คาร์บอน ฟุตพริ้นท์


847 ผู้ชม


การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   

คาร์บอน ฟุตพริ้นท์  กับการลดปริมาณการปล่อยกาซเรือนกระจก  ต้นเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน

            คาร์บอน ฟุตพริ้นท์

            ที่มาภาพ:  https://cpfshe.cpportal.net/Portals/0/journal/j09-07.png

 

                

 เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 2  ชีวิตกับสื่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2  เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น
ประเทศ   และโลก  นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
           คาร์บอนฟุตพริ้นท์   คือ การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก   จากกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฎจักรชีวิต ( Product  Life  Cycle  )ตั้งแต่เริ่มจัดหาวัตถุดิบที่ไปแปรรูป ผลิต จัดจำหน่าย  การใช้งาน  ตลอดจนการจัดการหลังจากผลืตภัณฑ์นั้นๆหมดสภาพการใช้งานแล้ว
 
        ฉลากคาร์บอน คืออะไร  
คาร์บอน ฟุตพริ้นท์

    ที่มาภาพ www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2009/12/lif08081252p1.jpg
 
“ ฉลากคาร์บอน ( Carbon Reduction Label ) หมายถึง ฉลากแสดงข้อมูล คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือปริมาณการปลอดปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยตลอดวัฏจักรของผลิตภัณฑ์และบริการ ( Life Cycle greenhouse gas emissions  of goods and service ) ครอบคลุมการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การแปรรูป วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งไปยังร้านค้าปลีก การใช้และการกำจัดขั้นสุดท้าย  การแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ สามารถทำได้โดยการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ รวมทั้งการแสดงข้อมูล ณ จุดขาย ในรายงานประจำปี แผ่นพับ บัญชีรายชื่อสินค้า หรือบนเว็บไซด์ ”
 
 
                การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์      จะใช้“ การประเมินวัฏจักรชีวิต ” ( Life Cycle Assessment : LCA )  ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการประเมินศักยภาพการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ( Climate Change Potential ) อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งแก๊สเรือนกระจกอื่นๆ โดยตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์และบริการ แสดงผลในเชิงปริมาณ คือ เทียบเท่ากับศักยภาพการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็น กิโลกรัม ( kg CO2 equivalent )   
โดยในประเทศอังกฤษได้พัฒนามาตรฐานการวิเคราะห์ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่เรียกว่า   PAS 2050:2008 - Specification for the assessment of the life cycle greenhouse gas emissions of goods and services โดย British Standards Institution ( BSI ) , Defra ( Department for Environment, Food and Rural Affairs ) และ Carbon Trust        ซึ่งคาดว่าจะเป็นที่ยอมรับ ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และระดับสากล
               ซึ่ง แนวคิดฉลากคาร์บอน ได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้ค้าปลีก นำไปสู่นโยบายการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากคาร์บอน โดยคาดหวังว่าผู้บริโภคจะใช้ข้อมูลจากฉลากคาร์บอน ในการพิจารณาตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ ที่มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่า  เพื่อแสดงความตระหนักและความร่วมมือของผู้บริโภคสินค้าว่าเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยรณรงค์ในการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิตพัฒนาการออกแบบสินค้าโดยคำนึงถึงปริมาณ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตลอดวัฏจักรผลิตภัณฑ์ของชีวิต
                การส่งเสริมการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ในผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ที่ ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้พิจารณาประกอบในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ นั้นๆ อันจะเป็นการยกระดับการพัฒนาของผู้ประกอบการในการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ ให้ผู้บริโภคได้มีสิทธิ์เลือกใช้มากขึ้น เป็นการรับผิดชอบต่อสังคมและรับผิดชอบต่อโลกร่วมกันได้อีกทางหนึ่ง 
               ที่มาของการจัดทำคาร์บอนฟรุตพริ้นท์   ส่วนหนึ่งมาจากพิธีสารโตเกียว (Kyoto Proyocol )  ซึ่งประเทศสมาชิกวางเป้าหมายจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  (   Greenhouse  Gases Emission)
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเพิ่มอุณหภูมืโลกลง ให้ได้ร้อยละ 5.2    ระหว่างปี   2551  - 2555
           “ก๊าซเรือนกระจก ตามที่ระบุในพิธีสารเกียวโต มี 6 ตัว ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), มีเทน (CH4), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6), ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) และ เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ดังนั้น เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่ติดบนสินค้าต่างๆ นั้น เป็นการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่า ไหร่ เช่นปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) ของเสื้อยืดผ้าฝ้าย 100% ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนฟุตพริ้นท์) ของข้าวหอมมะลิบรรจุถุง เป็นต้น โดยขณะนี้ในหลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น และมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ด้วย แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการบังคับใช้ฉลากชนิดนี้ในรูปแบบของกฏหมาย แต่ในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกบังคับจากคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม”       อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ดำเนินโครงการนำร่องการใช้เครื่องหมาย คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์มาตั้งแต่ต้นปี 2552 และมีการรับรองผลิตภัณฑ์กลุ่มแรก อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2552 จนถึงขณะนี้ มี 63 ผลิตภัณฑ์ จาก 25 บริษัท ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์แล้ว และขณะนี้มีอีกกว่า 50 บริษัท/องค์กร ที่สนใจจะประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ และขอรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์สำหรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีทั้งผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ไนลอน ถุงยางอนามัย กระเบื้อง เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งแต่ละบริษัท/องค์กรก็มีเหตุผลความจำเป็นที่แตกต่างกัน เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีขีดความสามารถที่สูงขึ้น ส่งสินค้าไปยังประเทศคู่ค้าทั่วโลกได้ตามเงื่อนไขต่อไป

        แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 ?C (872 ?F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv
คำถามชวนคิด
1. คาร์บอน ฟุตพริ้นท์  คืออะไร
2. ฉลากคาร์บอน คืออะไร
3. ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร
4. พิธีสารโตเกียวเป็นการลงนามเกี่ยวกับเรื่องอะไร
กิจกรรมเสนอแนะ  
1.ให้นักเรียนสืบค้นชื่อสินค้าที่มี ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์
2.  ให้นักเรียนไปสมัครร่วมกิจกรรมร่วมลดคาร์บอน 84  ล้านกิโลกรัม กับเวปไซต์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(
จากกิจกรรมร่วมลดคาร์บอน  84  ล้านกิโลกรัม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา  84  พรรษา  วันที่   5  ธันวาคม  2554  ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม )
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย    การเขียนคำขวัญเกี่ยวกับการช่วยกันลดคาร์บอน
กลุ่มสาระสังคมศึกษา    การสืบค้นข้อมูลทำรายงานเกี่ยวกับพิธีสารเกียวโต
กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ   การค้นหาคำศัพท์เกียวกับเรื่องคารืบอน ฟุตพริ้นท์
กลุ่มสาระศิลปะ   การวาดรูปปรากฏการณ์เรือนกระจก
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์  การคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนของนักเรียน
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.deqp.go.th/index
 https://www.CarbonLabelThaiFood.sci.ku.ac.th/
https://www.manager.co.th/Science/viewbrowse.aspx?browsenews
 https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.tgo.or.th/index.php

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3754

อัพเดทล่าสุด