รอพิสูจน์ดาวศุกร์เคียงพฤหัส 12 พฤษภาคม


802 ผู้ชม


นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติบนฟากฟ้าที่น่าติดตามอย่างยิ่งในเช้ามืดวันที่ 12 พฤษภาคมนี้   

รอพิสูจน์ดาวศุกร์เคียงพฤหัส 12 พฤษภาคม 
https://hilight.kapook.com/img_cms2/news3/shutterstock_15992326.jpg
สาระที่  ๗   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน   ว ๗.๑  เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ  กาแล็กซีและเอกภพ  การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
        นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติบนฟากฟ้าที่น่าติดตามอย่างยิ่งในเช้ามืดวันที่ 12 พฤษภาคมนี้
        "เช้าวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า เวลา 5 นาฬิกา 51นาที ขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวพุธ  อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันออก 21 องศา  ปรากฏการณ์ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่สามารถสังเกตได้เช้ามืดของ สามวัน คือ วันที่  11,12,13, พฤษภาคม แต่เฉพาะวันที่ 12 พฤษภาคม ดาวศุกร์ใกล้ดาวพฤหัสมากที่สุด จึงน่าติดตามชมเป็นอย่างยิ่ง วิธีสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากปรากฏการณ์ ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสเกิดขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศตะวันออกอยุ่ต่ำมาก สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้สังเกตการณ์ ต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จึงจะพอสังเกตได้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวและเมฆฝนที่มีมากในฤดูนี้ ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ของดาวพฤหัสบดี RA 1 h 33.669m DEC 8 องศา 36 ลิปดา 18 ฟิลิปดา ดาวศุกร์ RA 1 h 35.616m DEC 8 องศา 11ลิปดา 09ฟิลิปดา ดาวพุธ RA 1 h 36.979m DEC 6 องศา 39ลิปดา 16ฟิลิปดา ดาวอังคาร RA 1 h 54.34m DEC 11 องศา 3ลิปดา 08 ฟิลิปดา 1 องศา เท่ากับ 60 ลิปดา 1 ลิปดา เท่ากับ 60 ฟิลิปดา"นายวรวิทย์ กล่าว
        ปรากฏการณ์หาดูไม่ง่าย พร้อมการชุมนุมของดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธและดาวอังคาร บนท้องฟ้าตอนเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค. วิธีสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสเกิดขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศตะวันออกอยู่ต่ำมาก สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้สังเกตการณ์ ต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จึงจะพอสังเกตได้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวและเมฆฝนที่มีมากในฤดูนี้


  

รอพิสูจน์ดาวศุกร์เคียงพฤหัส 12 พฤษภาคม 


 ที่มา : รูปภาพ   https://pics.manager.co.th/Thumbnails/554000005664702.JPEG


รอพิสูจน์ดาวศุกร์เคียงพฤหัส 12 พฤษภาคม


ที่มา : รูปภาพ   https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/img/merven/20080202venjup.jpg

ที่มา : รูปภาพ  https://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/01/X10189945/X10189945-6.jpg


ที่มา : รูปภาพ  https://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/01/X10189945/X10189945-0.jpg

ประเด็นคำถามชวนคิด
1. ก่อนนั้นเคยเกิดการเรียง
ตัวดาวเคราะห์ลักษณะนี้หรือไม่และจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไรในอนาคต
2. การเกิดการเรียงตัวดาวเคราะห์ลักษณะนี้มีอิทธิพลอะไรกับโลกเราหรือไม่
กิจกรรมเสนอแนะ 
1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับจักรวาล และอวกาศ
2. ค้นคว้าเกี่ยวกับอิทธิพลของดางดาวที่มีต่อโลก
การบูรณาการ
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การคำนวณการโคจรของดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาล 
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล

การนำเสนอข้อมูล
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การเขียนย่อความ การสรุปความของข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า
ขอขอบคุณ 
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
https://pics.manager.co.th/Images/554000005664701.JPEG
https://pics.manager.co.th/Thumbnails/554000005664702.JPEG
https://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/planets/img/merven/20080202venjup.jpg
https://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/01/X10189945/X10189945-6.jpg
https://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2011/01/X10189945/X10189945-0.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3804

อัพเดทล่าสุด