“ดาวเรียงตัว”จะสร้าง “หายนะรุนแรง” ต่อมนุษยชาติจริงหรือ ??


910 ผู้ชม


การเกิดทิศและปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว   

 

“ดาวเรียงตัว”จะสร้าง “หายนะรุนแรง” ต่อมนุษยชาติจริงหรือ ??

                                                      ที่มาของภาพ :

“ดาวเรียงตัว”จะสร้าง “หายนะรุนแรง” ต่อมนุษยชาติจริงหรือ ??


ที่มาของข่าว  :msn.ข่าว https://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=331076&ch=hn


ดาราศาสตร์และอวกาศ
มฐ.
 ว ๗.๑
สาระการเรียนรู้     การเกิดทิศและปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว

                  เรื่องของ “ดวงดาว” ก็ยังคงมี “ปริศนา” อยู่อีกมากมาย และปริศนาเหล่านี้บ่อยครั้งที่ “สร้างความตื่นกลัว” ทั้งโดยผู้ที่ตั้งใจปล่อยข่าว และโดยการ “เล่าลือ” ต่อ ๆ กันไป  กับการเล่าลือล่าสุด ซึ่งมีการโพสต์ข้อความส่งต่อกันไปในอินเทอร์เน็ต ก็เช่น... วันที่ 8 มิ.ย. 2553 ดวงดาวในระบบสุริยะ คือ ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดี จะโคจร “เรียงตัวกัน” และประมาณวันที่ 12 มิ.ย. 2553 ดาวโลก ดาวพฤหัส ดาวยูเรนัส ก็จะเรียงตัวกัน ซึ่งก็เล่าลือกันต่อเนื่องว่าจะสร้างหายนะต่อโลก เช่น เป็นปรากฏการณ์ที่จะจุดชนวนปฏิกิริยาของดวงอาทิตย์ ส่งผลให้โลกเกิด น้ำท่วมครั้งใหญ่ แผ่นดินไหวรุนแรง อากาศแปรปรวนครั้งเลวร้าย ภูเขาไฟระเบิดไปทั่ว เลยเถิดถึงการระเบิดของรังสีแกมมา-การ “สิ้นโลก” อย่างที่เคยมีการเล่าลือว่าจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2012 หรือ พ.ศ. 2555 
    
                  ทั้งนี้ กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ “ดวงดาว” นั้น ใน “เดลินิวส์” ฉบับวันนี้ ในหน้าวาไรตี้ก็มีข้อมูลมานำเสนอ ส่วนทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็มีข้อบ่งชี้ชัด ๆ กล่าวคือ... เดือน มิ.ย. 2553 นี้ไม่มีการเกิดปรากฏการณ์ดวงดาวเรียงตัว !! จะมีก็แต่ จันทรุปราคาบางส่วน ในวันที่ 26 มิ.ย. 2553 หรือต่อให้เกิดดาวเรียงตัว ดาวเคราะห์ระบบสุริยะเรียงตัว ถามว่าจะมีผลต่อโลกหรือไม่ ? ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทยชี้ว่า... ตำแหน่งวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะปัจจุบัน แต่ละดวงอยู่ห่างกันมาก แรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงอื่นที่กระทำต่อโลกมีค่าต่ำมากจนเกือบเป็นศูนย์ ดังนั้นไม่ว่าดาวเคราะห์จะเรียงอย่างไร เป็นเส้นตรง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม กากบาท ฯลฯ ก็จะไม่ส่งผลเสียต่อโลก 
    
                นอกจากนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการจัดเสวนาเรื่อง “ตอบคำถามสังคมไทยต่อการล่มสลายของโลก” งานนี้ก็มีข้อบ่งชี้ที่เป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ โดย ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ ระบุถึงประเด็นเล่าลือเรื่องการเรียงตัวของดาวกับหายนะของโลก โดยยกตัวอย่างการเกิดแผ่นดินไหวว่า... จากการย้อนดูตำแหน่งดวงดาวในระบบสุริยจักรวาล ในวันที่โลกเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ๆ หลายครั้งที่ผ่านมา ไม่ปรากฏว่ามีการเรียงตัวของดวงดาวเลย และโดยมากมีตำแหน่งที่อยู่คนละทิศละทางกัน ดังนั้น “ข้อสันนิษฐานที่ว่าดาวเคราะห์เรียงตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้” 
    
                 ส่วนเรื่องแรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่ก็มีการลือกันด้วยว่าจะสร้างหายนะให้โลก จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ดร.สธนบอกว่า... แรงน้ำขึ้น-น้ำลงเกิดจากผลต่างของแรงดึงดูดของดวงจันทร์ต่อมวลสารบนโลกบนตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งแรงของดวงจันทร์ต่อโลกจะไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลกก็จะมีแรงดึงมาก ถ้าอยู่ไกลก็จะมีแรงดึงน้อย แรงดึงของดวงจันทร์มีน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลกถึง 10 ล้านเท่า และแรงของดวงจันทร์จะดึงได้เฉพาะที่เป็นของเหลว คือน้ำ ขณะที่โลกทั้งโลกโดยรวมถือเป็นของแข็ง “อิทธิพลของดวงจันทร์ถ้าจะทำให้โลกเกิดแผ่นดินไหวก็จะต้องดึงโลกทั้งโลกซึ่งเป็นของแข็ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้”
    
                 พร้อมกันนี้ ดร.สธนยังระบุถึงประเด็นเล่าลือเรื่องสนามแม่เหล็กโลกจะพลิกกลับขั้วจนทำให้สิ้นโลก โดยบอกว่า... การกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ โดยมีสาเหตุมาจากการไหลของกระแสโลหะหลอมเหลวที่อยู่ตรงกลางโลก และครั้งล่าสุดเกิดเมื่อกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่ง “กว่าที่สนามแม่เหล็กโลกจะกลับขั้วแต่ละครั้งจะห่างกันหลักแสนหรือหลักล้านปี ดังนั้น จะไม่กลับขั้วอีกครั้งเร็ว ๆ นี้แน่”
    
                 ด้าน ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ ภาควิชาฟิสิกส์เช่นกัน ก็บอกว่า.. ปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์กับการเกิดแผ่นดินไหวบนโลก การ “สิ้นโลก” นั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์เป็นเรื่องที่มีการเกิดขึ้นประจำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น การระเบิดจ้าบนผิวดวงอาทิตย์, ลมสุริยะ, จุดดับบนดวงอาทิตย์ ฯลฯ จะมาก-จะน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์ ซึ่งก็ไม่เคยส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อโลก 
    
                  สำหรับกรณีการระเบิดของรังสีแกมมา กับการสิ้นโลกนั้น ผศ.พงษ์อธิบายว่า... การระเบิดของรังสีแกมมาเป็นปรากฏการณ์ดวงดาว เป็นอาการหนึ่งของดวงดาวที่กำลังดับสูญ โดยจะส่งรังสีแกมมาออกมาจากซากดวงดาว ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นกับดวงดาวที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 10 เท่า ซึ่งผลจากการระเบิดของรังสีแกมมาแม้จะรุนแรงมาก แต่ โอกาสจะมีผลต่อโลกนั้นน้อยมาก เพราะถ้าจะมีผล ดวงดาวแหล่งกำเนิดต้องอยู่ไม่ไกล และมุมที่เกิดนั้นต้องส่องมายังโลกพอดี “โอกาสที่โลกจะสิ้นสูญจึงมีน้อยมาก โลกเกิดมาแล้ว 4,000 ล้านปี ยังไม่เคยโดนรังสีแกมมาแบบนี้แม้แต่ครั้งเดียว” ...ผศ.พงษ์ระบุ สรุปคือระยะนี้ยังไม่มีภัยดวงดาวที่จะทำให้ “สิ้นโลก” ภัยดวงดาวเป็นเพียง “ข่าวลือ” อย่าตื่นตระหนก !!!.


ที่มาของภาพ :https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTX-UeS05YMUUG2o_hjYMgD-

bIH9WKoN7DbiVL3DDDOR1fTtVd31A

                                          ทำไมดาวจึงขึ้น-ตก และขึ้น-ตกอย่างไร

                         ปรากฏการณ์ดาวขึ้น-ตกเป็นผลสะท้อนจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศ

ตะวัน ออก โลกกลม ๆ เมื่อหมุนรอบตัวเองจะหมุนรอบแกนที่ผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แกนที่ผ่านขั้วโลกเหนือจะชี้

ไปยังขั้วฟ้าเหนือซึ่งมีดาวเหนืออยู่ใกล้ ๆ ดังนั้น เมื่อโลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวจึงวนเป็นวงกลม รอบ

ดาวเหนือ โดยวนจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก


                    เส้นทางการขึ้น-ลงของดวงดาวทั้งหลายจะขนานกัน ในประเทศไทยดาวที่ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดีจะมี

เส้นทางขึ้น-ตกเอียงไปทางทิศใต้เล็กน้อย ทำให้จุดที่ขึ้นไปสูงสุดอยู่ทางทิศใต้ของจุดเหนือศรีษะเป็นมุมเท่ากับ ละติจูด

และคล้อยต่ำลงไปตรงจุดทิศตะวันตกพอดี รวมเวลาตั้งแต่ขึ้นถึงตกเท่ากับ 12 ชั่วโมงพอดี


                    ดาวที่ขึ้นเฉียงไปทางใต้ของจุดทิศตะวันออกเป็นมุมเท่าใด จะไปตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางทิศใต้เป็น

มุมเท่านั้นโดยจะมีเวลาอยู่เหนือขอบฟ้ายาวมากกว่า 12 ชั่วโมง โดยเส้นทางขึ้น-ตกขนานกับเส้นที่ขึ้นตรงจุดทิศ

ตะวันออก

การบูรณาการกับสาระอื่น

ภาษาไทย          อภิปราย  บอกผลเสียและเสนอแนะวิธีป้องกัน
ภาษาอังกฤษ    อ่าน เขียนคำศัพท์เกี่ยวกับดาว
ศิลปะ                   เขียนแผนผังแสดงขั้นตอนการได้ยิน   
การงานฯ            สำรวจ/ศึกษาเกี่ยวกับดวงดาว
ศิลปะ                   ออกแบบและประดิษฐ์แผนที่ดูดาว

กิจกรรมเสนอแนะ
 1. ควรหาเวลาว่างนั่งมองดวงดาวเพื่อสังเกตุดูดาวบนท้องฟ้า
2. ควรฟังเพลงบรรเลงเพราะๆ ฟังแล้วผ่อนคลายทั้งกายใจ

แบบทดสอบ
1.ถ้าต้องการศึกษาดวงดาวบนท้องฟ้าจะใช้เครื่องมือชนิดใด
    ก.กล้องปริทรรศน์
    ข.กล้องโทรทรรศน์
    ค.กล้องสลับลาย
    ง.กล้องจุลทรรศน์
2.ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดกลางวันและกลางคืน
   ก.ดวงจันทร์หมุนรอบโลก 
   ข.โลกหมุนรอบดวงจันทร์
   ค.โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 
   ง.โลกหมุนรอบตัวเอง
3.โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่าใด
   ก.1 ปี ข. 1 เดือน
   ค.1 สัปดาห์ ง. 1 วัน
4.การที่รู้ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลาเท่าใดนั้น คิดมาจากข้อใด
   ก.การเกิดข้างขึ้นข้างแรม
   ข.การเกิดฤดูกาล
   ค.การมีวันขึ้นปีใหม่ 
   ง.การเกิดกลางวันและกลางคืน
5.ดาวเหนืออยู่ในส่วนใดของกลุ่มดาวหมีเล็ก
   ก.ลำตัว 
   ข.ขา
   ค.หาง
   ง.ปาก


 แนะนำสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :  https://learn.pbi.ac.th/html/science2-8.htm
                                                                 https://thaiastro.nectec.or.th/
                                                                 https://www.darasart.com/

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3894

อัพเดทล่าสุด