ระบบนิเวศ
พบฝูงปลาวาฬบรูด้า คู่แม่-ลูก บ่งชี้ระบบนิเวศสมบูรณ์ในทะเลอ่าวไทยตอนบน
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชี้อ่าวไทยตอบนระบบนิเวศสมบูรณ์ จากรายงานการพบฝูงปลาวาฬ
รวมทั้งคู่แม่ลูกเข้ามาหากินในบริเวณนอกชายฝั่งบางตะบูน จ.เพชรบุรี พร้อมประสานศูนย์อนุรักษ์
เพื่อวางมาตรการเฝ้าระวังการทำการประมงผิดกฎหมายและการทำประมงที่อาจเป็นอันตราย
https://www.newswit.com/gen/2011-04-28/85b9d79fe5e8579a2c8107f117570599/
จากประเด็นข่าวดังกล่าวสอดคล้องกับเรื่องระบบนิเวศ
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และผู้ที่สนใจ
สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น
ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้
การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน
สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ
เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ระบบนิเวศ (Ecosystem ) ตอนที่ 1
1.ความหมายของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน
มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
ระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่
เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/ecosystem1.html
ที่มา https://www.mintmint-ny.ob.tc/view.jpg
2. โครงสร้างของระบบนิเวศ
ภายในระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
1. กลุ่มสิ่งมีชีวิต ( community ) หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ภายในระบบนิเวศอาจมีหนึ่งชนิดหรือมากกว่าหนึ่งชนิดขึ้นไปก็ได้
2. แหล่งที่อยู่ ( habitat ) หมายถึงบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เช่น แหล่งที่อยู่บริเวณทุ่งหญ้า แหล่งที่อยู่ในหนองน้ำ
3. สิ่งแวดล้อม ( environment ) หมายถึงองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตซึ่งมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ
เช่น อากาศ แสงสว่าง น้ำ ดิน แร่ธาตุ เป็นต้น
3. ประเภทของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศแต่ละระบบมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งที่อยู่ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
หากใช้แหล่งที่อยู่เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของระบบนิเวศสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
3.1. ระบบนิเวศบนบก ( terrestrial ecosystem )
หมายถึงลักษณะของระบบนิเวศที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบอาศัยอยู่บนพื้นดิน เช่น ระบบนิเวศบนขอนไม้ ระบบนิเวศในทุ่งหญ้า ระบบนิเวศในป่า
ที่มา https://www.school.net.th/library/snet6/envi5/chumchon/sa2.gif
ที่มา https://www.skoolbuz.com/content_images/200911/images/biology/forest/157128.jpg
ที่มา https://www.skoolbuz.com/content_images/200911/images/biology/forest/157128.jpg
3.2. ระบบนิเวศในน้ำ ( aquatic ecosystem )
หมายถึงลักษณะของระบบนิเวศที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำต่างๆ เช่น ระบบนิเวศในสระน้ำ
ระบบนิเวศในทะเล ระบบนิเวศในตู้ปลา
ที่มา https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/09/2/ecosystem/Pictures/x_tiy_pic.jpg
ที่มา https://old.siamfreestyle.com/images/content_images/attractions/stl/stl_att680006003.jpg
ที่มา https://www.thairath.co.th/media/content/2011/04/28/167576/hr1667/630.jpg
4. โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศจัดเป็นโครงสร้างทางชีวภาพที่มีบทบาทและความสำคัญแตกต่างกัน
แบ่งได้เป็น
4.1 ผู้ผลิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เองและถือว่าเป็นแหล่งเริ่มต้น
ของการดำรงชีวิตอยู่ภายในระบบนิเวศ ได้แก่ พืชสีเขียวที่สามารถสร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มีบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้ผลิตอาหารขั้นต้นในระบบนิเวศ
4.2 ผู้บริโภค หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยบริโภคสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหารเพื่อการดำรงชีวิต แบ่งย่อยเป็น
4.2.1 ผู้บริโภคอันดับ 1 ( สัตว์กินพืช ) เช่น หนอน ม้า กระต่าย วัว ควาย
4.2.2 ผู้บริโภคอันดับ 2 ( สัตว์กินสัตว์ ) เช่น เสือ สิงโต นกกินแมลง
4.2.3 ผู้บริโภคอันดับ 3 (สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์) คน ไก่ กิ้งก่า
4.2.4 ผู้กินซากของพืชและสัตว์ เช่น แร้ง
4.3 ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ แต่จะได้อาหารจากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ เช่น เห็ด รา และจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืชและซากสัตว์ที่ตายกลายเป็นสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชต่อไป
ประเด็นคำถาม
1.ระบบนิเวศหมายถึงอะไร
2.ระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด คืออะไร
3.การพบฝูงปลาวาฬบรูด้า ในทะเลแสดงให้เห็นสิ่งใดในระบบนิเวศ
4.โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศประกอบด้วยอะไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
ควรมีการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดำรงชีวิตของปลาวาฬบรูด้า
ควรมีการสำรวจระบบนิเวศในท้องถิ่น
บูรณาการกับสาระวิชาอื่น
1.วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนเรียงความเรื่องระบบนิเวศ
2.วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับระบบนิเวศ
3.วิชาสังคมศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศ
อ้างอิงแหล่งที่มา
https://www.newswit.com/gen/2011-04-28/85b9d79fe5e8579a2c8107f117570599/
https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/26/2/ecology/content/ecosystem1.html
https://www.mintmint-ny.ob.tc/view.jpg
https://www.school.net.th/library/snet6/envi5/chumchon/sa2.gif
https://www.skoolbuz.com/content_images/200911/images/biology/forest/157128.jpg
https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/09/2/ecosystem/Pictures/x_tiy_pic.jpg
https://old.siamfreestyle.com/images/content_images/attractions/stl/stl_att680006003.jpg
https://www.thairath.co.th/media/content/2011/04/28/167576/hr1667/630.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3749