ม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก


990 ผู้ชม


เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกเกือบ 100 ครั้ง หลังเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริคเตอร์ในพม่า   

ม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก

         เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกเกือบ 100 ครั้ง หลังเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริคเตอร์ในพม่า ซึ่งส่งผลกระทบ
ต่อไทยรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมาทำให้มีคนตาย  1  คน ระบุเกิดจาก “รอยเลื่อนน้ำมา” ไม่เกี่ยวธรณีพิโรธที่ญี่ปุ่น 
ความแรงเท่าปรมาณู 6 ลูก ส่งผลกระทบ 4 จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงรายหนักสุด โบราณสถานหลายแห่ง
เสียหาย   กฟผ.ยันทุกเขื่อนในไทยไม่กระทบ-มั่นคงแข็งแรงดี ด้านนายกฯสั่งตรวจสอบ 13 รอยเลื่อนที่มีพลัง
ในไทย มีสิทธิ์ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริคเตอร์  กฟผ.ยันทุกเขื่อนในไทยยังมั่นคงแข็งแรงดี ขณะที่ชาวพม่าเปิดใจแผ่นดินไหวรุนแรงสุดในรอบ 40 ปี บ้านเมืองพังราบเป็นหน้ากลอง เดชะบุญคนไทยปลอดภัย 
ส่วนกรุงเทพฯก็สั่น โชคดีไม่มีอาคารเสียหาย แต่น่าห่วง 12 ตึกเสี่ยง เหตุอยู่ใกล้ชุมชน-ที่สาธารณะ

         ที่มา  : เดลินิวส์  วันเสาร์ ที่ 26 มีนาคม 2554 เวลา 0:01 น
     สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นการเกิดแผ่นดินไหวบนบกจึงไม่เกิดสึนามิ ถ้าสึนามิจะเกิดขึ้นต้องมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นในทะเล โดยเฉพาะทางด้านอันดามันซึ่งอยู่ทางตะวันตก ถ้าเกิดสินามิขึ้นในฝั่งสุมาตราก็จะใช้เวลาการเตือนภัยประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาเตือนภัยนานกว่าประเทศญี่ปุ่น การเกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ แต่หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเราก็ควรมีการรับมือและหนีภัยที่ดีโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคารสูงไม่ควรใช่ลิฟท์ และควรจะรีบออกจากอาคาร แต่ส่วนที่อยู่บนอาคารที่หนีไม่ทันควรหาที่ปลอดภัยกำบังตนเองจากสิ่งที่จะตกลงมาใส่ เช่นหลบใต้โต๊ะที่มีความแข็งแรง ทั้งนี้ หากเกิดแผ่นดินไหวขอให้ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินไป 
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
           แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่ 
แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบ ของแผ่นเปลือกโลกเป็นแนวแผ่นดินไหวของโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าว 
เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลาย ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก  ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัว
ผลักดันให้เปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละชิ้นมีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่าง ๆ  กัน
พร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกัน หรือแยกจากกัน หากบริเวณขอบของชิ้นเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศนั้น ก็จะมีความเสี่ยงต่อ
ภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นพลังที่สะสมในเปลือกโลก ถูกส่งผ่านไปยังเปลือกโลกพื้นของทวีป ตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกหรือ
ที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" เมื่อระนาบ รอยร้าวที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก ๆ ก็จะทำ ให้รอยเลื่อนมีการเคลื่อนตัว
อย่างฉับพลันเกิดเป็น แผ่นดินไหวเช่นเดียวกัน

อาฟเตอร์ช็อกอีก3สัปดาห์
    
     นายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว 
กรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์กับ “เดลินิวส์” ว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า มี อาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้ง ขนาดตั้งแต่ 3.0–6.2 ริกเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 3  ริกเตอร์ ซึ่งความรู้สึกของมนุษย์จะไม่รับรู้ โดยความรู้สึกของมนุษย์จะรับรู้ว่าเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 5 ริกเตอร์ ซึ่งขณะนี้เกิดขึ้นไปแล้วประมาณ 6 ครั้ง สำหรับอาฟเตอร์ช็อกคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยยกตัวอย่างกรณีแผ่นดินไหวปี 2547 ขนาด 9.3 ริกเตอร์ 
ส่งผลให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาต่อเนื่องถึง 2-3 ปี ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แต่แผ่นดินไหวขนาด 6.7 
ริกเตอร์ ถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลางอาจทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์

เหตุเกิดจากรอยเลื่อน“น้ำมา” 
      
      นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจาก
การเลื่อนตัวของแนวรอยเลื่อนน้ำมา วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ระนาบเหลื่อมซ้าย มี
ความยาว 150 กม.อยู่ในสหภาพพม่ายาวต่อเนื่องเข้าไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดย
วางตัวขนานกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่จันในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงรายของประเทศไทย การเกิดแผ่นดินไหวใน
ครั้งนี้เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนน้ำมา ซึ่งเป็นแนวรอยเลื่อนอีกแนวหนึ่งของกลุ่มรอยเลื่อนน้ำมาที่เกิด
แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ ใน สปป.ลาว เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2550 และสร้างความเสียหายใน จ.เชียงรายหลายแห่ง

ประเด็นความรู้ เรื่องแผ่นดินไหว

                         ม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก

            ที่มา :  https://www.google.co.th/imgres?imgurl
การเกิดแผ่นดินไหว
  
           แนวแผ่นดินไหวของโลก ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ในกรณีของประเทศไทย แนว แผ่นดินไหวโลกที่ใกล้ ๆ ได้แก่ แนวในมหาสมุทรอินเดีย สุมาตรา และ ประเทศพม่า
           แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ ในกรณีประเทศไทย ได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
           รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว ปริญญา นุตาลัย (2533) 
ระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9  รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง 
และคลองมะรุ่ย 

                                             ม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก

                          ที่มา :  https://www.google.co.th/images?hl=th&source

            แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะมีความหนาต่างกัน โดยบางแผ่นมีความหนาถึง 70 กิโลเมตร ในขณะที่บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร จะมีความหนาเพียง 6  กิโลเมตร นอกจากนี้แผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งยังมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันหรือชนกัน  จะทำให้เกิดการ
สั่นสะเทือน ที่มีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน  แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว 
จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดย 80  เปอร์เซ็นของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire)  ส่วนเขตเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ นอกจากแนววงแหวนแห่งไฟแล้ว มักจะเกิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านแถบประเทศแถบยุโรปตอนใต้ เช่น อิตาลี กรีซ จนถึงแถบอนาโตเลีย 
ซึ่งคือประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลาง จนถึงเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน จีน 
และพม่า แต่อย่างไรก็ตาม เคยเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่ แต่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น
สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว  
     
         แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการ
สั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่
ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหว
ที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake) 
        แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น  
       •  การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรง  ในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้
แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่าแผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ 
    •  การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้การสูบ
น้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไปรวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิด
การเคลื่อนตัวได้
      • การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้
    
     ขนาดของแผ่นดินไหว หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว
ในแต่ละครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ซึ่งคิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ และนิยมใช้หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหวคือ "ริกเตอร์" 
การวัดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว

มาตราริคเตอร์

ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง•  สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง รวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมาย
        กันไว้  
และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่ ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณ
        ที่ได้รับ   
ความเสียหาย และผู้ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ  หากไม่ได้รับการ
        อนุญาต  
ออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลง
        แล้วก็ตาม


ริกเตอร์     ความรุนแรง               ลักษณะที่ปรากฏ
1 - 2.9      เล็กน้อย     ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงการมาของคลื่น มีอาการวิงเวียนเพียงเล็กน้อยในบางคน
3 - 3.9      เล็กน้อย     ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเขย่าอาคารให้สั่นสะเทือน
4 - 4.9      ปานกลาง   ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคาร และนอกอาคาร รู้สึกถึงการ สั่นสะเทือน วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว
5 - 5.9      รุนแรง       เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
6 - 6.9      รุนแรงมาก  อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
7.0 ขึ้นไป  รุนแรงมากมาก เกิดการสั่นสะเทือนอย่างมากมาย ส่งผลทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เสียหาย
                                    อย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วัตถุบนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
การพยากรณ์แผ่นดินไหว
        แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำ ทั้งตำแหน่ง ขนาด และเวลาเกิด แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี เครื่องมือตรวจวัดที่ทันสมัย แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษา วิเคราะห์ถึงลักษณะต่าง ๆ ของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว โดยอาศัยจากการสังเกตสิ่งต่อไปนี้
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากสภาพปกติก่อนการเกิดแผ่นดินไหว เช่น
     1. แรงเครียดในเปลือกโลกเพิ่มขึ้น โดยใต้ผิวโลกจะมีความร้อนสูงกว่าบนผิวโลก จึงทำให้เปลือกโลกเกิดการ
         ขยายตัว   หดตัวไม่สม่ำเสมอ โดยที่เปลือกโลกส่วนล่างจะมีการขยายตัวมากกว่า
     2. การเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก และแรงโน้มถ่วงของโลก
     3. การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก
     4. น้ำใต้ดินมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวและการขยายตัวของเปลือกโลกใต้ชั้นหินรองรับน้ำ
     5. ปริมาณแก๊สเรดอนเพิ่มขึ้น
     การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ สัตว์หลายชนิดมีการรับรู้และมักแสดงท่าทางออกมาก่อนเกิดแผ่นดินไหว อาจจะรู้ล่วงหน้าเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ เช่น
     1. สัตว์เลี้ยง สัตว์บ้านทั่วไปตื่นตกใจ เช่น สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี
     2. แมลงสาบจำนวนมากวิ่งเพ่นพ่าน
     3. หนู งู วิ่งออกมาจากที่อาศัย ถึงแม้ในบางครั้งจะเป็นช่วงฤดูจำศีลของพวกมัน
     4. ปลากระโดดขึ้นมาจากผิวน้ำ
     • บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว ถ้าบริเวณใดเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง โอกาสเกิดแผ่นดินไหวก็มีตามมาอีก และถ้า
สถานที่นั้นเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรง ก็มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวซ้ำขึ้นอีกเช่นกัน นอกจากนี้บริเวณที่มีภูเขาไฟระเบิดมักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นก่อนหรือหลังภูเขาไฟระเบิดได้
ขณะเกิดแผ่นดินไหว
    • ตั้งสติ  ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป  ให้อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย  ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า  
    • เปิดรับฟังข่าวสาร  ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด 
    • ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก 
       ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
    • เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
    • ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดับอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์
    • มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
    • อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา
    • ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้
    • หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว
    • ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน 
      เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป
    • ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า   
       เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต
    • ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) 
       ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบ
    • ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น
    •  อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของ
       ท่อในส้วม  ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
   

คำถาม
     
1.  การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยอาศัยหลักการใด
      2.  ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหว
      3.  แผ่นดินไหวบนบกเกิดสึนามิหรือไม่
กิจกรรมบูรณาการ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  ศึกษาข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เ  แผนที่  กี่ยวกับ  

        แนวรอยเลื่อนภายในประเทศไทย

ที่มา   
https://th.wikipedia.org/wiki
        https://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/DMRActiveFault.htm

        https://www.google.co.th/imgres?imgurl

        https://www.google.co.th/images?hl=th&source

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3580

อัพเดทล่าสุด