ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ


1,225 ผู้ชม


ผวาเป็นลางร้าย เกิดแผ่นดินไหว คล้ายจีน   
ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

ภัยพิบัติ??   เมฆ  ... บอกเหตุ

ผวาเป็นลางร้าย เกิดแผ่นดินไหว คล้ายจีน
     28ม.ค.53 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อเวลา 17.00 น. วานนี้ได้เกิดเหตุการณ์ประหลาด เมฆบนท้องฟ้าเหนือกรุงเทพมหานคร ได้ปรากฎมีลักษณะเป็นริ้วๆ ผ่ากลางเป็นเส้นตรง ซึ่งภาพดังกล่าว คล้ายกับฟอร์เวิร์ดเมล์ ที่เป็นรูปเมฆบนท้องฟ้าของประเทศจีน ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน  เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2551 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดมีเสียงร่ำลือกันว่าอาจเป็นลางร้ายเกิดภัยพิบัติก็เป็นได้ซึ่ง จากการสอบถามนายบุญธรรม ตั้งล้ำเลิศ หัวหน้าเวรพยากรณ์อากาศ สำนักพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ผ่านผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ ว่า สาเหตุของเมฆริ้วดังกล่าว เกิดจากท้องฟ้ากำลังมีลมพัดแรงจนทำให้เมฆไม่เกาะกลุ่ม ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติในวันที่มีลมแรง คงไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติแต่อย่างใด  ขณะที่หมอดู และ โหรต่างๆ ก็ได้ออกมาบอกว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงปรากฎการณ์ธรรมชาติ แต่ถ้าจะพูดในเชิงเป็นลางบอกเหตุนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคน ทั้งนี้ประชาชนก็ไม่ควรจะแตกตื่นตกใจกับกระแสดังกล่าวมากนัก

เรียบเรียงข่าวโดย Mthai News
ที่มา
 : https://news.mthai.com/general-news/101547.html

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทุกระดับชั้น
สาระที่ 6   กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
  มาตรฐาน  ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก   ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 8   ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  มาตรฐาน  ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์  ในการสืบเสาะหาความรู้  การแก้ปัญหา  รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน  สามารถอธิบายและตรวจสอบได้  ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

เมฆที่หาดูได้ยาก

1.  กลุ่มเมฆรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมีลักษณะต่างๆและเกิดแสงกระทบกัน เหมือนแมงกะพรุน ม้วนเป็นคลื่นขนาดใหญ่ จานยูเอฟโอ และอื่นๆ

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

อันดับ 10 Altocumulus Castelanus


2.  เมฆกลุ่มนี้คือจะเป็นพุ่มๆเหมือนแมงกะพรุน เกิดจากลมที่ชื้นๆจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม มาเจอกับอากาศแห้งๆ

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

อันดับ 9 Nacreous

3. เมฆ นี้เรียกได้ว่าเป็นไข่มุกแห่งเมฆาเลยทีเดียว เพราะสีนวลตาและหลากสี ทำให้เพลินตาดี ซึ่งจะพบได้ที่แถบใกล้ๆขั้วโลกเช่นสแกนดิเนเวียตอนช่วงหน้าหนาว เวลาเย็นๆที่แสงอาทิตย์ส่องผ่าน เป็นเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้นที่เราจะเห็นแบบนี้

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

 อันดับ 8 Mammatus Clouds

 4. เมฆ ลักษณะแบบเป็นกระเปาะยื่นลงมา คนทั่วไปมักจะนึกว่าเดี๋ยวจะมีพายุเข้ามารึเปล่าหว่า จริงๆแล้ว เมฆนีไม่ใช่สัญญาณเตือนอันตรายแต่อย่างใด แต่มักเกิดขึ้นหลังจากที่พายุทอร์นาโดพ้นผ่านไปแล้วต่างหากล่ะ

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

 อันดับ 7 Mushroom Clouds

 5. เมฆแบบนี้คงไม่ใช่อะไรที่จะดีเท่าไหร่ เพราะมันเกิดจากการระเบิดอย่างแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกับระเบิดนิวเคลียร์ 

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

อันดับ 6 Noctilucent Clouds

 6. เมฆ ตามชื่อ คือ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนแต่เรืองแสง ซึ่งเกิดที่บริเวณแถวๆใกล้ๆขั้วโลกโดยแสงอาทิตย์จากอีกฟากส่องมาปะทะกับเมฆ จึงเห็นเหมือนกับเรืองแสงได้

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

 อันดับ 5 Cirrus Kelvin-Helmholtz

 7. เมฆม้วนเป็นเกลียว โอกาสเกิดขึ้นยากมาก และเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 นาที แล้วจากนั้นก็เละ เรียกว่า เป็นความบังเอิ๊ญบังเอิญจริงๆ

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

 อันดับ 4 Lenticular Clouds

 8. เกิดจากหลยองค์ประกอบ ทั้งลมและความชื้น ทำให้รวมกลุ่มกลายเป็นเลนส์ได้(แต่บางครั้งก็เหมือน UFO นะ หรือว่า.....! ?????)

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

อันดับ 3 Roll Clouds

9. เป็น เมฆฝนถึงขั้นที่จะเกิดพายุ แต่เป็นเมฆก้อนใหญ่บวกกับความดันอากาศ ความร้อนและเย็น ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเมฆเป็นการม้วน เลยดูเหมือนคลื่นขนาดใหญ่

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

อันดับ 2 Shelf Clouds

10. ลักษณะ คล้ายๆกับอันดับ 2 แต่อันนี้ไม่ได้เป็นการม้วน แต่เป็นชั้นๆเหมือนที่กำบัง(บ้างก็ว่าเหมือนลิ้นชัก)และจะมาเป็นแนวตั้ง นอกจากนี้มันยังคล้อยตัวต่ำจนน่ากลัว และเขาบอกว่าถ้าเข้าไปอยู่ในนั้นนี่ อย่างกับในหนังเลยครับ พยาุกระหน่ำรวมทั้งอุณหภูมิที่ร้อนมากๆและการหมุนของพายุที่น่าสะพรึงกลัว

ภัยพิบัติ?? เมฆ ... บอกเหตุ

อันดับ 1 Stratocumulus Clouds

เมฆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ยาก ลักษณะมันก็เหมือนกับเอาดินน้ำมันมานวดๆๆๆๆๆๆ เลยออกมาเป็นเส้นยาวๆ และเผอิญว่าเส้นยาวๆจะแบ่งเป็นช่วงๆซะด้วย ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการเกาะกลุ่ม

ที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/39121

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3466

อัพเดทล่าสุด