ขมิ้น...STOP BOMB!!!


682 ผู้ชม


สารเคมีในขมิ้นlามารถตรวจหาสารระเบิดอย่างทีเอ็นที (TNT) แทนสารเคมีที่อื่นๆ ได้   

1 บทนำ
              นักวิจัยอเมริกันเสนอว่า สารเคมีในขมิ้นนั้นสามารถตรวจหาสารระเบิดอย่างทีเอ็นที (TNT) แทนสารเคมีที่ซับซ้อนอื่นๆ ได้ ด้วยความสามารถในการจับโมเลกุลของสารระเบิดในอากาศแล้วเปล่งแสงออกมา ซึ่งการตรวจวัดสารเรืองแสงนี้เป็นเทคนิคที่ถูกประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดและวิเคราะห์ต่างๆ มากมาย

2 ประเด็นจากข่าวเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาหลักเรื่องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย            

3 เนื้อหาสำหรับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นม.๓

                                               ขมิ้น...STOP BOMB!!!

          ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/e0/Nagasakibomb.jpg

4 เนื้อเรื่อง
        โลกในยุคปฏิวัติเขียวการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องของสารเคมีบางอย่าง ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจึงเป็นหน้าที่ของนักวิจัยจากทั่วโลกที่จะต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ส่วนเราเป็นเพียงนักเรียน ครูธรรมดาที่มีความใฝ่ฝันจะเป็นนักวิจัยน้อยโดยเริ่มจากการพิจารณางานของนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการค้นคว้าเรื่องใกล้ตัวใหม่ๆในชีวิตประจำวันจนมาพบผลงานชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพืชชนิดหนึ่งที่มีความผูกพันกับชีวิตคนไทยมาก
        การเริ่มต้นศึกษาสิ่งใดเกี่ยวกับการทำโครงงานทางวิทยาศาสตร์ต้องถามตัวเองให้ได้ว่าปัญหาที่เราตั้งไว้คืออะไรจะใช้วิธีใดแก้ปัญหาและปัญหานั้นจะแก้ได้โดยวิธีใดจึงจะบรรลุผลตามความคาดหวังหรือไม่ นี่คือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ง่ายๆที่จะนำไปสู่การวิจัยที่ยิ่งใหญ่
        มีผู้กล่าวว่าพืชในครัวไทยมีคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์อย่างมากและ “ขมิ้น” ก็ถูกเลือกให้เป็นพระเอกของเรื่อง เมื่อขมิ้นได้รับการกระตุ้นจะปลดปล่อยแสงออกมาในรูปของแสงสีที่แตกต่างกัน บางชนิดเรืองแสงในความมืด และความเข้มของแสงที่ปลดปล่อยนั้นเปลี่ยนแปลงได้ หากมีโมเลกุลต่างชนิดผสมเข้ากับโมเลกุลเรืองแสง และเซนเซอร์จะตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงนี้  นอกจากมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในทางการแพทย์แล้ว สารเคมีใน “ขมิ้น” ยังใช้เป็นวัตถุผลิตเครื่องตรวจสารระเบิดราคาถูกได้ จากคุณสมบัติเปล่งแสงเมื่อสัมผัสสารระเบิดในอากามีคุณสมบัติต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในทางการแพทย์แล้ว สารเคมีใน “ขมิ้น” ยังใช้เป็นวัตถุผลิตเครื่องตรวจสารระเบิดราคาถูกได้ จากคุณสมบัติเปล่งแสงเมื่อสัมผัสสารระเบิดในอากาศนอกจากมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในทางการแพทย์แล้ว สารเคมีใน “ขมิ้น” ยังใช้เป็นวัตถุผลิตเครื่องตรวจสารระเบิดราคาถูกได้ จากคุณสมบัติเปล่งแสงเมื่อสัมผัสสารระเบิดในอากาศ
        บีบีซีนิวส์รายงานว่า ขณะนี้ อภิเชก กุมาร (Abhishek Kumar) จากมหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตต์ (University of Massachusetts) ในโลเวลล์ สหรัฐฯ กำลังศึกษาคุณสมบัติการเรืองแสงของส่วนประกอบในแกงกะหรี่ เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจหาสารระเบิดราคาถูก       
         “ถ้าคุณมีทีเอ็นทีอยู่ 1 กรัมในห้องนี้ แล้วคุณสุ่มตัวอย่างโมเลกุลอากาศสักพันล้านโมเลกุลจากในห้อง คุณจะพบโมเลกุลทีเอ็นทีแค่ 4-5 โมเลกุล นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมโมเลกุลเหล่านั้นถึงตรวจหาได้ยากเหลือเกิน และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (US State Department) ประเมินว่า มีกับระเบิดอยู่ทั่วโลกมากกว่า 60-70 ล้านลูก ซึ่งเราต้องการอุปกรณ์ตรวจจับแบบพกพาสะดวก ราคาถูก มีความไวสูงและง่ายต่อการดูแล” กุมารกล่าวระหว่างการประชุมวิชาการของสมาคมฟิสิกส์อเมริกัน (American Physical Society) 

                                              ขมิ้น...STOP BOMB!!!   

        ที่มาภาพ : https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/18/Koeh-199.jpg 
       

        ทีมของกุมารได้แนวคิดในการใช้ประโยชน์จากการเรืองแสงของขมิ้นระหว่างที่พวกเขากำลังศึกษาการประยุกต์ใช้ขมิ้นในทางชีววิทยา โดยพยายามหาวิธีทำให้ละลายในน้ำได้ง่าย ซึ่งเขาบอกว่าคนส่วนใหญ่จะสนใจการประยุกต์ใช้ขมิ้นในเชิงชีววิทยา เช่น การบำบัดมะเร็งและโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น 
        5. ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
          5.1 ลำดับขั้นของการศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
          5.2 การพิจารณาเลือกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ควรเริ่มต้นอย่างไร
          5.3 ข้อดีของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นเช่นไร
        6. กิจกรรมเสนอแนะ
          6.1 ให้ผู้เรียนศึกษาผลงานการวิจัยของนักวิจัยไทยจำนวน 2 ท่านแล้วเปรียบเทียบการได้มาของผลการวิจัยโดยอธิบายกระบวนการที่ใช้ในการศึกษา
          6.2  ตัวแทนผู้เรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
        7. การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
          -   สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ(คหกรรม)  ...เรื่องระเบิดเวลากับแกงกระหรี่...
          - สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา(เศรษฐกิจพอเพียง) ...เรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันของไทย...
          - สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา(ภูมิศาสตร์)  ...เรื่องถิ่นกำเนิดของขมิ้น...
          - อื่นๆอีกมากมาย 
        8. อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
          
ที่มา https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000039191      

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3729

อัพเดทล่าสุด