ดาวเทียมใหม่รับภัยพิบัติจัดระเบียบทรัพยากร


763 ผู้ชม


ประเทศไทยมีดาวเทียมใหม่เพิ่มอีก 1 ดวง เพื่อสำรวจทรัพยากร การเกษตร และเตือนภัยพิบัติ   

ดาวเทียมใหม่รับภัยพิบัติจัดระเบียบทรัพยากร 

         ประเทศไทยมีดาวเทียมใหม่เพิ่มอีก 1 ดวง เพื่อสำรวจทรัพยากร การเกษตร และเตือนภัยพิบัติ ซึ่งแม้
จะเป็นน้องเล็กในวงการ แต่ประสิทธิภาพ ความคล่องตัว กลับเป็นความหวังในการแก้ไขสถานการณ์บ้านเมือง
ได้อย่างฉับพลันทันใดทีเดียว
         เอสเอ็มเอ็มเอส (SMMS) เป็นชื่อทางการของดาวเทียมดวงนี้ มาจากชื่อเต็ม “สมอล มัลติ มิสชั่น แซตเทิลไลต์” 
(Small Multi Mission Satellite) หรือดาวเทียมเล็กที่มีขีดความสามารถหลากหลาย ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่า
งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 
         รศ.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่าจะเป็นสถานีแห่งแรกของประเทศไทยที่รับสัญญาณและประมวลผลโดยตรงจากดาวเทียมเอสเอ็มเอ็มเอส สามารถรับสัญญาณภาพแบบเรียลไทม์ หรือชั่วขณะเวลาเดียวกัน  เป็นดาวเทียมที่มีแตกต่างจากดวงอื่น เพราะมีวิถีโคจรใกล้ผิวโลก อยู่สูง
เหนือพื้นดิน 650 กิโลเมตร จึงได้ภาพชัดเจน วนผ่านมาประเทศไทยวันละ 2 รอบ รอบละ 15 นาที จึงได้ข้อมูล
ภาคการเปลี่ยนแปลงพื้นดินครบถ้วน
         ข้อมูลจากดาวเทียม นำมาบันทึกและแปรผลใช้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ด้านการเกษตร ก็ดูสีของพืชผลที่แตกต่าง จะเห็นสีของนาข้าว หรือข้าวโพดเพื่อวิเคราะห์ว่าแปลงข้าวหรือข้าวโพดนั้นมีจุดด่างหรือการเกิดโรคหรือไม่
เป็นพื้นที่กว้างเท่าใด จึงสั่งแก้ไขได้ทันเวลา ข้าวเริ่มสุก เริ่มเก็บเกี่ยวก็สามารถเก็งตลาด คาดการณ์อนาคตของ
ผลผลิตได้
          
คุณสมบัติพิเศษอีกด้านของดาวเทียม คือเอียงถ่ายภาพ 3 มิติได้ จึงเหมาะกับงานด้านการชลประทาน 
แทนที่จะเห็นภาพลำน้ำจากมุมสูงอย่างเดียว  ก็มองมุมอื่นเห็นความสูงของระดับน้ำ ทั้งใต้เขื่อนเหนือเขื่อน เห็น
การเคลื่อนตัวของก้อนน้ำได้จึงประมวลผลได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมที่ไหน เมื่อไร ถ้าจะมีการบุกรุกทำลายป่า
ก็ตรวจสอบแก้ไขได้ทัน  แผ่นดินไหวตอนเช้า ช่วงบ่ายก็ได้ภาพความเสียหาย
         ผู้เชี่ยวชาญบอกความแตกต่างของดาวเทียมเอสเอ็มเอ็มเอสกับดวงอื่นที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของว่า เป็นดาวเทียมที่มีวงโคจรวิถีต่ำ  จึงได้ความคมชัดของภาพมากกว่า ใช้ช่องรับสัญญาณเคเอแบนด์(Ka-Band) สื่อสารด้วย
ย่านความถี่ไมโครเวฟ ซึ่งสูงกว่าย่านเคยูแบนด์ (Ku-Band)  และเอ็กซ์-แบนด์(X-Band) ที่ไม่มีใช้ในเชิงพาณิชย์
มากนัก การส่งสัญญาณจึงทำได้ในพื้นที่กว้างและไม่โดนแทรก ทั้งยังเป็นดาวเทียมอเนกประสงค์ที่ประเทศจีน
เป็นเจ้าของ ทางมหาวิทยาลัยร่วมลงทุนแบบจ่ายครั้งเดียวจบ มูลค่า 60 ล้านบาท

ที่มา :  เดลินิวส์ออนไลน์ วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2554 เวลา 0:00 น

ประเด็นความรู้  เรื่อง ดาวเทียม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
   
       ดาวเทียม (: Satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก 
ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 
 ดาวเทียม   มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันแล้วแต่ความมุ่งหมายของแต่ละโครงการ ดาวเทียมอาจมีรูปร่างเป็นทรงกลม
 รูปกลองหรือหีบก็ได้ และไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างเพรียวลมเหมือนยวดยานต่างๆที่เราใช้อยู่บนโลก เพราะในอวกาศไม่มีอากาศที่จะมาปะทะเป็นแรงต้านทาน  

                                                          ดาวเทียมใหม่รับภัยพิบัติจัดระเบียบทรัพยากร

                                                     ที่มา :   https://www.google.co.th/imglanding

            ขนาดของดาวเทียมบางดวงมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 2-3 นิ้ว หรือ  2-3  ฟุต  แต่บางดวงอาจใหญ่โตจนมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นร้อยๆฟุต  เช่น ดาวเทียมเอกโก (Echo) เป็นต้น ดาวเทียมที่ถูกส่งออกไปสู่อวกาศ อาจมีระยะเวลาในการโคจรรอบโลกเป็นเวลานานมากน้อยต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กีบขนาดและระยะห่างของวงทางโคจร ถ้าเข้ามาใกล้โลกมากๆจะเกิดแรงต้านทานทำให้ความเร็วของดาวเทียมลดลง  เมื่อมีความเร็วน้อยกว่าที่กำหนด 
ดาวเทียมก็จะตกลงสู่โลกและถูกเผาไหม้ในบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่และมีวงโคจรต่ำ
จะสลายตัวไปเร็วกว่าดาวเทียมที่มีขนาดเล็กแต่มีวงโคจรสูง เช่น ดาวเทียมแวนการ์ด หมายเลข 1 (Vanguard 1)
ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 6 นิ้ว โคจรห่างจากโลก 400 ไมล์ ส่งไปเมื่อ พ.ศ. 2501 ซึ่งคาดว่าจะมีอายุได้เป็น
ร้อยๆปี
ประเภทของดาวเทียม
      1.  ดาวเทียมสื่อสาร  
      2.  ดาวเทียมสำรวจ 
      3.  ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ
      4.  ดาวเทียมทางการทหาร
      5.  ดาวเทียมด้านวิทยาศาสตร์

 หลักการส่งดาวเทียม
         การส่งดาวเทียมออกนอกโลก อาศัยกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มนุษย์ได้ศึกษาจนพบความจริง เช่น กฎเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ (Law of motion) และกฎแห่งความโน้มถ่วง (Low of gravitational)
         การที่จะส่งดาวเทียมขึ้นไปได้จะต้องมีความเร็วที่พอเหมาะ คือ ความเร็ว5 ไมล์ต่อวินาที หรือ 18,000 ไมล์
ต่อชั่วโมง   วัตถุก็จะเคลื่อนที่เป็นวงกลม และวัตถุจะไม่มีโอกาสตกถึงพื้นดินอีกเลย และจะเคลื่อนที่อยู่ในความสูงประมาณ 200-300 กิโลเมตร หรือ 124-186 ไมล์ จากพื้นผิวโลก
         ถ้าวัตถุเริ่มเคลื่อนที่มีความเร็วมากกว่า 5 ไมล์ต่อวินาที จะได้วงโคจรแบบวงรีซึ่งใช้สำหรับส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงจันทร์ ถ้าหากมีความเร็วต้นเพิ่มขึ้นถึง 7  ไมล์ต่อวินาที  จะได้วงโคจรที่เรียกว่า พาราโบลา ถ้ามีความเร็วมากกว่า 7 ไมล์ต่อวินาที วงโคจรจะเป็นแบบ ไฮเพอร์โบลา ความเร็ว 7 ไมล์ต่อวินาทีที่ทำให้วัตถุหลุดออกไปจาก
โลก เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape velocity)
         ดาวเทียมโคจรรอบโลกได้เพราะมีแรง 2 แรงที่สมดุลกันพอดี คือ ในขณะที่ดาวเทียมเคลื่อนที่เป็นทางโค้ง 
จะมีแรงสู่ศูนย์กลาง (Centripetal force)  และ แรงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal force) เกิดขึ้น
        1. แรงสู่ศูนย์กลาง เป็นแรงดึงดูดที่เกิดขึ้นระหว่างโลกกับดาวเทียมตามกฎแห่งความโน้มถ่วงของกฎนิวตัน ที่กล่าวไว้ว่า
       “แรงดึงดูดระหว่างวัตถุที่มีมวลสาร 2 ชิ้นจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับผลคูณของมวลทั้งสอง และเป็นปฏิภาคกลับกับกำลังสองของระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง”
       2. แรงหนีศูนย์กลาง เกิดจากวัตถุเคลื่อนที่เป็นทางโค้งหรือเป็นวงกลม ถ้าหากดาวเทียมโคจรอยู่ห่างจากโลกมากๆความเร็วของดาวเทียมก็จะลดลงด้วย
       ความเร็วที่ต้องการเพื่อให้ดาวเทียมขึ้นไปโคจรตามระยะห่างที่ต้องการนั้นเรียกว่าความเร็วตามวงทางโคจร (Orbital velocity)  ดาวเทียมที่โคจรอยู่ห่างจากโลกมากเท่าไรก็จะเสียเวลาในการโคจรรอบโลกมากขึ้น เพราะความเร็วของดาวเทียมลดลง และระยะทางในการโคจรเพิ่มมากขึ้น

การดูดาวเทียม
 ดาวเทียมอาจปรากฏให้เห็นได้ในเวลากลางคืน โดยเราไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการดูแต่อย่างใด
 อย่างไรก็ตามกล้องสองตาอาจช่วยให้เห็นดาวเทียมได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จะใช้ตำแหน่งและความเร็วของดาวเทียมที่มองเห็นนี้ ในการศึกษาแรงดึงดูดของโลก ทั้งนี้เพราะว่าทางเดินของดาวเทียมจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดึงดูดของโลก

วิธีมองหาดาวเทียม
 ให้มองหาดาวเทียมในเวลากลางคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส โดยยืนในบริเวณที่มืดปราศจากแสงรบกวน และปิดแสงไฟฟ้า
ในบริเวณใกล้เคียงด้วย เวลาที่เหมาะคือเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกแล้ว 1 ถึง 2 ชั่วโมง เพราะขณะนั้นเงาของโลกยังไม่ขึ้นสูงพอที่จะบดบังดาวเทียม
ในวงโคจรระดับต่ำได้ คำแนะนำสุดท้ายคือ ให้มองไปในแนวของเส้นศูนย์สูตร ซึ่งจะมีโอกาสเห็นดาวเทียมได้มาก

ประโยชน์ของดาวเทียม

         1. ดาวเทียมสื่อสาร มีประโยชน์ในการส่งข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และยังสามารถกระจายสัญญาณวิทยุโทรทัศน์อีกด้วย

         2. ดาวเทียมสำรวจ มีประโยชน์ในการสำรวจหาทรัพยากรต่างๆ และยังสามารถนำผลที่ได้มาบันทึกเป็นแผนที่
ได้อีกด้วย

        3. ดาวเทียมพยากรณ์อากาศ เป็นดาวเทียมทางอุตุนิยมวิทยา สามารถตรวจสอบสภาพอากาศในสถานที่ต่างๆ ได้ ดาวเทียมประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อการเดินเรือ และการเดินทางทางอากาศเป็นอย่างมาก

       4. ดาวเทียมทางทหารเป็นดาวเทียมที่ใช้ในราชการทหารเท่านั้น มีประโยชน์ในการสอดแนมข่าวสาร หรือ

คำถาม  ให้อธิบายข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรได้เอื้ออำนวยประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงาน
            ราชการอย่างไร 

กิจกรรมบูรณาการ
         วาดภาพดาวเทียมประเภทต่างๆ  
กิจกรรมเสนอแนะ
         สืบค้น ดาวเทียมปรากฏอย่างไร  การสร้างดาวเทียม
 
ที่มา  : https://th.wikipedia.org/wiki
           https://guru.sanook.com/encyclopedia
           https://www.hackmun.8m.com/

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3594

อัพเดทล่าสุด