https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์ MUSLIMTHAIPOST

 

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์


717 ผู้ชม


ดาวศุกร์” เคียง “ดาวพฤหัส” ปรากฏการณ์หาดูไม่ง่าย พร้อมการชุมนุมของดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธและดาวอังคาร บนท้องฟ้าตอนเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค.   

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพ  https://pics.manager.co.th/Images/554000006048801.JPEG

               ปราชญ์ชาวบ้านชวนดู “ดาวศุกร์” เคียง “ดาวพฤหัส” ปรากฏการณ์หาดูไม่ง่าย พร้อมการชุมนุมของดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธและดาวอังคาร บนท้องฟ้าตอนเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค.
       
       วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ชาวบ้านจาก จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสในเช้ามืดวันที่ 12 พ.ค. ซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากนี้ยังได้เห็นดาวเคราะห์อีก 2 ดวงคือ ดาวพุธ และดาวอังคาร โดยมีรายละเอียดของปรากฏการณ์ ดังนี้
       
       เช้ามืดวันที่ 12 พ.ค.2554 ทางขอบฟ้าทิศตะวันออก จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้มากห่างเพียง 37 ลิปดา 51 ฟิลิปดา และยังมีดาวพุธอยู่ในกลุ่มด้วยโดยดาวพุธอยู่ใกล้ดาวศุกร์ในระยะ 1 องศา 30 ลิปดา 08 ฟิลิปดา และอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในระยะ 2 องศา 3 ลิปดา 13 ฟิลิปดา
       
       ดาวเคราะห์ 3 ดวงที่จะเกาะกลุ่มขึ้นจากขอบฟ้าใกล้เคียงกัน โดยดาวพฤหัสบดีขึ้นจากขอบฟ้าก่อนเวลา 04.21 น.ด้วยความสว่าง -2.07 อยู่ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) ตามมาด้วยดาวศุกร์ซึ่งขึ้นพ้นขอบฟ้าเป็นดวงที่สอง เวลา 04.24 น.ด้วยความสว่าง -3.89 อยู่ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) ส่วนดาวพุธขึ้นพ้นขอบฟ้าเป็นดวงที่สาม เวลา 04.26 น. ด้วยความสว่าง 0.30 อยู่ในกลุ่มดาวปลา (Pisces) เช่นกัน
        
       ต่อมาเวลา 04.40 น. ดาวเคราะห์ดวงที่ 4 ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าคือดาวอังคาร ก็ขึ้นตามมา ด้วยความสว่าง 1.27 อยู่ในกลุ่มดาวแกะ (Aries) โดยดาวอังคารอยู่ห่างดาวศุกร์ 5 องศา 25 ลิปดา 10 ฟิลิปดา ดาวอังคารอยู่ห่างดาวพฤหัส 5 องศา 38 ลิปดา 49 ฟิลิปดา ดาวอังคารอยู่ห่างดาวพุธ 6 องศา 5 ลิปดา 36 ฟิลิปดา
       
       นอกจากดาวเคราะห์ทั้ง 4 ดวงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยังมีดาวเคราะห์ดวงที่ 5 ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวปลาด้วยนั่นคือดาวยูเรนัสซึ่งขึ้นจากขอบฟ้ามาก่อนแล้ว โดยอยู่สูงเหนือดาวพฤหัสบดี 21 องศา 55 ลิปดา 2 ฟิลิปดา
       
       “เช้าวันที่ 12 พ.ค.2554 ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า เวลา 05.51 น. ขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า ดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดาวพุธ อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันออก 21 องศา ปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดีไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่สามารถสังเกตได้เช้ามืดของ สามวัน คือ วันที่ 11, 12 และ 13 พ.ค แต่วันที่ 12 พ.ค. ดาวศุกร์ใกล้ดาวพฤหัสมากที่สุด จึงน่าติดตามชมเป็นอย่างยิ่ง” วรวิทย์ให้ข้อมูล
       
       ปราชญ์ชาวบ้านจากฉะเชิงเทรากล่าวว่า วิธีสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสเกิดขึ้นที่สุดขอบฟ้าทิศตะวันออกอยู่ต่ำมาก สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ผู้สังเกตการณ์ ต้องหาที่โล่ง หรือที่สูงไม่มีอาคารบัง จึงจะพอสังเกตได้ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้ก็คือฟ้าหลัวและเมฆฝนที่มีมากในฤดูนี้


ที่มาข่าว https://www.manager.co.th/Science/default.html


จากข่าวนี้ จะนำไปสู่การศึกษาเรื่องดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล
เนื้อหานี้เหมาะสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     ระดับชั้น ม. 4 
 ช่วงชั้นที่ 4  และผู้สนใจทั่วไป

มาตรฐานที่7.1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี และเอกภพ 
การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพ https://www.bantan.ac.th/blog/wp-content/uploads/2009/06/4561.jpg 


                ดาวเคราะห์   (ในภาษากรีก ใช้คำว่า planetes หรือ "ผู้พเนจร") คือ วัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 9 ดวง (ปัจจุบัน 8 ดวง) ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ หมายถึง โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ 
ทฤษฎีที่ได้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวไว้ว่า ดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นมาจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ตรงใจกลาง ดาวเคราะห์นั้นไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ที่เราสามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์ และเราสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างเช่นดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน แต่มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่เราสามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนโดยใช้กล้องโทรทรรศน์


นิยามของดาวเคราะห์
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติร่วมกันในการกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้ 
- ไม่ใช่ดาวฤกษ์ 
- ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร 
- มีแรงดึงดูดมากพอ ที่จะทำให้โครงสร้างของดาวเป็นทรงกลม 
- เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์ 
- มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร) 
             นิยามใหม่ของดาวเคราะห์นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
รายชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
(เรียงตามระยะห่างจากดวงอาทิตย์)
> ดาวพุธ 
> ดาวศุกร์
> โลก
> ดาวอังคาร
> ดาวพฤหัสบดี
> ดาวเสาร์
> ดาวยูเรนัส
> ดาวเนปจูน 
                                                                             ดาวศุกร์

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพ  https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/51/Venus-real.jpg/200px-Venus-real.jpg


             ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุดสำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"
ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์

                                                                                 ดาวพฤหัส

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพhttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e2/Jupiter.jpg/200px-Jupiter.jpg

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน
                                                                               ดาวพุธ

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพ https://chanyanit2424.files.wordpress.com/2011/01/mercury11.jpg

       ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดของระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 88 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ดวงอาทิตย์ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ จึงสังเกตได้ไม่ง่ายนักด้วยกล้องโทรทรรศน์ ขณะทำมุมห่างมากที่สุดจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28.3° ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้ คือ ยานมาริเนอร์ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974-1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น
ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวใกล้เคียงกับดวงจันทร์มาก มีพื้นผิวขรุขระเนื่องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวารรวมทั้งไม่มีแรงโน้มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้นบรรยากาศ ข้อแตกต่างประการเดียวระหว่างดวงจันทร์และดาวพุธคือ ดาวพุธมีแกนกลางเป็นเหล็กขนาดใหญ่ จึงทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลกล้อมรอบดาวพุธไว้
ชื่อละตินของดาวพุธ (Mercury) มาจากคำเต็มว่า Mercurius เทพนำสารของพระเจ้า สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เป็นรูปคทาของเทพเจ้าเมอคิวรี ก่อนศตวรรษที่ 5 ดาวพุธมีสองชื่อ คือ เฮอร์เมส เมื่อปรากฏในเวลาหัวค่ำ และอพอลโล เมื่อปรากฏในเวลาเช้ามืด เชื่อว่าพีทาโกรัสเป็นคนแรกที่ระบุว่าทั้งสองเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน

                                                                          ดาวอังคาร

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพ https://1.bp.blogspot.com/_rEAvpKMgKzU/TQtBgk8p6QI/AAAAAAAAACo/fY7W4UcW4uQ/s1600/1-200_21.jpg

                ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน
ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพ์ลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร[3][4] นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือคาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล
 

ดาวยูเรนัส

พบกับปรากฏการณ์ชุมนุมของดาวเคราะห์

ที่มาภาพ https://www.thaigoodview.com/files/u19930/uranus.jpg

           ดาวยูเรนัส (หรือ มฤตยู) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบสุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3. ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Ouranos ของกรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ  หรือ  (ส่วนใหญ่ใช้ในดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวนจางๆโดยรอบ
และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้งวงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน
  คำถามชวนคิด
1.ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีกี่ดวง  และมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง
2.ระหว่างดาวพุธ  พฤหัส  ศุกร์   ดาวเคราะห์ดวงใดอยู่ใกล้โลกมากที่สุด และดาวเคราะห์ดวงใดอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
    มากที่สุด
3.ดาวเคราะห์ดวงใดบ้างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  ในวันที่ 12  พฤษภาคม  2554  
4.ในวันที่    12  พฤษภาคม  2554    จะเกิดปรากฎการณ์ที่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ในตำแหน่งใด
    บนท้องฟ้า
5.ในวันที่ 12  พฤษภาคม  2554  จะเห็นดาวเคราะห์บนท้องฟ้า  ทั้งหมดกี่ดวง  และมีชื่ออะไรบ้าง


กิจกรรมเสนอแนะ
1.จัดฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับกำเนิดระบบสุริยะ
2.ให้นักเรียนบันทึกเหตุการณ์หรือข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันที่   12  พฤษภาคม   2554
และเขียนเป็นรายงานส่ง


การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
สาระคณิตศาสตร์  การคำนวณระยะห่างของดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะกับโลกและดวงอาทิตย์
สาระภาษาไทย  แต่งเรียงความเรื่องเกี่ยวกับดวงดาว
สาระสังคมศึกษา  ศึกษากำเนิดระบบสุริยะ
สาระศิลปะ   วาดรูปดวงดาวในระบบสุริยะ
สาระภาษาอังกฤษ   ศึกษาคำศัพท์เกี่ยวกับชื่อภาษาอังกฤษของดาวเคราะห์

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.manager.co.th/Science/default.html
https://www.thaigoodview.com/gallery1
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/51/Venus-real.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e2/Jupiter.jpg/200px-Jupiter.jpg
 https://hilight.kapook.com/imghilight1
https://t2.gstatic.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3853

อัพเดทล่าสุด