"ซุปเปอร์มูน"ไขปริศนาแผ่นดินไหว


936 ผู้ชม


ชมปรากฏการณ์ ซุปเปอร์มูน (super moon )พระจันทร์เต็มดวง ใกล้โลก Mthai news: คืนวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” (Supermoon)ดวงจันทร์ใกล้โลก ที่มีระยะใกล้มากที่สุดในรอบ 18 ปี รวมทั้งประเทศไทยที่จะเห็นดวงจันทร์มีขนาดใหญ่และให้แสงสว่างมากที่สุด ในวันนี้ ดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกในระยะ 356,577 กิโลเมตร อีกทั้งยังตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวงพอดี ซึ่งมนุษย์จะเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ สว่างขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าคุ้มค่าที่จะได้เห็นขนาดของดวงจันทร์เต็มดวง ในรอบ18ปี หากสังเกต จะเห็น สีเทาเข้มปรากฎบนดวงจันทร์เป็นรูป คล้ายกระต่าย บริเวณนี้เป็นจุดที่ยานอพอลโล 11 ลงเหยียบดวงจันทร์ ส่วนสีขาวสว่างไสวของดวงจันทร์ เป็นพื้นที่ราบสูง สะท้อนแสงจากพระอาทิตย์กลับมายังโลกได้มากกว่า รายงานระบุว่า วงโคจรที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า “เปริจี” (the perigee) ซึ่งการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกและโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ในวันที่ 19 มีนาคม น้ำทะเลจะขึ้นสูงมากกว่าปกติ แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างยืนยันแล้วว่าไม่ส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่อย่างใด ไม่ควรวิตกกังวล ศาสตราจารย์ดอกเตอร์เจมส์ การ์วิน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของนาซ่า ที่ศึกษาในเรื่องนี้ กล่าวว่า โลกของเราจัดเก็บพลังงานจำนวนมหาศาลไว้ใต้เปลือกโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของการโคจรของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ ยังไม่มีมากพอที่จะทำให้เกิดภัยพิบัติได้ จะมีก็เพียงแค่ระดับน้ำขึ้นสูง ดังนั่นขอให้เพลิดเพลินกับการดูพระจันทร์เต็มดวง อย่าตื่นตระหนกในเรื่องดังกล่าว โดย Mthai news 

นักวิชาการรุ่นใหม่จำนวน หนึ่งไม่ยอมจำนนต่อปัญหาดังกล่าว ด้วยเชื่อว่าระบบสุริยะ สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวได้ โดยมีเครือข่ายเป็นนักฟิสิกส์จากทั่วโลก เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โดยเฉพาะนักวิจัยจากองค์การนาซา (NASA) หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ผลงานของคนกลุ่มนี้ สามารถค้นคว้าเชื่อมโยงให้เห็นว่าปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนอกโลกหรือในระบบ สุริยะช่วยคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหววันใด

 ยกตัวอย่าง เหตุแผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน เมื่อปี 2551 มีผู้เสียชีวิตเกือบ 7 หมื่นคน ตอนนั้นมีรายงานกลุ่มเมฆสะท้อนแสงผิดปกติ หลังจากนั้นไม่ถึง 30 นาที ก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ริกเตอร์ สั่นสะเทือนไปทั่วเอเชีย ไทย อินเดีย ปากีสถาน ต่างรับรู้ถึงแรงสั่นที่เกิดขึ้น

 นอกจากนี้นักฟิสิกส์นำโดย ศาสตราจารย์ ฟราน เดอ อาควิโน (Fran De Aquino) จากมหาวิทยาลัยมารานฮาว ประเทศบราซิล เชื่อว่า ความแปรปรวนของพลาสมาบนชั้นบรรยากาศ และการแปรปรวนในอวกาศ เป็นลางบอกเหตุแผ่นดินไหว !!

 เนื่องเพราะนักวิจัยค้นพบการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ "ไอโอโนสเฟียร์" (Ionosphere) ที่อยู่สูงจากโลกไป 50-500 กิโลเมตร ก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาดเกิน 6 ริกเตอร์ประมาณ 1-2 วัน ชั้นบรรยากาศ "ไอโอโนสเฟียร์" มักเปลี่ยนแปลงฉับพลัน อธิบายตามหลักฟิสิกส์ได้ว่า พลังงานในชั้นนี้มีความสัมพันธ์ระหว่างการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็ก

 แต่ที่ฮือฮาที่สุดเห็นจะเป็น "ดร.ก้องภพ อยู่เย็น" วิศวกรไทยที่อายุน้อยที่สุดในองค์การนาซา ขณะนี้ทำงานในศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการสำรวจโลกและจักรวาล (Goddard Space Flight Center) สหรัฐอเมริกา

 ดร.ก้องภพ ได้ส่งข้อมูลเตือนภัยให้ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวในไทย เขาพยากรณ์แผ่นดินไหวจากการใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เกี่ยวข้องกับ "ระบบสุริยจักรวาล" ...เมื่อดาวเรียงตัวกันอย่างน้อย 2 ชุดจะเกิดแผ่นดินไหวในโลกมนุษย์ หลายครั้งที่คำพยากรณ์ของเขาแม่นยำ โดยเฉพาะแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อกลางปีที่แล้ว

 หากย้อนไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 "ดร.สมิทธ ธรรมสโรช" ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ล่วงหน้าว่า อีก 1เดือนหรือประมาณวันที่ 12 มิถุนายน จะเกิดปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวกัน 2 ชุด หมายความว่า ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียงตัวในแนวเดียวกัน พร้อมๆ กับ โลก ดาวพฤหัส ดาวยูเรนัส ก็อยู่ในตำแหน่งเรียงตัวด้วย ทำให้เกิดพลังมหาศาลส่งมายังโลกและอาจเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7-8.5 ริกเตอร์

 คำเตือนนี้สร้างความกังวลใจให้แก่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลภาค ใต้พอสมควร เพราะมีการอ้างอิงข้อมูลจากองค์การนาซา (NASA) อีกด้วย

 แต่ ดร.สมิทธ ก็ถูกต่อต้านจากนักวิชาการหลายกลุ่ม ที่ออกมายืนยันว่าการเรียงตัวของดาว ไม่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว และสนามแม่เหล็กโลกก็ไม่ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายฉับพลันจนท่วมโลกด้วย สอดคล้องกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติที่ระบุว่า การเรียงตัวของดาวเคราะห์ไม่มีอิทธิพลต่อแรงดึงดูดของโลก จะมีก็เพียงปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเท่านั้น

 จนกระทั่งตีสี่ของวันที่ 13 มิถุนายน 2553 ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ แจ้งเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ในมหาสมุทรอินเดีย จุดศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองมิชาบนหมู่เกาะนิโคบาร์ไปทางตะวันตก 155 กิโลเมตร มีรายงานแผ่นดินไหวขนาด 6.0 ริกเตอร์ในทะเลอันดามัน ศูนย์กลางห่างภูเก็ต 817 กม.

 แรงสั่นสะเทือนไปไกลกว่า 1,000 กม. ชาวบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เกือบ 2,000 คน อพยพออกมาจากหมู่บ้านเพราะกลัวคลื่นยักษ์สึนามิ ห่างกันไม่กี่ชั่วโมงสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุฯ แจ้งว่าเกิดแผ่นดินไหววัดได้ 3.7 ริกเตอร์ ที่ ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

 การทำนายแผ่นดินไหวข้างต้น สร้างความสงสัยให้ประชาชนว่า เป็นความแม่นยำหรือความบังเอิญ !?!

 "อารี สวัสดี" กรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า การเรียงตัวของดาวเคราะห์ระยะทางยิ่งไกลเท่าไรก็ส่งผลถึงโลกน้อยลง ส่วนปรากฏการณ์ดาว 3 ดวงที่เรียงตัวจะสัมพันธ์กับแผ่นดินไหวหรือไม่ คงต้องมีสถิติรองรับ ไม่เช่นนั้นจะไม่ใช่งานวิจัย ที่น่าสนใจเพราะโลกเกิดมาได้ 4,500 ล้านปี มนุษย์เพิ่งเกิดมาได้เพียง 1 ล้านปี ถือเป็นความรู้ใหม่ในการนำตำแหน่งดวงดาวมาอ่านความหมายด้านภูมิศาสตร์

 ล่าสุดกลุ่มที่เชื่อว่าระบบสุริยะทำนายแผ่นดินไหวได้กำลังลุ้น ปรากฏการณ์ "ซูเปอร์มูน" (super moon) คือ ระยะที่ดวงจันทร์โคจรมาใกล้โลกที่สุดในรอบ 18 ปี มีระยะห่างเพียง 3.6 จากปกติที่อยู่ห่าง 3.8 แสนกิโลเมตร จะเกิดในวันที่ 19 มีนาคมนี้ เขาเชื่อว่า เมื่อดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกจะเกิดความโกลาหล ทั้งพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดและภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นๆ รวมถึงคลื่นยักษ์สึนามิด้วย ซูเปอร์มูนเคยเกิดขึ้น 2 สัปดาห์ก่อนคลื่นสึนามิถล่มฝั่งอันดามันของไทยเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 
 ดร.สมิ ทธ ธรรมสโรช ยืนยันกับ "คม ชัด ลึก" ว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 6-9 ริกเตอร์ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ตั้งแต่ต้นปี 2554 นั้นที่จริงแล้วมีนักฟิสิกส์กลุ่มหนึ่งสามารถพยากรณ์ได้ล่วงหน้า และส่งข้อมูลมาทางอีเมล เมื่อตรวจพิสูจน์ก็พบว่าเกิดใกล้เคียงกับคำพยากรณ์จริง โดยเชื่อมโยงกับระบบสุริยะ เช่น ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ก็มีอีเมลมาเตือนล่วงหน้าในเวลาใกล้เคียงมาก และในวันที่ 18-19 มีนาคมนี้ จะมีแผ่นดินไหวรุนแรงอีกครั้ง แต่ไม่รู้ว่าส่วนไหนของโลก ?!!

อ่านต่อที่ https://www.komchadluek.net/detail/20110319/92044/%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7.html
สาระความรู้ น้ำขึ้น น้ำลง
น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าดาวอาทิตย์จะมีมวล 
27 ล้านเท่าของดวงจันทร์ แต่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 93 ล้านไมล์ ส่วนดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของโลกนั้น อยู่ห่างจากโลกเพียง 240,000 ไมล์ ดังนั้นดวงจันทร์ จึงส่งแรงดึงดูดมายังโลกมากกว่าดวงอาทิตย์ และน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์จะสูงเพียง ร้อยละ 46 ของระดับน้ำที่สูงจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์น้ำซึ่งเป็นของเหลว เมื่อถูกแรงดึงดูดจากดวงจันทร์ ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านบริเวณนั้น น้ำก็จะสูงขึ้น ไปในทิศทางเดียวกับที่ดวงจันทร์ปรากฏ และบนผิวโลกในด้านตรงข้ามกับดวงจันทร์ น้ำจะสูงขึ้นด้วย เพราะอำนาจดึงดูดของดวงจันทร์ กับของโลกไปรวมกันในทิศทางนั้น และในตำแหน่งที่คนเห็นดวงจันทร์ อยู่สุดลับขอบฟ้า ตรงนั้นน้ำจะลดลงมากที่สุด จึงเท่ากับว่ามีน้ำขึ้น น้ำลง สองแห่งบนโลกในเวลาเดียวกันน้ำจะขึ้นสูง เต็มที่ทุกๆ 12 ชั่วโมง โดยประมาณ และหลังจากน้ำขึ้นเต็มที่แล้ว ระดับน้ำจะเริ่มลดลง ใช้เวลาประมาณ ชั่วโมง แต่เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก หนึ่งรอบกินเวลาประมาณ 29 วัน น้ำขึ้นและน้ำลงจึงช้ากว่าวันก่อน ไปประมาณ 50 นาที หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ในหนึ่งวัน หรือ 24 ชั่วโมง 50 นาที น้ำจะสูงขึ้น และลดลง ครั้งความแตกต่างระหว่างระดับน้ำสูงสุดกับระดับน้ำต่ำสุด แต่ละแห่งบนโลกจะไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยจะขึ้นหรือลงประมาณ 3-10 ฟุต ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งเกิดจากตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์เมื่อโลก และดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ มาอยู่ในแนวเดียวกัน ไม่ว่าดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์จะอยู่ข้างเดียว หรือคนละข้างกับโลก น้ำจะสูงขึ้นกว่าปกติ เรียกว่า น้ำเกิด (spring tide) ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละ ครั้ง คือใกล้วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำและเมื่อใดที่ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อยู่ในแนวตั้งฉาก ซึ่งกันและกัน ระดับน้ำจะไม่สูงขึ้น แต่จะอยู่ในระดับเดิม ไม่ขึ้นไม่ลง เรียกว่า น้ำตาย จะเกิดขึ้นเดือนละ ครั้ง เช่นเดียวกับน้ำเกิด คือใกล้วันขึ้น ค่ำ และวันแรม ค่ำส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่น้ำขึ้นมากขึ้นน้อย ลงมากลงน้อย เกี่ยวกับขนาดรูปร่างและความลึกของท้องมหาสมุทรด้วย อย่างเช่นเกาะแก่งต่างๆ จะต้านการขึ้นลงของกระแสน้ำได้มาก ในหมู่เกาะตาฮิติ ระดับน้ำจะขึ้นสูงเพียง 1ฟุตเท่านั้น แต่บริเวณแผ่นดินที่เป็นรูปกรวย หันปากออกไปสู่ทะเล จะรับปริมาณของน้ำได้มาก เช่นปากอ่าวของแคว้น โนวาสโคเตียน แห่งแคนดีทางตะวันออกของอเมริกาเหนือ น้ำจะขึ้นสูงถึง 40 ฟุต
ที่มา  https://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-2656.html
คำถาม
- ปรากฏการณ์ธรรมชาติในทุกวันนี้บางปรากฏการณ์ส่งผลรุนแรงมากขึ้น เป็นเพราะเหตุใด และเราจะมีวิธีป้องกันหรือลดความรุนแรงได้อย่างไรบ้าง ?

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3571

อัพเดทล่าสุด