12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี MUSLIMTHAIPOST

 

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี


919 ผู้ชม


การสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสเกิดขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศตะวันออกอยู่ต่ำมาก สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้สังเกตต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จึงจะพอสังเกตได้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวแ   

บทนำ
ปราชญ์ชาวบ้านชวนดู “ดาวศุกร์” เคียง “ดาวพฤหัส” ปรากฏการณ์หาดูไม่ง่าย พร้อมการชุมนุมของดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธและดาวอังคาร บนท้องฟ้าตอนเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค.
ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์


ประเด็นจากข่าว
          การสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสเกิดขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศตะวันออกอยู่ต่ำมาก สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้สังเกตต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จึงจะพอสังเกตได้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวและเมฆฝนที่มีมากในฤดูนี้  
         โดยปกติในระบบสุริยะ จะมีดาวเคราะห์ 8 ดวง ซึ่งจะมีเกณฑ์การแบ่งดาวเคราะห์หลากหลายเกณฑ์ อาทิเช่น ใช้พื้นผิวของดาวเคราะห์  ระยะทางจากดาวเคราะห์ถึงดวงอาทิตย์  หรือเกณฑ์ในการมองเห็น

เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  หรือช่วงชั้นที่ 3 
                         สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ


เนื้อเรื่อง
ดาวพุธ (Mercury)
        เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้ตอนใกล้ค่ำและ ช่วงรุ่งเช้า ดาวพุธไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร ดาวพุธหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกกินเวลา ประมาณ 58 - 59 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 88 วัน

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี

 
ที่มา https://www.aastroyoga.com/emerald-for-mercury.html


ดาวศุกร์ (Venus)
        สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยสามารถมองเห็นได้ทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาใกล้ค่ำ เราเรียกว่า"ดาวประจำเมือง" (Evening Star) ส่วนช่วงเช้ามืดปรากฏให้เห็นทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ดาวรุ่ง" (Morning Star) เรามักสังเกตเห็นดาวศุกร์มีแสงส่องสว่างมากเนื่องจาก ดาวศุกร์มีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงขึ้น ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ไม่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี
ที่มา https://www.thegeminigeek.com/when-was-the-planet-venus-discovered/


โลก (Earth)
        โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศและมีระยะห่าง จากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต นักดาราศาสตร์อธิบายเกี่ยวกับการเกิดโลกว่า โลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการเคลื่อนทีสลับซับซ้อนมาก โดยเราจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี
ที่มา https://www.flickr.com/photos/wwworks/2222523486/


ดาวอังคาร (Mars)
        อยู่ห่างจากโลกของเราเพียง 35 ล้านไมล์ และ 234 ล้านไมล์ เนื่องจากมีวงโคจรรอบดวง อาทิตย์เป็นวงรี พื้นผิวดาวอังคารมีปรากฏการณ์เมฆและพายุฝุ่นเสมอ เป็นที่น่าสนใจในการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะและองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกับโลก เช่น มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 วัน เท่ากับ 24.6 ชั่วโมง และระยะเวลาใน 1 ปี เมื่อเทียบกับโลกเท่ากับ 1.9 มีการเอียงของแกน 25 องศา ดาวอังคารมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี
ที่มา  https://mars1650.wikispaces.com/


ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)
        เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 9.8 ชั่วโมง ซึ่งเร็วที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา12 ปี นักดาราศาสตร์อธิบายว่า ดาวพฤหัสเป็นกลุ่มก้อนก๊าซหรือของเหลวขนาดใหญ่ ที่ไม่มีส่วนที่เป็นของแข็งเหมือนโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวารมากถึง 16 ดวง

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี
ที่มา  https://elegant-universe.webs.com/pla.html


ดาวเสาร์ (Saturn)
        เป็นดาวเคราะห์ที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นดาวที่ประกอบไปด้วยก๊าซและของ เหลวสีค่อนข้างเหลือง หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 10.2 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบใช้เวลา 29 ปี ลักษณะเด่นของดาวเสาร์ คือ มีวงแหวนล้อมรอบ ซึ่งวงแหวนดังกล่าวเป็นอนุภาคเล็กๆ หลายชนิดที่หมุนรอบดาวเสาร์มีวงแหวนจำนวน 3 ชั้น ดาวเสาร์มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 1 ดวง และมีดวงจันทร์ดวงหนึ่งชื่อ Titan ซึ่งถือว่าเป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี
ที่มา  https://elegant-universe.webs.com/pla.html


ดาวยูเรนัส (Uranus)
        หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 16.8 ชั่วโมง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 84 ปี ดาวยูเรนัสประกอบด้วยก๊าซและของเหลว เช่นเดียวกับ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ 4.8 ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นดาวเคราะห์ที่มีระยะเวลาในการหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 17.8 ชั่วโมง และระยะ เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เท่ากับ 165 ปี มีดวงจันทร์เป็นดาวบริวาร 2 ดวง

12 พฤษภาคมมาชมดาวศุกร์คู่ดาวพฤหัสบดี
ที่มา  https://picturesoftheplanets.net/Uranus-Planet.html


 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 ครูตั้งคำถามนักเรียนเกี่ยวกับ "หากเราจะแบ่งดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเป็นหมวดหมู่ เราจะแบ่งได้อย่างไรบ้าง"
กิจกรรมเสนอแนะ
      ทำกิจกรรมกลุ่ม "มารู้จักดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ" โดยแบ่งนักเรียนเป็น 9 กลุ่ม  โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนครูทบทวนความรู้เรื่องดาวต่างๆ ในระบบสุริยะ
2.  แบ่งนักเรียนแบบคละความสามารถเป็น 9 กลุ่ม 
3.  ให้ตัวแทนกลุ่มมาจับสลากเรื่อง "ดาวประจำกลุ่ม" เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป หรือข้อมูลเด่นๆ ของดาวนั้นๆ
4.  แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลดาว พร้อมสรุปเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนกลุ่มละ 5 นาที
5.  ครูและนักเรียนร่วมกันจำแนกดาวเคราะห์ โดยระบุเกณฑ์ที่ใช้ พร้อมสรุปถึงการจำแนกกลุ่มจะเป็นอย่างไร ขึ้นกับการระบุเกณฑ์
การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (คำศัพท์เกี่ยวกับดวงดาว และความแตกต่างระหว่าง Star กับ Planet)
              กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (การคำนวณระยะทางระหว่างดาว รวมถึงระยะทางในหน่วย "ปีแสง")
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1.  หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ (สืบค้นวันที่ 6 พฤษภาคม 2554)
2.  https://stargate.wikia.com/wiki/File:Jupiter.jpg 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3691

อัพเดทล่าสุด