ใส่หูฟังเพลงเสี่ยง! หูดับ


956 ผู้ชม


อันตรายที่เกิดจากการฟังเสียงดังมากๆ   

ใส่หูฟังเพลงเสี่ยง! หูดับ

                                                           มาของภาพ :

ใส่หูฟังเพลงเสี่ยง! หูดับ
      คนที่ชอบใส่หูฟัง เปิดเพลงเสียงดังหรืออยู่ในที่มีเสียงดังเป็นประจำ เสี่ยงเป็นโรคหูดับ อาการมีทั้งเป็นชั่วคราวและถาวรโรคหูดับหรือชื่อภาษา อังกฤษว่า Sudden Hearing Loss (SHL) คือภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โดยผู้เป็นโรคหูดับจะมีอาการหูได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นข้างเดียว


ที่มาของข่าว : https://www.healthdee.com/news/326.html
กลุ่มสาระการเรียนรู้  วิทยาศาสตร์ ชั้น ป.๕
หน่วยที่ ๔   พลังงาน

มฐ. ว ๕.๑
สาระการเรียนรู้   อันตรายที่เกิดจากการฟังเสียงดังมากๆ
      เสียงที่เราได้ยินทุกวันนี้ ช่วยให้เราดำเนินกิจกรรมและแสวงหาความเพลิดเพลินในชีวิต เสียงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดเสียงในระดับต่าง ๆ กัน อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ใส่หูฟังเพลงเสี่ยง! หูดับ

  
ที่มาของภาพ :

                                                                           ข้อมูลเกี่ยวกับเสียง

ใส่หูฟังเพลงเสี่ยง! หูดับ

ที่มาของภาพ :

ก. กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดมาตรฐานของระดับเสียงในสถานประกอบการต่าง ๆ ไว้ดังนี้คือ
1. ได้รับเสียงไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงติดต่อกันไม่เกิน 91 เดซิเบล(เอ)
2. ได้รับเสียงวันละ 7-8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 90 เดซิเบล(เอ)
3. ได้รับเสียงเกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียง ติดต่อกันไม่เกิน 80 เดซิเบล(เอ)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่ ๆ มีระดับเสียงเกิน 140 เดซิเบล(เอ) ไม่ได้

ข. องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล(เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์
      * เดซิเบลเอม dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของหูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป
      เสียงที่เป็นอันตราย องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า เสียงที่เป็นอันตราย หมายถึง เสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบลเอที่ทุกความถี่ ส่วนใหญ่พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมมีระดับเสียงที่ดังเกินมากกว่า 85 เดซิเบลเอ เป็นจำนวนมากซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ

ผลเสียของเสียงที่มีต่อสภาพร่างกายและจิตใจ 
1. ทำให้เกิดความรำคาญ รู้สึกหงุดหงิดไม่สบายใจ เกิดความเคลียดทางประสาท 
2. รบกวนต่อการพักผ่อนนอนหลับ และการติดต่อสื่อสาร 
3. ทำให้ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และถ้าเสียงดังมากอาจทำให้ทำงานผิดพลาด หรือเชื่องช้าจนเกิดอุบัติเหตุได้ 
4. มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ความเครียด อาจก่อให้เกิดอาการป่วยทางกาย เช่น โรคกระเพาะ โรคความดันสูง
5. การได้รับฟังเสียงดังเกินกว่ากำหนดเป็นระยะนานเกินไปอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจเป็นอย่างชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

         ใครที่มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ความสามารถการได้ยินลดลง แถมยังทำงานอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง หรือชอบเปิดเครื่องเล่น MP 3 เสียงดัง ๆ บ่อย ๆ เท่ากับว่า คุณกำลังเสี่ยงกับอาการ หูดับ อยู่ค่ะ แล้วอาการ หูดับ คืออะไร เราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้วยหรือไม่ วันนี้มีข้อมูลเรื่อง หูดับ มาฝากกัน

 อาการของ โรคหูดับ
          จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย

 กลุ่มเสี่ยง โรคหูดับ
          โรคหูดับ เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชาย และเพศหญิง มักเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังมาก ๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง ที่ต้องทำงานในสถานที่เสียงดัง รวมทั้งวัยรุ่น วัยทำงานที่ชอบฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดัง ๆ

การบูรณาการกับสาระอื่น
ภาษาไทย   อภิปราย  บอกผลเสียและเสนอแนะวิธีป้องกัน
ศิลปะ  เขียนแผนผังแสดงขั้นตอนการได้ยิน   
การงานฯ สำรวจ/ศึกษาเสียงต่างๆ ที่ระดับเสียงมากกว่า  ๘๐  เดซิเบล   
ศิลปะ ออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับเสียง

กิจกรรมเสนอแนะ
 1. ควรหาเวลาว่างนั่งสมาธิอยู่กับตัวเองเงียบๆ วันละครั้ง
2. ควรฟังเพลงบรรเลงเพราะๆ ฟังแล้วผ่อนคลายทั้งกายใจ

 แนะนำสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
1.https://www.envocc.org/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=5
2.https://oshthai.org/index.php?option=com_linkcontent&Itemid=68&sectionid=22&pid=60.376&task=detail&detail_id=745&lang=th  

แนะนำเพลงสบายๆ คลายเครียด

  
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3875

อัพเดทล่าสุด