โลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุด


1,192 ผู้ชม


ดวงอาทิตย์พิโรธร้ายสุด โลกอาจโดนกระหน่ำด้วยพายุอาทิตย์อันดุเดือด ก่อความพินาศอย่างป่นปีให้กับมนุษยชาติ  

                   **  โลกจะเป็นอย่างไรเมื่อดวงอาทิตย์พิโรธรุนแรงที่สุด **

            รายงานข่าวจากกรุงลอนดอนแจ้งว่า นักดาราศาสตร์ได้กล่าวเตือนว่าดวงอาทิตย์กำลังเริ่ม
เข้าสู่ยุค "พิโรธร้ายสุด" โลกอาจจะโดนกระหน่ำด้วยพายุอาทิตย์อันดุเดือด  ก่อความพินาศอย่างป่นปี
ให้กับมนุษยชาติได้  เหล่านักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โลกกำลังต้องเผชิญกับ "พายุอวกาศ" ซึ่งอาจจะ
ตัดขาดการสื่อสารด้วยดาวเทียม  เครื่องบินไม่อาจขึ้นลงได้  ก่อให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ 
ราวกับโดนพายุ "คาตรินา"  ระดับโลก  สร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท 

โลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุดโลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุดโลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุดโลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุด
                                                                               ภาพดวงอาทิตย์ 
       การปะทุครั้งมหาวินาศของดวงอาทิตย์จะส่งคลื่นรังสีและอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้ามายังโลก ทำลาย
ระบบดาวเทียม 
การเดินทางทางอากาศ และขอบข่ายโทรศัพท์ลง หากว่าพายุรุนแรงถึงขนาด ยังอาจจะ
สร้างความกระทบกระเทือนจนถึงกับตลาดหุ้นล่มได้ และไฟฟ้าอาจดับอยู่นานเป็นอาทิตย์หรือเป็นเดือน 
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เหตุร้ายจากอวกาศจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น เพราะดวงอาทิตย์จะย่างเข้าสู่
ช่วงพิโรธรุนแรงที่สุดในราว  ปี พ.ศ. 2556  นี้

(ที่มาไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/content/edu/151411 )

                

                                      กำเนิดระบบสุริยะ ที่มาจาก youtube.com

เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

สาระที่  7  ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ
                        และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  
                        การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร
                        ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
                        และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                        อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

เรื่อง   ดวงอาทิตย์ (The Sun)
          
            ชื่อภาษาอังกฤษ :  The Sun

            ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ 
ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์
ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงาน
ในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย 
เอื้อต่อการดำรงชีวิต
                         โลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุด
       
   ภาพดวงอาทิตย์ จาก https://www.homesolarinfo.com/how-does-solar-energy-work.html

          องค์ประกอบ
          ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล 
และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่า
ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 
องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง 
ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็น
ฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
        
        ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง 
ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที 
หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี

       โครงสร้างของดวงอาทิตย์
        ดวงอาทิตย์เป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีมวลคิดเป็นร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ 
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม โดยมีความแบนที่ขั้วเพียงหนึ่งในเก้าล้าน 
ซึ่งหมายความว่าความแตกต่างของเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขั้วกับเส้นผ่านศูนย์กลางที่เส้นศูนย์สูตร
มีเพียง 10 กิโลเมตร จากการที่ดวงอาทิตย์มีเฉพาะส่วนที่เป็นพลาสมา ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็ง 
ทำให้อัตราเร็วของการหมุนรอบตัวเองในแต่ละส่วนมีความต่างกัน เช่นที่เส้นศูนย์สูตรจะหมุนเร็ว
กว่าที่ขั้ว ที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์มีคาบการหมุนรอบตัวเอง 25 วัน ส่วนที่ขั้วมีคาบ 35 วัน 
แต่เมื่อสังเกตบนโลกแล้วจะพบว่าคาบของการหมุนรอบตัวเองที่เส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์
คือ 28 วัน

ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นมากที่สุดบริเวณแกน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตพลังงาน และมีค่าน้อยลงเกือบ
เป็นรูปเอ็กโพเนนเชียลตามระยะทางที่ห่างออกมาจากแกน และแม้ว่าภายในดวงอาทิตย์นั้นจะ
ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถศึกษาภายในได้ผ่านทางการใช้คลื่นสะเทือน
ในดวงอาทิตย์
                        โลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุด 
            โครงสร้างดวงอาทิตย์ ที่มาจาก https://www.oknation.net/blog/print.php?id=22785

        แกนของดวงอาทิตย์ 
        ส่วนแกนของดวงอาทิตย์สันนิษฐานว่ามีรัศมีเป็น 0.2 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ ความหนาแน่น
ประมาณ 150,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 150 เท่าของความหนาแน่นของน้ำบนโลก 
อุณหภูมิประมาณ 13,600,000 เคลวิน ตลอดชีวิตส่วนใหญ่ของดวงอาทิตย์ ภายในแกนจะมีปฏิกิริยา
ฟิวชันลูกโซ่ โปรตอน-โปรตอน ซึ่งเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม พลังงานที่ได้นี้ทำให้ส่วนที่เหลือ
ของดวงอาทิตย์สุกสว่างและเปล่งแสง
        
       บรรยากาศ
       บรรยากาศของดวงอาทิตย์ประกอบด้วย 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด (temperature minimum) 
โครโมสเฟียร์ (chromosphere) เขตเปลี่ยนผ่าน (transition region) โคโรนา (corona) และเฮลิโอสเฟียร์
 (heliosphere) ตามลำดับจากต่ำไปสูง

      ชั้นอุณหภูมิต่ำสุด มีอุณหภูมิประมาณ 4,000 เคลวิน และหนา 500 กิโลเมตร 
      ชั้นโครโมสเฟียร์ ซึ่งแปลว่ารงคมณฑล หรือทรงกลมแห่งสี เหตุที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะเห็นเป็น
แสงสีแวบขณะเกิดสุริยุปราคา ชั้นนี้หนา 2,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิสูงถึง 100,000 เคลวิน
      ชั้นเขตเปลี่ยนผ่านซึ่งอุณหภูมิอาจสูงถึงล้านเคลวิน
      ชั้นโคโรนา ทำให้สิ่งนี้เป็นปัญหาคาใจนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการต่อ
เชื่อมทางแม่เหล็ก (magnetic connection) 
      ชั้นเฮลิโอสเฟียร์ หรือสุริยมณฑล คือชั้นที่อำนาจของลมสุริยะสามารถไปถึง ซึ่งอาจมากกว่า
 20 หน่วยดาราศาสตร์ (20 เท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์
 
  
โลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุดโลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุดโลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุดโลกระวัง ปี 2556 "ดวงอาทิตย์พิโรธ " รุนแรงที่สุด
                                                             ภาพดวงอาทิตย์ 
      **  จะเกิดอะไรขึ้นและนักวิทยาศาสตร์จะมีการป้องกันอย่างไร จากผลของ
                                 ดวงอาทิตย์พิโรธต้องรอดูกันต่อไปนะคะ **

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. ดวงอาทิตย์คืออะไร
        2. เหตุใดจึงกล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
        3. ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยมวลสารชนิดใดบ้าง
        4. บรรยากาศของดวงอาทิตย์มีกี่ชั้น
        5. อุณหภูมิของดวงอาทิตย์มีค่าเท่าใด
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องดวงอาทิตย์เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด 
            อินเตอร์เน็ต
       2. กิจกรรมทัศนศึกษาชมท้องฟ้าจำลอง  ศึกษาดาราศาสตร์ และระบบสุริยะจักรวาล

การบูรณาการ

     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับดวงอาทิตย์
     กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  คำนวณพื้นที่ของดวงอาทิตย์                                     
     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาพื้นผิวของโลกเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์
     กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนประดิษฐ์ดวงอาทิตย์จำลอง
     กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  นักเรียนเล่นกีฬาเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
     กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพดวงอาทิตย์และระบบสุริยะ
     กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของดวงอาทิตย์

ขอขอบคุณ                              
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
      1. https://www.thairath.co.th/content/edu/151411
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/ดวงอาทิตย์
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/sun
      4. https://muangcom.blogspot.com/2010/09/sun-15-150-99.html
      5. https://dandelionmama.wordpress.com/2008/10/24/ten-things-that-drive-me-batty/
      6. https://radar.oreilly.com/2008/10/incredible-images-of-the-sun.html
      7. https://www.homesolarinfo.com/how-does-solar-energy-work.html
      8. https://blogs.agu.org/geospace/2010/08/13/prototype-instrument-predicts-solar-flares/
      9. https://www.cydeweys.com/blog/category/science/
   10.https://www.sciforums.com/showthread.php?t=76018
   11.https://www.solarviews.com/cap/sun/trace10.htm
   12.https://en.wikipedia.org/wiki/File:The_sun_and_the_icebergs.JPG

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3522

อัพเดทล่าสุด