" เอื้องคำกิ่วตาดำ " เป็นกล้วยไม้พวกเอื้องคำกิ่ว เป็นกล้วยไม้สกุลหวายที่มีความสวยงาม และมีกลิ่นหอม
" เอื้องคำกิ่วตาดำ " กล้วยไม้งามสกุลหวาย(Dendrobium)
ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี จากพบว่าในป่าธรรมชาติบ้านเราหลายพื้นที่ จะมีกล้วยไม้สวยงามหลากหลายสายพันธุ์อยู่ระหว่างผลิดอกอวดความงามสะพรั้งให้ชื่นชมตามคบไม้มากมาย หลายชนิดมีกลิ่นหอมและทำให้รู้สึกสดชื่นในกล้วยไม้ที่กล่าวถึงนั้นก็จะมี " เอื้องคำกิ่วตาดำ " รวมอยู่ด้วย
(ที่มาไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/column/edu/paperagriculturist/161444)
ภาพเอื้องคำกิ่วตาดำ
" เอื้องคำกิ่วตาดำ " เป็นกล้วยไม้พวกเอื้องคำกิ่ว เป็นกล้วยไม้สกุลหวายสูงได้เกือบ 1 ฟุตมีแท่งหนา สีเหลืองคล้ายสีทองคำ โคนต้นคอดกิ่ว ใบเป็นรูปรี แกมรูปขอบขนานมักทิ้งใบเมื่อผลิดอก มารู้จักกล้วยไม้สวยงามสกุลหวาย เอื้องคำกิ่ว และเอื้องคำกิ่วตาดำกันนะคะ
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น
ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
เรื่อง เอื้องคำกิ่ว (เอื้องคำกิ่วตาดำ)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium signatum
ภาพเอื้องคำกิ่วตาดำ
เอื้องคำกิ่ว หรือเอื้องตีนเป็ด เอื้องตีนนก เอื้องเค้ากิ่ว เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย ลำต้นเจริญแบบแตกกอ มีลำลูกกล้วย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ระบบรากเป็นแบบรากอากาศ แผ่นใบค่อนข้างหนา ก้านช่อดอกสั้น บางพันธุ์ดอกสีเหลืองล้วน บางพันธุ์มีแต้มสีม่วงเข้ม ขอบกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกช่วงมีนาคมถึงพฤษภาคม พบในป่าดิบแล้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
เอื้องคำกิ่วตาดำ
เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ที่มีการเจริญทางยอด ได้แก่ชนิดที่มีลำต้นชัดเจนแล้วมีการเจริญขยายทางปลายยอดด้านเดียวมีมากมายหลายสายพันธุ์และหลายสกุล ลำต้นสูงได้เกือบ 1 ฟุตมีแท่งหนา สีเหลืองคล้ายสีทองคำ โคนต้นคอดกิ่ว ใบเป็นรูปรี แกมรูปขอบขนาน มักทิ้งใบเมื่อผลิดอก
ลักษณะดอก
ดอกออกเป็นช่อตามข้อลำต้น จำนวน 2 - 4 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีนวล
โคนกลีบมักบิดเล็กน้อย ปลายกลีบบางครั้งมีสีชมพูอ่อน ๆ ด้วย กลีบปากเป็นสีเหลืองอมส้ม มีแต้มเป็นสีม่วงเข้มเกือบดำชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากกลีบปากของเอื้องคำกิ่วธรรมดา ที่จะเป็นสีเหลืองเข้ม จึงมีชื่อเรียกตามลักษณะพิเศษนี้ว่า "เอื้องคำกิ่วตาดำ" ดอกบานเต็มที่กว้าง 6 - 7 เซนติเมตร ดอกจะมีกลิ่นหอมและมีความสวยงามมาก
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ ด้วยวิธีตัดยอด เอาไปแขวนในที่ลมโกรกดีทั้งวัน ฉีดน้ำพ่นบริเวณที่ตัดเช้าเย็นประมาณ 1- 2 อาทิตย์ จะมีรากหงอกสามารถนำไปปลูกลงในกระถางกล้วยไม้ได้
แหล่งที่พบ
ป่าผลัดใบ ป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 300 -1,200 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมีเขตกระจายพันธุ์แถว พม่า และลาว
ภาพเอื้องคำกิ่ว
ข้อมูลพิเศษ
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น
1.เอื้องผึ้ง (Den. aggregatum)
2.เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน (Den. thyrsiflorum)
3.เหลืองจันทบูร(Den. friedericksianum)
4.พวงหยก, หวายปม(Den. findlayanum)
5. เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย (Den. pulchellum)
6.เอื้องมัจฉาณุ (Den. farmeri)
7.เอื้องเงินหลวง (Den. formosum)
8.เอื้องเงิน (Den. draconis)
9. เอื้องเงินแดง (Den. cariniferum)
10. เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์(Den. crumenatum)
11.เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง(Den. primulinum)
12. เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง (Den. tortile)
13. เอื้องแปรงสีฟัน (Den. secundum)
14.เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย (Den. anosmum)
15. เอื้องครั่ง (Den. parishii)
16.เอื้องคำ(Den. chrysotoxum)
17.แววมยุรา หรือเอื้องคำตาดำ, เอื้องคำน้อย (Den. fimbriatum)
18.เอื้องคำกิ่ว (Den. signatum )
แววมยุรา เอื้องเงิน เอื้องคำ เอื้องคำ
" เอื้องคำกิ่วตาดำ " จึงถือว่าเป็นกล้วยไม้สกุลหวายอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม กลิ่นหอมมองดูแล้วมีความสดชื่น รื่นรมณ์ สบายใจ มากทีเดียวค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. เอื้องคำกิ่วตาดำจัดเป็นกล้วยไม้ประเภทใด
2. พบเอื้องคำกิ่วตาดำได้มากในท้องที่ใด
3. เอื่องคำกิ่วตาดำ ต่างจาก เอื้องคำกิ่วธรรมดาอย่างไร
4. ยกตัวอย่างกล้วยไม้สกุลหวายมา 5 ชนิด
5. เอื้องคำกิ่วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องกล้วยไม้สกุลหวาย เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการอนุรักษ์กล้วยไม้ไทย
3. กิจกรรมทัศนศึกษาชมกล้วยไม้ และแหล่งธรรมชาติ ณ อุทยานแห่งชาติต่าง ๆ
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/column/edu/paperagriculturist/161444
2. https://th.wikipedia.org/wiki/เอื้องคำกิ่ว
3. https://onepiece.igetweb.com/index.php?mo=3&art=429102
4. https://www.panmai.com/Orchid/Den/den.shtml
5. https://webboard.sanook.com/forum/?topic=3079782.0;all
6. https://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=niyamasan&id=104
7. https://www.free-webboard.com/view.php?nm=maburomaoh&qid=9
8. https://picasaweb.google.com/60pansabotany/vPNUsD#5279903428593932802
9. https://picasaweb.google.com/60pansabotany/vPNUsD#
10. https://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=fernkorat&id=7841
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3620