สารปนเปื้อนในกาแฟลดความอ้วน MUSLIMTHAIPOST

 

สารปนเปื้อนในกาแฟลดความอ้วน


793 ผู้ชม


กาแฟควบคุมน้ำหนักกับสารอันตรายสารอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สั่งเพิกถอนห้ามใช้เด็ดขาดเนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรง โดยจะออกฤทธิ์ลดอาการอยากอาหารไปพร้อมๆ กับทำให้ร่างกายขาดน้ำ ใจสั่น   

       สาวสมัยนิยมหุ่นบางเฉียบดังนั้นต้องควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีการที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการดื่มกาแฟลดความอ้วน 
ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์

        จากประเด็นข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจว่า สารไซบูทรามินส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายได้อย่างไร และมีผลมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

เนื้อหาสาระสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
        ช่วงชั้นที่ 3 สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร    
        มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารไซบูทรามิน
        สารไซบูทรามีน (Sibutramine) คืออะไร   
   
     Sibutramine เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาและควบคุมโรคอ้วน (obesity)และจัดเป็นยาควบคุมพิเศษซึ่งห้ามซื้อขายในร้านขายยาโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ ยับยั้งการเก็บกลับ (reuptake) ของสารสื่อประสาทจำพวก  ซีโรโทนิน (serotonin)และ นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) ที่บริเวณสมองส่วนไฮโปธาลามัส (hypothalamic area) ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงและอิ่มเร็วขึ้น รวมทั้งสามารถกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายได้ด้วยเช่นกัน 
          การใช้ยา sibutramine ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร  การใช้ยาลดความอ้วนควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และมักจะเริ่มใช้ยาในกรณีที่ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กก/ม2 หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมี BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 27 กก/ม2 ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูงผิดปกติ โดยผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อนใช้ยาเสมอเพื่อตรวจสอบว่ามีข้อห้ามของการใช้ยาหรือไม่
          ข้อควรระวังและผลข้างเคียงจากยา sibutramine 
                ผู้ป่วยดังต่อไปนี้ควรระวังในการใช้ยา sibutramine เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงจากยาได้ 
                        - ในระหว่างที่ใช้ยา sibutramine ผู้ป่วยบางรายอาจมีระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นมีควรมีการตรวจระดับความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจอยู่เสมอ
                        - ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
                        - ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกและผู้ที่ใช้ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin หรือ aspirin เนื่องจากมีรายงานการเกิดเลือดออกจากการใช้ยา sibutramine
                        - ผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ หรือไต รวมถึงผู้ป่วยฟอกไตด้วยเช่นกัน
                        - ผู้ที่มีประวัติชัก (seizure) เนื่องจากพบรายงานอาการชักจากการใช้ยา sibutramine
                        - ผู้ที่มีประวัติเป็นโรค neuroleptic marlignant syndrome (NMS)
                        - ผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่ว เนื่องจากการลดน้ำหนักอาจเป็นสาเหตุในการทำให้เกิดนิ่วได้
                        - ผลข้างเคียงที่พบได้ในผู้ที่รับประทานยา sibutramine ได้แก่ ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และเบื่ออาหาร 
             ดังนั้นสารดังกล่าว
เป็นสารอันตรายที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สั่งเพิกถอนห้ามใช้เด็ดขาดเนื่องจากมีผลข้างเคียงรุนแรง โดยจะออกฤทธิ์ลดอาการอยากอาหารไปพร้อมๆ กับทำให้ร่างกายขาดน้ำ ใจสั่น 
ความดันโลหิตสูง ซึ่งหากรับประทานมากอาจบีบหัวใจจนถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุดการพบยาไซบูทรามีนในอาหารถือว่ามีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ จัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ซึ่งผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับกรณีการผลิตหรือจำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง จะมีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท และกรณีที่เข้าข่ายการผลิตหรือจำหน่ายอาหารปลอม ซึ่งเป็นอาหารที่มีการแสดงฉลากเพื่อลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าได้รับเลข สารบบ อาหารแล้ว จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี และปรับตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท

คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่า การดื่มกาแฟเพื่อลดความอ้วนจำเป็นหรือไม่อย่างไร มีวิธีการใดที่ดีกว่านี้หรือไม่
2. นักเรียนจะรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับสารไซบูทรามีนต่อกลุ่มผู้บริโภคในชุมชนนักเรียนได้อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ
มีรายละเอียดดังนี้ ดำเนินการโดยใช้กระบวนการกลุ่ม   โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แบ่งสมาชิกในห้องออกเป็น 10 กลุ่ม โดยศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารไซบูทรามิน 
2. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอบทบาทของกลุ่มตนเอง กลุ่มละ 5 นาที
3.  ร่วมกันอภิปรายแลกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการรณรงค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสารไซบูทรามินแก่สมาชิกในชุมชนที่ตนอาศัย
4.  ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับหลักการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน

การบูรณาการกับกลุ่มสาะะการเรียนรู้อื่นๆ 
        สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลานามัย เกี่ยวกับชื่อ "ออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก"
สารไซบูทรามีนจัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ใช้ในคลินิกสำหรับลดความอ้วน ซึ่งตอนนี้องค์การอาหารและยาได้ประกาศยกเลิกตำรับยาแล้ว เพราะมีอันตรายที่อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ โดยอยู่ระหว่างการเรียกคืนจากร้านขายยา คลินิกและโรงพยาบาลทุกแห่ง ยี่ห้อการค้าในท้องตลาดคือรีดัคทิล (Reductil)
  
อ้างอิง/แหล่งที่มา
ภัยอันตรายจากสารในกาแฟควบคุมน้ำหนัก
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3426

อัพเดทล่าสุด