ปิโตรเลียมกับชีวิตประจำวัน
ีรถบรรทุกน้ำมันพลิกคว่ำของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โดยรถบรรทุกน้ำมัน พยายามจะแซงรถบัสคันหนึ่งแต่ก็เกิดพลิกคว่ำก่อน ขณะที่น้ำมันเริ่มรั่วไหล ออกมาจากรถ แทนที่ผู้คนในบริเวณดังกล่าวจะหนีออกมา ขณะที่รถบรรทุกน้ำมันพลิกคว่ำ มีทั้งเด็กผู้หญิงและผู้ชายแม้กระทั่งทหารของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกแห่เข้าไปรองน้ำมัน และไม่ฟังคำเตือนของทหารยูเอ็นชาวปากีสถาน จากนั้นไม่นานก็เกิดระเบิด ขณะที่ผู้ที่เสียชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในโรงภาพยนตร์และบาร์ใกล้เคียง
ที่มา : https://www.krobkruakao.com
ในชีวิตประจำวันนักเรียนเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมอย่างไรบ้าง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ความหมายของปิโตรเลียม
น้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันดิบ เกิดขึ้นในธรรมชาติจากการทับถมของซากพืชและสัตว์เป็นเวลานานนับล้าน ๆ ปี พบอยู่ตามชั้นของหินและมักจะมีแก๊สธรรมชาติเกิดปนอยู่ด้วย เชื่อกันว่าแก๊สธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมเหล่านี้เกิดจากสารอินทรีย์ เช่น คาร์โบไฮเดรตไขมันและโปรตีนในซากพืชและสัตว์ที่ตายทับถมกันเป็นเวลานานสารเหล่านี้จะถูกย่อยสลายจนกลายเป็นปิโตรเลียมภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน ด้วยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ โดยมีความร้อนและความดันจากชั้นหินและดินเป็นตัวช่วย
รูป 1 กระบวนกาารเกิดปิโตรเลียม
ที่มา https://www.panyathai.or.th/wiki/images
การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมหรือแหล่งน้ำมันดิบอาจจะทำได้หลายวิธีเช่น ทางธรณีวิทยา โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานจากภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายแผนที่อากาศ แผนที่และรายงานทางธรณีวิทยา หลังจากนั้นจึงสำรวจธรณีวิทยาพื้นผิวโดยการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างดินจากผิวดิน การสำรวจทางธรณีวิทยาจะช่วยให้คาดคะเนโครงสร้างและชนิดของหินว่ามีโอกาสเก็บกักปิโตรเลียมมากน้อยเพียงใดนอกจากนี้การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ จะสามารถบอกแหล่ง ขอบเขตและลักษณะโครงสร้างและรูปทรงของแอ่งเก็บกักปิโตรเลียม โดยวิธีวัดความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก ทำให้ทราบชนิด ความหนา ขอบเขต ความกว้างใหญ่ของแอ่งและความลึกของชั้นหิน การวัดความโน้มถ่วงของโลกทำให้ทราบว่าชั้น หินบริเวณนั้นเป็นชนิดใด การวัดคลื่นความไหวสะเทือนทำให้ทราบรูปร่าง และลักษณะโครงสร้างของแหล่งชั้นหินอย่างละเอียด ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถระบุได้ว่าชั้นหินบริเวณใดมีโอกาสเป็นแหล่ง ปิโตรเลียม และมีปริมาณมากน้อยเพียงใด หลังจากทราบข้อมูลเบื้องต้นว่ามีโอกาสที่จะพบแหล่งปิโตรเลียม จึงจะดำเนินการค้นหาแหล่งปิโตรเลียมที่แน่นอนเพื่อทำการขุดเจาะต่อไป
การกลั่นปิโตรเลียม
การกลั่นปิโตรเลียม ส่งผ่านสารประกอบไฮโดรคาร์บอนผ่านท่อเข้าไปในเตาเผาที่มีอุณหภูมิ 320 – 385 องศาเซลเซียส น้ำมันดิบที่ผ่านเตาเผาจะมีอุณหภูมิสูงจนบางส่วนเปลี่ยนสถานะเป็นไอปนไปกับของเหลวส่งสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทั้งที่เป็นของเหลวและไอผ่านเข้าไปในหอกลั่นซึ่งจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันชั้นบนมีอุณหภูมิต่ำชั้นล่างมีอุณหภูมิสูงดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลต่ำและจุดเดือดต่ำจะระเหยขึ้นไปและควบแน่นเป็นของเหลวบริเวณชั้นที่อยู่ส่วนบนของหอกลั่นส่วนสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีมวลโมเลกุลสูงและจุดเดือดสูงกว่าจะควบแน่นเป็นของเหลวอยู่ในชั้นต่ำลงมาตามช่วงอุณหภูมิของจุดเดือด เมื่อนำไปกลั่นในตอนแรกจะได้ผลิตภัณฑ์หลักคือ น้ำมันเบนซิน (petrol หรือ gasoline) น้ำมันก๊าด (kerosene) , gas oil (เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น) และน้ำมันเตา (fuel oil) ส่วนที่เหลือนำไปกลั่นใหม่ภายใต้ความดันต่ำ ๆ จะได้เป็นไข (paraffin wax) และบิทูเมน (bitumen) เป็นต้น ปริมาณขององค์ประกอบต่าง ๆ ของน้ำมันจะไม่เท่ากัน จะขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดของน้ำมันดิบนั้น
ู รูป 2 การกลั่นปิโตรเลียม
ที่มา https://4.bp.blogspot.com/_XSX6sFjDKN4/TK2GMHlhO0I/AAAAAAAAABU/iivuRlk11QE/s1600/bcp11.png
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
แก๊สปิโตรเลียม petroleum gas จุดเดือดต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น buta gas ทำสารเคมีและวัสดุสังเคราะห์
น้ำมันเบนซินหรือแนฟทาเบา (gasoline or light naphtha) จุดเดือด0 - 65 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
แนฟทาหนัก (heavy naphtha) จุดเดือด65 - 170 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน และเป็นตัวทำละลาย
น้ำมันก๊าด (kerosine) จุดเดือด170 - 250 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แสงสว่าง หุงต้ม และเป็นเชื้อเพลิงของเครื่องบินไอพ่น
น้ำมันดีเซล (diesal oil) จุดเดือด250 - 340 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล
น้ำมันหล่อลื่น (lubricating oil) จุดเดือด340 - 500 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเครื่อง
ไข (wax) จุดเดือด340 - 500 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้ทำเทียนไข เครื่องสำอาง ยาขัดมัน และเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผงซักฟอก
น้ำมันเตา (fuel oil) จุดเดือดสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องจักร
บิทูเมน (bitumen) จุดเดือดสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส ประโยชน์ใช้เป็นยางมะตอยสำหรับสร้างถนน เป็นของแข็งที่อ่อนตัวและเหนียวหนืดได้เมื่อถูกความร้อน ใช้เป็นวัตถุกันซึม เช่น อุดรูของหลังคาได้
รูป 3 หอกลั่น ภายในโรงกลั่นน้ำมัน
ที่มา : https://www.wrg-whv.de/en_new/procedure.htm
เลขออกเทนกับคุณภาพของน้ำมันเบนซิน
น้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องจักรซึ่งมีระบบการเผาไหม้ภายใน ถ้าเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดีจะทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบไม่มีการกระตุก แต่ถ้าน้ำมันมีคุณภาพไม่ดี จะทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ เกิดการกรตุกเป็นระยะ ซึ่งการกระตุกของเครื่องยนต์นี้ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานหรือสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น ดังนั้นการกำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน จึงนิยมพิจารณาจากอัตราการกระตุกของเครื่องยนต์ ถ้าทำให้เครื่องยนต์เกิดการกระตุกมาก จะจัดว่าเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพไม่ดี ถ้าทำให้เครื่องยนต์ไม่กระตุก หรือกระตุกน้อยมากจะจัดว่าเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี การวัดอัตราการกระตุก นิยมบอกกันเป็น “เลขออกเทน” (Octane number) ถ้าน้ำมันมีเลขออกเทนสูง จะมีคุณภาพดี ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ มีการกระตุกน้อย ถ้าน้ำมันมีเลขออกเทนต่ำ จะมีคุณภาพไม่ดี ทำให้เครื่องยนต์กระตุกมากสิ้นเปลืองน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันเบนซินที่กลั่นได้ มีไฮโดรคาร์บอนที่มี 5 - 1 อะตอม เป็นส่วนใหญ่ทำให้มีสมบัติแตกต่างกันไปตามชนิดและปริมาณของไฮโดรคาร์บอน จากการศึกษาไฮโดรคาร์บอนที่เป็นไอโซเมอร์กัน พบว่า ไฮโซเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบโซ่กิ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพดีกว่าแบบโซ่ตรง โดยเฉพาะไอโซเมอร์ของออกเทนที่เรียกว่า ไอโซออกเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนมาก ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ และพบว่า เฮปเทน หรือนอร์มอลเฮปเทน ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนแบบโซ่ตรงมีคุณภาพไม่เหมาะกับเครื่องยนต์เพราะทำให้เครื่องยนต์กระตุก
การกำหนดเลขออกเทนจึงอาศัยไอโซออกเทนและเฮปเทนเป็นหลัก ดังนี้
กำหนด เฮปเทนมีเลขออกเทน = 0
ไอโซออกเทนมีเลขออกเทน = 100
ค่าออกเทนอื่น ๆ ได้จากการผสมระหว่าง เฮปเทนกับไอโซออกเทน โดยคิดจาก % ของไอโซออกเทนในสารผสม เช่น
* ถ้ามีไอโซออกเทน 90 % มีเฮปเทน 10 % เรียกว่ามีเลขออกเทน 90
* ถ้ามีไอโซออกเทน 60 % มีเฮปเทน 40 % เรียกว่ามีเลขออกเทน 60
น้ำมันเบนซินที่มีสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับไอโซออกเทน จึงมีเลขออกเทน 100 ในขณะที่น้ำมันเบนซินที่มีสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับเฮปเทนจะมีเลขออกเทนเป็น 0
น้ำมันเบนซินที่มีสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงที่ประกอบด้วยไอโซออกเทน 90 % และ เฮปเทน 10 % เรียกว่ามีเลขออกเทนเป็น 90 และ น้ำมันเบนซิน ที่มีสมบัติการเผาไหม้เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงที่ประกอบด้วย ไอโซออกเทน 95 % และ เฮปเทน 5 % เรียกว่ามีเลขออกเทนเป็น 95 เป็นต้น
การปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเบนซิน
การปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเบนซินก็คือการเพิ่มเลขออกเทนให้แก่น้ำมันนั่นเองทั้งนี้เพราะน้ำมันที่มีเลขออกเทนสูงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดการกระตุกน้อยกว่า น้ำมันที่เลขออกเทนต่ำ กล่าวได้ว่าน้ำมันที่มีเลขออกเทนสูงจะมีคุณภาพดีกว่าพวกที่มีเลขออกเทนต่ำ ในการกลั่นน้ำมันดิบจะมีส่วนหนึ่งของน้ำมันที่มีเลขออกเทนสูง และมีบางส่วนที่มีเลขออกเทนต่ำ โดยเฉพาะส่วนที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ถ้าเราต้องการให้ได้น้ำมันที่มีเลขออกเทนสูงทั้งหมดต้องลงทุนเพิ่มขึ้นอีกมากทำให้มีราคาแพงดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามหาวิธีเพิ่มคุณภาพ หรือเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันเบนซินด้วยการเติมสารบางอย่างลงไป ซึ่งสารที่เติมลงไปนั้นจะช่วยให้เครื่องยนต์ลดการกระตุก พบว่าถ้าเติมเตตระเอทิลเลด(C2H5)4Pbจำนวนหนึ่งลงไปในน้ำมันเบนซินจะช่วยทำ
ให้เครื่องยนต์เกิดการกระตุกน้อยลงเป็นการเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันใหมีคุณภาพสูงขึ้น เรียกสารซึ่งมีสมบัติในการลดการกระตุกของเครื่องยนต์ว่า สารกันกระตุก (antiknock) สารกันกระตุกนอกจากเตตระเอทิลเลดแล้วยังมีเตตะเมทิลเลด (CH3)4Pb สารทั้งสองชนิดเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในเบนซิน เมื่อน้ำมันถูกเผาไหม้ เตตะเอทิลเลดจะกลายเป็นออกไซด์ และคาร์บอนเนตของตะกั่วปนละอองปนอยู่ในอากาศ ซึ่งเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ โดยสะสมอยู่ในตับทำให้ตับมีประสิทธิภาพในการทำงานลดต่ำลง การเติมสารกันกระตุกทำให้น้ำมันมีสมบัติดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นสารตะกั่วเมื่อเกิดการเผาไหม้ จะเกิดตะกั่วและตะกั่วออกไซด์ ไปจับที่ลูกสูบของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นผลเสียต่อตัวเครื่องยนต์ ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงได้มีการแก้ไขให้ดีขึ้นโดยการเติมสารผสมระหว่าง เอทิลีนไดโบรไมด์ และเอทิลีนไดคลอไรด์ ซึ่งเรียกรวมกันว่า เอทิล ฟลูอิด (ethyl fluid) ลงไป สารทั้งสอง 2 ชนิดที่เติมลงไปนี้จะสามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วกลายเป็น เลดโบรไมด์ และเลดคลอไรด์ ซึ่งไม่จับลูกสูบของเครื่องยนต์ แต่กลับกลายเป็นไอปนออกมากับท่อไอเสีย ซึ่งก่อให้เกิดอากาศเป็นพิษเนื่องจากสารตะกั่ว ดังนั้นการเติมสารเหล่านี้ลงไปในน้ำมัน แม้จะเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมันได้แต่ก็มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทำให้อากาศเป็นพิษ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันให้ดีขึ้นโดยให้เกิดผลเสียน้อยที่สุด บางประเทศจึงใช้สารเคมีชนิดอื่น เช่น เมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์ (MTBE) แทนสารประกอบตะกั่ว และเรียกน้ำมันเบนซินชนิดนี้ว่า น้ำมันไร้สารตะกั่ว หรือ ยูแอลจี (ULG = unleaded gasoline)
เลขซีเทนกับน้ำมันดีเซล
เลขซีเทน (Cetane number) ใช้กำหนดคุณภาพของน้ำมันดีเซล เช่นเดียวกับเลขออกเทนที่ใช้กำหนดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน โดยกำหนดให้สารซีเทน (C16H34) มีเลขซีเทนเท่ากับ 100 และแอลฟาเมทิลแนพทาลีน (C11H10) มีเลขซีเทนเท่ากับ 0
สูตรโครงสร้างของซีเทนและแอลฟาเมทิลแนพทาลีน เป็นดังนี้
การเพิ่มคุณภาพและปริมาณของน้ำมัน
การเพิ่มเลขออกเทนของน้ำมัน นอกจากจะทำได้โดยการเติมสารกันกระตุกลงไปแล้ว ยังสามารถทำได้อีกหลายวิธี ทั้งนี้ได้จากการศึกษาโครงสร้างของไฮโดรคาร์บอนที่ใช้เป็นน้ำมัน บางโครงสร้างจะมีเลขออกเทนสูง และบางโครงสร้างจะมีเลขออกเทนต่ำ เมื่อกลั่นน้ำมันดิบจะได้ไฮโดรคาร์บอนที่มีโครงสร้างต่าง ๆ ปนกันออกมา ถ้าทราบว่าโครงสร้างแบบใดมีเลขออกเทนสูงก็พยายามเปลี่ยนโครงสร้างของไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ที่มีเลขออกเทนต่ำให้กลายเป็นส่วนที่มีเลขออกเทนสูง ซึ่งจะทำให้คุณภาพของน้ำมันดีขึ้น
ในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้นำ้มันเบนซินี่มีเลขออกเทนเท่าใดหรือดีเซลที่มีเลขซีเทนเท่าใด
ให้นักเรียนบอกมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้ผงลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการทำ e-book
สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3734