ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?


1,093 ผู้ชม


ไส้เดือนดิน: สิ่งมีชีวิตชนิดนี้เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยในธรรมชาติของระบบนิเวศ   

         จุฬาฯ เปิดตัวไส้เดือนดินไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลก
 
  ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?

ที่มา   : ผู้จัดการออนไลน์
https://pics.manager.co.th/Thumbnails/ 554000005744810.JPEG

 ศ.ดร.สมศักดิ์  ปัญหา นักอนุกรมวิธานจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเปิดตัวไส้เดือนไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลก
หลังจากไม่พบรายงานชนิดใหม่มานานกว่า 70 ปีมาแล้ว นับเป็นจุดเริ่มต้นของงานอนุกรมวิธานไส้เดือนของไทยที่ห่างหายไป นาน  การค้นพบไส้เดือนดินชนิดใหม่ในครั้งนี้ พบที่จังหวัดน่าน ชี้สิ่งมีชีวิตชนิดนี้เป็นโรงงานผลิตปุ๋ยในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินและย่อยสลายซากอินทรียวัตถุต่างๆ  จึงเท่ากับเป็นการพรวนดินและสร้างอินทรีย์ สารให้กับดิน ทำให้ดินร่วนซุย เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช  ไส้เดือนที่ค้นพบส่วนใหญ่จัดอยู่ในวงศ์ Megascolecidae คือ Amynthas alexandri, Metaphire anomala, M. houlleti, M. peguana (ไส้เดือนขี้ตาแร่) และ M. posthuma (ไส้เดือนขี้ คู้)   
 ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤษภาคม 2554
 https://www.manager.co.th/Science

          ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?
        รูปภาพที่ 1  ไส้เดือนดินชนิดใหม่จากการค้นพบที่จังหวัด น่าน

ที่มา:ผู้จัดการออนไลน์
        https://pics.manager.co.th/Thumbnails/ 554000005744807.JPEG


ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?

        รูปภาพที่ 1  ไส้เดือนดินชนิดใหม่จากการค้นพบที่จังหวัดน่าน 
ที่มา:ผู้จัดการออนไลน์
       https://pics.manager.co.th/Thumbnails/ 554000005744808.JPEG

       ประเด็นจากข่าวเพื่อเข้าสู่บทเรียน
จากประเด็นข่าวดังกล่าวจะเห้นได้ว่าไส้เดือนดินมีความสำคัญกับระบบนิเวศซึ่งทำ ให้ระบบนิเวศมีความสมดุล

       สาระการเรียนรู้เรื่องระบบ นิเวศ    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    สำหรับระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3   และทุกระดับชั้น รวมทั้ง ผู้สนใจทั่วไป
       สาระที่  2  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
              มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียน รู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
             มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้อง ถิ่น
 ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
       สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา 
รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบได้ 
ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กัน
 

        ระบบนิเวศ ตอนที่ 1

        ระบบนิเวศ  คืออะไร

1.  ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem)
         ระบบนิเวศ หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด  ที่ อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน 
 มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ด้วย  
ซึ่งระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต  และแหล่งที่อยู่อาศัย        
       

ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?

        รูปภาพที่ 2 ระบบนิเวศ
ที่มา:https://3.bp.blogspot.com/_J2_yKSCSOlk/TLvzUfG0K5I/AAAAAAAAAJ0/AIJM9LvypDw/s200/images.jpeg

 
        ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?

        รูปภาพที่ 3 ระบบนิเวศ
ที่มา: https://t1.gstatic.com/images? q=tbn:ANd9GcQZGC048djVcl83LDlMGamX1f4eZKnJjO5bALAAldLiYzyOi4ViSA

       
 ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?
     รูปภาพที่4   แสดงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ  
 ที่มา :https://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/04- 1.JPG 

        

2.  องค์ประกอบของระบบนิเวศ (ecosystem component)
การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ สามารถแยกได้หลายอย่างขึ้นกับเกณฑ์ที่ใช้
เช่นแบ่งตามตามหน้าที่ในระบบ ได้แก่พวกที่สร้างอาหารได้เอง (autotroph) และสิ่งมีชีวิตได้รับอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotroph) 
แต่ทั่วไปจะจำแนกองค์ประกอบเป็นองค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic) และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic)ดังนี้ 

         1. องค์ประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่
              1.1 ผู้ผลิต (producer or autotrophic) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้ จากสารอนินทรีย์ ส่วนมากจะเป็นพืชที่มีคลอโรฟิลล์
              1.2 ผู้บริโภค (consumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (heterotroph) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร 
             1.3 ผู้ย่อยสลายซาก (decomposer or  microconsumer) ได้แก่สิ่งมีชีวิตขนาด เล็กที่สร้างอาหารเองไม่ได้
 เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา (fungi) และแอกทีโนมัยซีท (actinomycete)   ทำหน้าที่ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ ตายแล้วในรูปของสารประกอบโมเลกุลใหญ่
ให้กลายเป็นสารประกอบโมเลกุลเล็กในรูปของสารอาหาร (nutrients) เพื่อให้ผู้ผลิตนำไปใช้ได้ใหม่อีก

ใครคือผู้สร้างปุ๋ยของระบบนิเวศ?
รูปภาพที่ 6 ไส้เดือนดินผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์
ที่มา:  https://www.bankaset.com/wp-content/uploads/2009/09/20070617165120-300x224.jpg 

2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component) ได้แก่
                2.1 สารอนินทรีย์ (inorganic substances) ประกอบด้วยแร่ธาตุและสารอนินทรีย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในเซลล์สิ่งมีชีวิต
 เช่น คาร์บอน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำเป็นต้น สารเหล่านี้มีการหมุนเวียนใช้ในระบบนิเวศ เรียกว่า วัฏจักร ของสารเคมีธรณีชีวะ (biogeochemical cycle)  
               2.2 สารอินทรีย์ (organic compound) ได้แก่สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิต เช่นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยทับถมกันในดิน (humus) เป็นต้น
              2.3 สภาพภูมิอากาศ (climate regime) ได้แก่ปัจจัยทางกายภาพที่มี อิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น อากาศ และพื้นผิวที่อยู่อาศัย (substrate) 
ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยจำกัด (limiting factors)


ที่มา :     1. https://psc.pbru.ac.th/lesson/index-ecosystem.html, 
                2. https://th.wikipedia.org/wiki

         ประเด็นคำถาม
1. ไส้เดือนดินไทยแท้ 5 ชนิดใหม่ของโลกค้นพบที่ไหน
2. ระบบนิเวศ หมายถึงอะไร
3. องค์ประกอบของระบบนิเวศมีอะไรบ้างและมนุษย์เราจัดเป็นองค์ประกอบประภทใด 
4. ทำไมไส้เดือนดินจึงได้ชื่อว่าเป็น “โรงงานผลิตปุ๋ยในธรรมชาติ”
5. ไส้เดือนดินมีความสำคัญกับระบบนิเวศอย่างไร

        กิจกรรมเสนอแนะ 
1. การเขียนเรียงความเรื่องระบบนิเวศที่บ้านฉัน  
2.  การสืบค้นข้อมูลเรื่องไส้เดือนดินเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
3.  ค้นคว้าและนำเสนอแนวทางในการใช้ประโยชน์ของไส้เดือนดินในชีวิตประจำวัน


       การบูรณาการ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  : การเขียนเรียงความ บท ความ   และและบทร้อยกรองเรื่องระบบนิเวศ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  :  การทำแผ่นพับและโปรแกรมนำเสนอเรื่อง ไส้เดือนดิน ,การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดินผลิตปุ๋ยอินทรีย์
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ :  การวาดภาพระบบนิเวศใน โรงเรียนของฉันหรือการแต่งเพลงเกี่ยวกับระบบนิเวศ     
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  : การอ่านการเขียนคำ ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและไส้เดือนดิน

       อ้างอิง
1. https://www.manager.co.th/Science
2 https://pics.manager.co.th/Thumbnails/554000005744810.JPEG
3.https://pics.manager.co.th/Thumbnails/554000005744807.JPEG 
4. https://pics.manager.co.th/Thumbnails/554000005744808.JPEG
5.  https://3.bp.blogspot.com/_J2_yKSCSOlk/TLvzUfG0K5I/AAAAAAAAAJ0/AIJM9LvypDw/s200/images.jpeg
6. https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQZGC048djVcl83LDlMGamX1f4eZKnJjO5bALAAldLiYzyOi4ViSA
7.  https://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/04-1.JPG
8. https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTTQlNl9LdcG0_hz-
9 .https://psc.pbru.ac.th/lesson/index-ecosystem.html, 
10. https://th.wikipedia.org/wiki
11. https://youtu.be/Ie23UWQVvXM
12.  https://www.bankaset.com/wp-content/uploads/2009/09/20070617165120-300x224.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3752

อัพเดทล่าสุด