้นแปซิฟิค

กฎความปลอดภัยเมื่ออยู่ในทะเล
ปกติผู้เดินเรือจะไม่ทราบว่าเกิดสึนามิเมื่ออยู่ในทะเล และเมื่อได้ยินการเตือนภัย ห้ามเข้าชายฝั่งเพราะระดับน้ำจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่ชายฝั่ง แต่ถ้าเรือกำลังจะออกจากท่าเรือให้ติดต่อกับท่าเรือเพื่อรับฟังคำแนะนำ ถ้ารับทราบ
คำเตือนและมีเวลาที่จะไปยังน้ำลึกก็อาจจะไปอย่างเป็นระเบียบ แต่สำหรับเรือเล็กอาจจะปลอดภัยกว่าถ้าอพยพออกจากเรือไปยังที่สูง

กิจกรรมเสนอแนะ
         แต่งเพลงอธิบายการเกิดสึนามิ แนวทางการปฏิบัตืเมื่อเกิดสึนามิ
กืจกรรมบูรณาการ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เกี่ยวกับแผ่นดินไหว  คลื่น

 ที่มา  https://www.yupparaj.ac.th/special/earthquake/tsunami.htm
         https://scratchpad.wikia.com/
         https://evr.eng.chula.ac.th/earthquake/Tsunami.htm

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3409

อัพเดทล่าสุด