กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi MUSLIMTHAIPOST

 

กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi


1,027 ผู้ชม


อันตรายกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " ปนเปื้อนถึงไทย   

              พบกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนใน ผักอูโด (Udo)  นำเข้าจากญี่ปุ่น  
 
    กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi
                                               ภาพผักจากประเทศญี่ปุ่น

     จากเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " ในจังหวัดฟูกูชิมะ ของญี่ปุ่น ระบบหล่อเย็น
ของเตาปฏิกรณ์ไม่ทำงาน และกัมมันตภาพรังสีจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์รั่วไหลสู่ภายนอก 
จากผลของแผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้น ทำให้พบกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
      เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2554  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจนักท่องเที่ยว
คนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นที่ได้ซื้อผักอูโด (Udo) กลับมารับประทาน จำนวน 1 กิโลกรัม 
ผลการตรวจพบสารไอโอดีน -131 ปริมาณ 12.92 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ซีเซียม -134 
ปริมาณ 3.50 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม และซีเซียม -137 ปริมาณ 5.12 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม 
แม้ว่าสารทั้ง 3 ชนิดจะไม่ได้เกินค่ามาตรฐาน แต่ได้อายัดทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 
จากนี้จะหารือกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ในการนำไปศึกษาหรือทำลายทิ้งต่อไป

(ที่มาไทยรัฐออนไลน์  https://www.thairath.co.th/content/edu/160423)

       ผักอูโด(Udo) เป็นผักพื้นเมืองตามฤดูกาล (Sansai) ของญี่ปุ่นที่มักจะเกิดตามบนภูเขา ในประเภท
เดียวกับผักอื่น ๆ  เช่น ทาระ(Tara) ,ฟุคิโนโท(Fukinotou),โคโกะมิ(Kogomi..คล้ายผักกูด) ฯลฯ 
ที่มีรสเผ็ด หรือ ขื่นเล็กน้อยก็นิยมนำมาชุบแป้งทอด เทมปุระเพื่อให้ทานง่ายขึ้นกลายเป็นของอร่อย 
     
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

สาระที่  3  สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1  เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว
                      ระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ 
                      นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2  เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย 
                      การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ 
                      และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

เรื่อง  กัมมันตภาพรังสี
         
         ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี 
แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้   
        กัมมันตภาพรังสี  คือ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง

        กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi ปฏิกิริยาธาตุกัมมันตภาพรังสี  
        
        รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

      1.รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (42He) มี p+ และ n อย่างละ
2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ
      2.รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก
      3.รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มี
ความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า 
เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เพื่อลดระดับพลังงาน    
          
         ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
         นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมายทั้งในด้านการแพทย์  การเกษตร  
อุตสาหกรรม  รวมจนถึงด้านธรณีวิทยาการหาอายุของวัตถุต่าง ๆ โดยธาตุกัมมันตรังสีที่มีการใช้ประโยชน์
กันอย่างกว้างขวาง  ได้แก่
          1. ยูเรเนียม-235 (U-235)  ใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์  ใช้ใน
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องบินและยานอวกาศ  และใช้ในการผลิตรังสีเอ็กซ์ (X-ray)  ซึ่งมีพลังงานสูง
          2. โคบอลต์-60 (Co-60)  เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สามารถแผ่กัมมันตรังสีชนิดแกมมา
ซึ่งมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้  จึงมีการนำมาใช้ในการยับยั้งการเจริญเติบโต
เชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร  ผักและผลไม้  และนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
          3. คาร์บอน-14 (C-14)  เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สามารถพบได้ในวัตถุต่าง ๆ เกือบทุกชนิด
บนโลก  จึงสามารถนำระยะเวลาครึ่งชีวิตของธาตุนี้มาใช้ในการคำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ  
อายุของหินและเปลือกโลกและอายุของซากฟอสซิลต่าง ๆ ได้  (C-14  มีครึ่งชีวิตประมาณ 5,730 ปี)
          4. ฟอสฟอรัส-32 (P-32)  เป็นสารประกอบกัมมันตรังสีที่สามารถละลายน้ำได้ 
 มีระยะเวลาครึ่งชีวิตประมาณ 14.3 วัน  ทางการแพทย์นำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งของเม็ดโลหิตขาว
 (ลิวคีเมีย)  โดยให้รับประทานหรือฉีดเข้าในกระแสโลหิต  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการตรวจหา
เซลล์มะเร็ง  และตรวจหาปริมาณโลหิตของผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัด

          อันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี
          อันตรายจากธาตุกัมมันตรังสีเกิดขึ้นได้  เนื่องจากหากร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้รับกัมมันตรังสีใน
ปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้โมเลกุลของน้ำ  สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่าง ๆ ในร่างกายเสียสมดุล  
ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ในร่างกาย  ซึ่งจะทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดความเจ็บป่วย หรือหากได้รับใน
ปริมาณมากก็อาจทำให้เสียชีวิตได้  ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีจึงจะต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกัน
อันตรายจากรังสี  และมีการกำหนดระยะเวลาในการทำงานเพื่อไม่ให้สัมผัสกับรังสีเป็นเวลานานเกินไป

        ปริมาณรังสีที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์
           2.2  มิลลิซีเวิร์ด    เป็นระดับรังสีปกติในธรรมชาติ  ที่มนุษย์แต่ละคนได้รับใน 1 ปี
           5     มิลลิซีเวิร์ด    เป็นเกณฑ์รังสีสูงสุดที่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปรับได้ใน 1 ปี
           50   มิลลิซีเวิร์ด    เป็นเกณฑ์สูงสุดที่อนุญาติให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีรับได้ใน 1 ปี
           250 มิลลิซีเวิร์ด    เป็นระดับที่ไม่ทำให้ร่างกายปรากฏอาการผิดปกติ ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว
           500 มิลลิซีเวิร์ด    ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลงเล็กน้อย
           1,000 มิลลิซีเวิร์ด ทำให้เกิดอาการคลื่นเหียน  อ่อนเพลีย  และมีปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลง
           3,000 มิลลิซีเวิร์ด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  อาเจียน  ท้องเสีย  เม็ดเลือดขาวลดลง  ผมร่วง 
                                   เบื่ออาหาร  ตัวซีด คอแห้ง  มีไข้  และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-6 สัปดาห์
           6,000 มิลลิซีเวิร์ด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  อาเจียน  ท้องเสีย  ท้องร่วงภายใน 1-2 ชั่วโมง  
                                   เม็ดเลือดลดลงอย่าง รวดเร็ว  ผมร่วง  มีไข้  อักเสบบริเวณปากและลำคออย่าง
                                   รุ่นแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 50%  ภายใน 2-6 สัปดาห์
          10,000 มิลลิซีเวิร์ด ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  อาเจียน  ท้องเสีย  ท้องร่วงภายใน 1-2 ชั่วโมง  
                                   เม็ดเลือดลดลงอย่าง รวดเร็ว  ผมร่วง  มีไข้  อักเสบบริเวณปากและลำคอ
                                   อย่างรุ่นแรง ผิวหนังพองบวม  ผมร่วง  และเสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์
  
          การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี 
          การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ 
          1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาค
นิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับ
ให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจ
เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่
ไม่ให้เกิดรุนแรงนักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
                           กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi  ปฏิกิริยาฟิชชัน
                                                               

          2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fusion reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้า
เป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลและมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันเสียอีก 
ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) 
  
                          กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichiปฏิกิริยาฟิวชัน
                                                                               

         หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี
         หน่วย คือ ชื่อเฉพาะที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้บอกขนาดและปริมาณของสิ่งต่างๆ
 หน่วยของรังสีและกัมมันตภาพรังสี มีดังต่อไปนี้

                        ปริมาณ                                      หน่วยเดิม                หน่วยใหม่ (SI unit)
 
          
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)         คูรี (Ci)                    เบคเคอเรล (Bq)
 
         รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)    แรด (Rad)                เกรย์ (Gy)
 
         รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure) เรินท์เกน (R)        คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg)
 
         รังสีสมมูล (Dose Equivalent)                เรม (Rem)              ซีเวิร์ต (Sv)

        ข้อมูลพิเศษ

       ปริมาณสารกัมมันตรังสีวัดด้วยหน่วย เบ็กเคอเรล (Becquerel ; Bq) โดยที่ 1 เบ็กเคอเรล 
คือสารกัมมันตรังสีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสและให้รังสีออกมา 1 ครั้งต่อวินาที

       ซีเวิร์ต (Sv) เป็นหน่วยสำหรับวัดปริมาณรังสีสมมูลที่บุคคลได้รับ (dose equivalent) มีความ
ซับซ้อนกว่าที่วัตถุได้รับโดยปกติการได้รับรังสีของบุคคลในชีวิตประจำวัน น้อยกว่า 1 เรมมาก 
หน่วยซีเวิร์ตจึงกลายเป็นหน่วยใหญ่ โดยทั่วไปจึงใช้เป็นมิลลิซีเวิร์ต 
         1 ซีเวิร์ต เท่ากับ 100 เรม 

               กัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichiกัมมันภาพรังสีจากวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " (Fukushima Daiichi
                                 ภาพ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ " ในจังหวัดฟูกูชิมะ ของญี่ปุ่น 
              
               
         
 

                    การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ " ฟูกูชิมะ ไดอิจิ "  ที่มา youtube.com

                   ***  กัมมันตรังสีถึงจะมีประโยชน์มหาศาลก็มีโทษมหันต์ได้เหมือนกันนะคะ  *** 

คำถาม VIP ชวนคิด  
        1.  กัมมันตภาพรังสี คืออะไร 
        2.  กัมมันตภาพรังสี และธาตุกัมมันตรังสีต่างกันอย่างไร
        3.  ปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี มีกี่ชนิด
        4.  หน่วย 1 ซีเวิร์ตมีค่าเท่ากับกี่เรม
        5.  ยูเรเนียม-235 (U-235) ใช้ประโยชน์ในด้านใด
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องกัมมันตภาพรังสี เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด 
           อินเตอร์เน็ต 
       2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในป้องกันอันตรายจากการกัมมันตภาพรังสี

การบูรณาการ

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย       
    กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                   
    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
    กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ                         
    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 

ขอขอบคุณ  สำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  กระทรวงพลังงาน                      
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ  ดังนี้
     
      1.  https://www.thairath.co.th/content/edu/160423
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/ธาตุกัมมันตรังสี
      3. https://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3029
      4. https://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=164&Itemid=172
      5. https://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_10.html
      6. https://www.nppdo.go.th/about_us
      7. https://nukenames.com/index.asp
      8.https://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=37694
      9.https://www.cbsnews.com/8301-503543_162-20042753-503543.html

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3589

อัพเดทล่าสุด