สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”


583 ผู้ชม



สมาคมดาราศาสตร์ฯ จัดกิจกรรม “ตามล่าหาดาวยูเรนัส” 22 ม.ค. ชวนดูดาวเคราะห์เพื่อนบ้านดวงที่ 7 ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย   
สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”
22 ม.ค.สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”
 
สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”
โมเดลกระดาษดาวเสาร์
แหล่งที่มาของภาพ
สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
สมาคมดาราศาสตร์ฯ ชวนตามล่าหา “ยูเรนัส”

เนื้อหาสาระจากข่าววิทยาศาสตร์ของ ASTV manager online

สมาคมดาราศาสตร์ไทย -สมาคมดาราศาสตร์ฯ จัดกิจกรรม “ตามล่าหาดาวยูเรนัส” 22 ม.ค. ชวนดูดาวเคราะห์เพื่อนบ้านดวงที่ 7 ในตำแหน่งที่เห็นได้ง่าย พร้อมบรรยายจากนักเรียนดาราศาสตร์โอลิมปิกเหรียญทอง ตามด้วยกิจกรรมประกอบโมเดลดาวเสาร์ ทิ้งท้ายด้วยกิจกรรมตั้งกล้องโทรทรรศน์ดูดาวพฤหัสและจันทร์บริวาร 
       
       สมาคมดาราศาสตร์ไทยจัดกิจกรรม “ชาวฟ้า ตามล่าหาดาวยูเรนัส” ในวันเสาร์ที่ 22 ม.ค.54 ตั้งแต่เวลา 15.00-20.00 น. ณ บริเวณหน้าห้องสมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึษา ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
       
       ทั้งนี้ ในวันดังกล่าวดาวยูเรนัสซึ่งเป็นดาวเคราะห์ก๊าซเพื่อนบ้านของดวงที่ 7 ของโลกในระบบสุริยะ จะอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์และอยู่ใกล้โลก จึงมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี
       
       สำหรับกิจกรรมในวันดังกล่าวประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง “ดาวเคราะห์ก๊าซเพื่อนบ้านดวงที่ 7 ดาวยูเรนัส” โดย นายณัฐนันท์ ตันติวัสดาการ นักเรียนเหรียญทองการแข่งขันฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ และการบรรยายเรื่อง "ZOONIVERSE แยกประเภทดาราจักร และค้นพบวัตถุประหลาดที่ไม่เคยเห็น" โดย นายวิษณุ เอื้อชูเกียรติ กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย
       
       พร้อมกันนี้ มีกิจกรรมพิเศษเป็น “การประกอบโมเดลกระดาษดาวเสาร์” ซึ่งมี นายพรชัย รังษีธนะไพศาล กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย เป็นวิทยากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้จะได้โมเดลดาวเสาร์จากการประกอบขึ้นเองเป็นของขวัญปีใหม่ 2554 จากนั้นในเวลา 18.00 น.มีกิจกรรมตั้งกล้องโทรทรรศน์เพื่อชมดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์บริวาร 4 ดวง รวมถึงการตามหาดาวยูเรนัสที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และเป็นดาวเคราะห์ที่น้อยคนจะมองเห็นโดยเฉพาะชาวกรุง
       
       ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ชั้น 1 อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (บริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ โทร. 02-381-7409-10 , มือถือ 081-833-6511 ติดต่อ พรชัย รังษีธนะไพศาล
       
       หมายเหตุ - ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้กรุณาระบุจำนวนสมาชิกที่จะเดินทางไปร่วมกิจกรรม เพื่อทางเจ้าหน้าที่สมาคมฯ จะได้จัดเตรียมโมเดลกระดาษดาวเสาร์ให้ครบตามจำนวน ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ (ฟรี)

ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนวิทยาศาสตร์
   สาระที่ 7   โลกและดวงดาว อวกาศ 
   มาตรฐาน  ว 7.1   
   สรุปข่าว ผู้เรียนที่อยู่ระดับชั้นม.6 และเตรียมพร้อมที่จะสอบระดับชาติ (O-NET)  ปี พ.ศ. 2554 ( ปีการศึกษา 2553) นักเรียนจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการชมดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์ที่เป็นบริวาร 4 ดวง  และนักเรียนจะมีความรู้เพิ่มเติมว่า ดาวยูเรนัส ที่จะไม่อยู่ในระบบสุริยะอีกต่อไปเพราะว่า ดาวยูเรนัสที่มีขนาดเล็กมากและไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จะติดตามได้โดยใช้กล้องโทรทัศน์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มกราคม 2554 19:08 น.
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3450

อัพเดทล่าสุด