ทั้งนี้พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเขมรไม่ได้มีแค่ทางชายแดนเขาพระวิหารเท่านั้น รอง ผบ.ทัพเรือภาค 1 เผยเขมรขอส่วนแบ่งผลประโยชน์เขตทับซ้อนทางทะเล 90% หลังผลสำรวจพบน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติมูลค่ารวม 5 ล้านล้านบาท
เนื้อหาเหมาะสำหรับระดับชั้น ม. 1- ม. 3
สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สาระที่ ๕ พลังงาน
มาตรฐาน ว ๕.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูป พลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
กัมพูชา ลักไก่ ให้ญี่ปุ่น เจาะน้ำมัน พื้นที่ทับซ้อนไทย
ปิดฉากการประชุมอาเซียน ซัมมิท ครังที่ 18 ให้คำมั่นเพิ่มบทบาทอาเซียนสู่เวทีโลกขณะที่ปัญหาความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชา ยังคงคั่งค้าง
ที่มา : รูปภาพ https://hilight.kapook.com/img_cms2/news3/284151%5B0%5D.jpg
ศาลโลก เผยเตรียมกำหนดวันเวลา ในการไต่สวนจากไทยและกัมพูชา ในการแปลความคำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหาร จากคำร้องของประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ICJ ดำเนินการอย่าง "เร่งด่วน" เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับปราสาทพระวิหาร อันเป็นผลมาจากการปะทะกัน ระหว่างทหารกัมพูชาและไทย ตามแนวชายแดน รวมถึงการร้องขอให้แปลความคำตัดสิน กรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 1962 (พ.ศ. 2505)
ทั้งนี้พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเขมรไม่ได้มีแค่ทางชายแดนเขาพระวิหารเท่านั้น รอง ผบ.ทัพเรือภาค 1 เผยเขมรขอส่วนแบ่งผลประโยชน์เขตทับซ้อนทางทะเล 90% หลังผลสำรวจพบน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติมูลค่ารวม 5 ล้านล้านบาท อดีต ผบ.ทร.อัดกัมพูชาขีดเส้นเลื่อนลอย หนุนคงกำลังทหารเพื่อความได้เปรียบเจรจาเขตแดนทางบก-ทะเล ด้าน ผอ.กองกิจการชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุ “ฮุนเซน” ลดความแข็งกร้าว แต่เสริมทหารปืนใหญ่ด้านเขาพระวิหาร
ที่มา : รูปภาพ https://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1172259
สื่อทางอินเทอร์เน็ตของกัมพูชา ระบุว่า สำหรับพื้นที่บล็อค 4 เป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณเกาะกูด จังหวัดตราดของไทยกับจังหวัดเกาะกงของประเทศกัมพูชา ซึ่งมีพิกัดอยู่ติดกับพื้นที่บล็อค 3 ที่ทางรัฐบาลกัมพูชาเคยมอบสิทธิการขุดเจาะน้ำมันให้บริษัทโตตันของประเทศฝรั่งเศส แต่ถูกทางรัฐบาลไทยประท้วง จนทำให้บริษัทของฝรั่งเศสไม่สามารถดำเนินการขุดเจาะได้ แต่ล่าสุดรัฐบาลกัมพูชาได้มอบสัมปทานให้กับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น รายงานข่าวยังคาดการว่า ในพื้นที่ดังกล่าวจะสามารถขุดเจาะน้ำมันและแก๊สได้จำนวนมาก
ปัญหาที่ยังตกลงไม่ได้เกิดจากการอ้างสิทธิของสองฝ่ายออกไปฝ่ายละ 200 ไมล์ทะเลจากไหล่ทวีปในองศาที่ต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน แบ่งเป็นสองส่วน คือ เกาะกูดตอนล่าง ที่ไทยยึดถือตามสนธิสัญญา ฟรังโก-สยาม ว่าเกาะกูดอยู่ในฝั่งไทย ในขณะที่ กัมพูชาใช้เส้นแนวเล็งจากเขตแดนที่ 73 ผ่านยอดเขาสูงของเกาะกูดตรงออกไปในทะเล ซึ่งกินพื้นที่พัฒนาร่วมคือ JDA ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนที่สอง คือ อ่าวไทยตอนกลางและตอนล่าง ที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2515 ในขณะที่ไทยประกาศในปี 2516
ที่มา : รูปภาพ https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/337/23337/images/oil2.jpg
ช่วงปี 48 บริษัท เชฟรอน สหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนจากรัฐบาลไทยและกัมพูชาให้สำรวจพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ได้ประเมินมูลค่าก๊าซธรรมชาติไว้ 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมัน 1.5 ล้านล้านบาท โดยกองทัพเรือยังต้องดูแลความปลอดภัย 2 ฐานขุดเจาะนางนวลนี้อยู่
บ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติกลางอ่าวไทยบนพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชานั้น ทำให้กัมพูชาประกาศจะนำมาใช้พัฒนาประเทศ และปัจจุบันยกพื้นที่ดังกล่าวให้บริษัท TOtal ของฝรั่งเศษแล้ว
ธนาคารโลกประเมินว่า แหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ที่จะสร้างรายได้ให้กัมพูชาไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านเหรียญต่อปี (เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบบาร์เรลละ 60 เหรียญ)
สำหรับพื้นที่ที่น่าจะมีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันมากที่สุดก็คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทยนั่นเอง
ชมแท่นขุดเจาะน้ำมันของไทย
วิดิโอ
ที่มา : วิดิโอ https://youtu.be/lT22MpowSsI
ประเด็นคำถามชวนคิด
1. น้ำมันและแก๊สธรรมชาติเกิดขึ้นได้อย่างไร
2. บ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติของไทยมีที่ไหนบ้าง
3. น้ำมันและแก๊สธรรมชาติมีผลต่อเศรษกิจของไทยอย่างไรบ้าง
4. ผลิตภันณ์อะไรบ้างที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
กิจกรรมเสนอแนะ
1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดของน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. ค้นคว้าและนำเสนอแนวทางการประหยัดน้ำมัน
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาแผนที่ประเทศไทยพื้น ที่ทับซ้อนต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ เส้นละติจูต ลองติจูต
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การคำนวณราคาน้ำมัน หน่วยของน้ำมัน หน่วยของความยาวไมล์ทะเล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ นักเรียนวาดแผนที่ประเทศไทย แผนที่ทวีปเอเชียกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การเขียนย่อความ การสรุปความของข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า
ขอขอบคุณ
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1.https://youtu.be/CD-02oMwbYE
2.https://youtu.be/lT22MpowSsI
3.https://hilight.kapook.com/view/58139
4.https://www.rssthai.com/reader.php?r=13335&t=foreign
5.https://www.oknation.net/blog/print.php?id=520483
6.https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/337/23337/images/oil2.jpg
7.https://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1172259
8.https://hilight.kapook.com/img_cms2/news3/284151%5B0%5D.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3726