แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใน ประเทศญี่ปุ่นนั้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แรงเคลื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อแกนโลกเคลื่อนไปประมาณ 25 เซนติเมตร
อย่างไรก็ตาม แอนดริว ไมออล นักธรณีวิทยาชาวแคนาดากล่าวว่า การเคลื่อนของแกนโลก 25 เซนติเมตรนั้น เมื่อนำเรื่องนี้ไปพูดกับคนอื่นๆก็ดูเหมือนส่งผลกระทบมาก แต่ว่าเมื่อพิจารณากับโลกที่กว้างใหญ่ไพศาล เรียกได้ว่า การเคลื่อนของแกนโลกถือเป็นเรื่องเล็กน้อยและมีผลกระทบต่อโลกน้อยมาก
แต่ ศาสตราจารย์แดเนียล แมคนามารา ผู้เชียวชาญเรื่องแผ่นดินไหวระบุ ภัยพิบัติครั้งนี้ ทำให้พื้นที่ของประเทศญี่ปุ่นบางส่วนเคลื่อนและแยกออกมาจากส่วนของชายฝั่ง ทะเล จะเห็นได้ว่าพื้นที่พักอาศัยบางส่วนยังคงจมอยู่ใต้น้ำ หากเกิดสึนามิขึ้นอีกครั้ง แน่นอนว่าพื้นที่นั้นก็จะยังคงจมอยู่ใต้น้ำต่อไปอีก
แผ่นดิน ไหวครั้งนี้ ได้ชื่อว่ามีความรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เทียบได้กับแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย เมื่อปี 2547 ที่เกิดสึนามิคร่าชีวิตประชาชนกว่า 2 แสนคน ในหลายสิบประเทศบริเวณมหาสมุทรอินเดีย
ที่มา : https://news.mthai.com/world-news/106422.html
แผ่นดินไหวคือ
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ได้เป็นบริเวณกว้าง เชื่อกันว่าทุกประเทศได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ปัจจุบันพบว่ามีความพยายามอย่างมากในหลายประเทศ ซึ่งได้รับอันตรายจากแผ่นดินไหว ศึกษา และทำความเข้าใจถึงกลไกของการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหว และทำนายเหตุการณ์ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด? ที่ไหน? ขนาดเท่าใด? แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ขณะนี้จึงยังไม่มีผู้ใดสามารถ พยากรณ์แผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเผชิญภัยแผ่นดินไหว คือการเตรียมพร้อมที่ดี แต่ละประเทศควรมีมาตรการในการป้องกัน และบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อนต่าง ๆ ให้ความรู้ และข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อประชาชน ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของความเสี่ยงภัย ออกกฎหมายให้อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สามารถรับแรงแผ่นดินไหวตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่เสี่ยงภัย มีการวางแผนการจัดการที่ดี หากเกิดความเสียหายร้ายแรงหลังการเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ในกรณีของประเทศไทย แม้ว่าตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิประเทศ จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวต่ำ แต่เพื่อความไม่ประมาท กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมมาตรการข้างต้นโดยมีภารกิจในการตรวจวัดแผ่นดินไหวตลอด 24 ชั่วโมง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นประจำ ตลอดจนวางแผนจัดตั้งโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสาธารณชนได้ | |
แผ่นดินไหว เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่ แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ กันพร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" เมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำ ให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน |
ที่มา : https://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/4/earthquake/index1.htm