นักอนุรักษ์ธรรมชาติกลุ่มหนึ่งได้จัดให้มีการแสดงพลังครั้งใหญ่ เพื่อปลุกเร้าจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่นับวันยิ่งถูกมนุษย์ทำลาย
ปัจจุบันดูเหมือนปัญหาภัย ธรรมชาติดูจะทวีความรุนแรงและมีความถี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนฟ้าคะนอง ทั้งยังเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหว น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอีกด้วย หรือนั่นอาจเป็นสัญญาณที่เตือนให้รู้ว่า เราควรจะหันมาใส่ใจเรื่องของการดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง เสียทีได้แล้ว...
ที่มา : https://campus.sanook.com/
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทุกระดับชั้น
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
วันคุ้มครองโลก วันที่ 22 เมษายนของทุกปี โดยถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 27 ปีก่อน ในวันที่ 22 เมษายน 2513 นักอนุรักษ์ธรรมชาติกลุ่มหนึ่งได้จัดให้มีการแสดงพลังครั้งใหญ่ เพื่อปลุกเร้าจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่นับวันยิ่งถูกมนุษย์ทำลาย ในการแสดงพลังครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมกว่า 20 ล้านคนและปรากฏขึ้นตามเมืองใหญ่ๆ เกือบทั้งสหรัฐ หลังจากนั้นความห่วงใยปัญหาสภาพแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาก็เพิ่มพูนขึ้นและมี การออกกฎหมายควบคุมการกระทำที่สร้างความเสียหายให้กับธรรมชาติอีกด้วย
สำหรับในประเทศไทยเริ่มพูดถึง "วันคุ้มครองโลก" ครั้งแรก เมื่อปี 2533 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมไทยที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหลังจาก สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี กระทำอัตวินิบาตกรรม อาจารย์และนักศึกษา 16 สถาบันได้ร่วมกันจัดงานวันคุ้มครองโลกขึ้นเพื่อรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญ ของป่าอนุรักษ์ และตระหนักถึงวิกฤติที่เกิดจากการทำร้ายสัตว์ป่าและทำลายป่าไม้ประเทศไทย รวมทั้งยังได้จัดงานเพื่อหาทุนเข้ามูลนิธิสืบนาคะเสถียร เพื่อใช้ในการปกป้องรักษาผืนป่าที่เป็นมรดกของโลกอีกด้วย
ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษได้ทวีความรุนแรงขึ้น อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสีย อากาศเป็นพิษ หรือการตัดไม้ทำลายป่าที่ส่งผลให่เกิดวาตภัย หรืออุทกภัยอย่างฉับพลัน นอก จากนั้นก็ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัญหาโลก เช่น ปัญหาการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก หรือ Green House Effect ปัญหาปริมาณโอโซนในบรรยากาศลดลง หรือปัญหาพลังงานของโลกที่จะต้องหามาทดแทนการใช้น้ำมัน เป็นต้น
.jpg)
พอถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 ชุมชนหลายแห่งก็มี โครงการรีไซเคิล เมื่อถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 โครงการรีไซเคิลของเทศบาลเหล่านี้ก็สามารถพึ่งพาตนเอ งได้ โดยจำนวนขยะที่เทศบาลต้องนำไปทิ้งลดลงอย่างเห็นได้ชัด และกว่าร้อยละ 20 ของขยะในเขตเทศบาลของอเมริกาได้ถูกนำไปแปรรูปให้กลาย เป็นผลผลิตที่มีประโยชน์ บริษัทห้างร้านต่างๆ ซึ่งเริ่มตระหนักมากขึ้นในความต้องการของผู้บริโภคแล ะผลกำไรที่จะได้รับในตอนท้าย มักโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีหลายบริษัทที่ใช้วิธีการผลิตที่เพิ่มประสิทธิภาพแล ะลดจำนวนกากของเสียจากอุตสาหกรรมลงด้วย
ดังนั้นในวันที่ 22 เมษายน 2513 ประชาชนอเมริกันที่ตะ นักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมกว่า 20 ล้านคน จึงได้พร้อมใจกันมาชุมนุมเพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐ อเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น และกำหนดให้ วันที่ 22 เมษายน ของทุกปี เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day โดยมีเป้าหมายดังต่อไปนี้คือ
1. เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ
2. เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอนซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป
3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ
4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิตที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป
5. เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่
6. เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์
7. เพื่อสร้างสำนึกในอันที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชนและชาติ
ในวันที่ 22 เมษายนของทุกปี ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเรียกร้องให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการอนุรักษ์โลกใบนี้ไว้ เช่น
1. การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะแถบแอฟริกา เคนยา ไนจีเรีย และนามิเบีย เป็นต้น
2. การอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในเมือง หมู่บ้าน และภูเขา
3. รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
4. เน้นการคุมกำเนิดเพื่อให้จำนวนประชากรได้คงอยู่ในระดับคงเดิม
5. ให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
6. ร่วมกันรักษาความสะอาดตามถนนหนทาง ชายหาด อุทยาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ
ที่มา : https://campus.sanook.com/ : อ้างจาก ทุ่งสง ดอทคอม ,วิกิพีเดีย,สนุก! พีเดีย
คำถามโดน..โดน...
1. คุณมีวิธีการทำอย่างไร เพื่อบ่งบอกว่าคุณตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
2. วันคุ้มครองโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดคนเราจึงต้องคุ้มครองโลก
กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางการป้องกันและแก้ไข
การบูรณาการ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3655