แผนการสอนวิทย์ 5E ป.5


7,486 ผู้ชม


แผนการสอนวิทย์ ป.5 ที่ทันสมัยล่าสุด   

ที่มาของภาพ : แผนการสอนวิทย์ 5E ป.5

แผนการสอน 5 E วิทย์ป.5
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  9
เรื่อง  สมบัติของของแข็ง
หน่วยการเรียนรู้ที่  4    วัสดุและสมบัติของวัสดุ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
ชั้นประถมศึกษาปีที่  5 ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา  2554 เวลา      ชั่วโมง          
โรงเรียนอนุบาลชุมชนหัวดง   นางอนงค์  บัวจันทร์ ผู้สอน
วันที่     เดือน      พ.ศ.  2554                                 เวลา   2   ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้      
            สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร 
 มาตรฐาน ว 3.1 : เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
 มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร  การเกิดสารละลายการเกิดปฏิกิริยาเคมี  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 
สาระสำคัญ
            วัสดุต่างๆ  มีสารเป็นองค์ประกอบ  ในสถานะของแข็ง  ของเหลว  และแก๊สมีสมบัติบางประการเหมือนและบางประการแตกต่างกัน  เนื่องจากการจัดเรียงตัวและการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของสารในแต่ละสถานะแตกต่างกัน  ของแข็งมีมวล  ต้องการที่อยู่  มีรูปร่างและปริมาตรคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
 1.  อภิปราย  และสรุปเกี่ยวกับสถานะของสารเป็นของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส 
 2.  ทดลอง  วิเคราะห์  อภิปรายการจัดเรียงตัวของอนุภาค  และสมบัติของของแข็ง
จุดประสงค์การเรียนรู้
      ด้านความรู้  
              1.  อธิบายสถานะและยกตัวอย่างของแข็ง ของเหลว  และแก๊สได้ 
              2.  อธิบายสมบัติของสารในสถานะของแข็ง
              3.  ยกตัวอย่างการนำของแข็งไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน     
 
        ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
 1.  บรรยายลักษณะและสมบัติของสาร สถานะของแข็ง ของเหลว แก๊ส ด้วยประสาทสัมผัสหลายทาง
 2.  แบ่งสารออกเป็นของแข็ง ของเหลว แก๊ส โดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์ได้
 3.  ทดลองและบันทึกผลสมบัติของของแข็ง 
 4.  เลือกและอธิบายการใช้อุปกรณ์ทดลองสมบัติของของแข็ง
         ด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์     
1.  นักเรียนชอบสนทนาซักถาม สนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับสถานะและสมบัติของสาร
2.  นักเรียนมีความมานะอดทนทำการทดลองจนได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้
3.  บันทึกผลการทดลองตามความเป็นจริงโดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตน 
                              
        ด้านคุณธรรม        
 1.  มีน้ำใจให้ความร่วมมือในการวางแผน ทำงานของกลุ่ม
 2.  ไม่แอบอ้างหรือลอกผลการทดลองของคนอื่นว่าเป็นของตน
 3.   ใช้อุปกรณ์การทดลองตามข้อปฏิบัติของห้องวิทยาศาสตร์และประหยัดคุ้มค่าเหมาะสม
สาระการเรียนรู้
 1.  สถานะของสาร  ของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส
 2.  สมบัติของสารในสถานะของแข็ง 
การเตรียมล่วงหน้า
 1.  จัดห้องเรียนสู่บรรยากาศการเรียนรู้  เรื่อง  ของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส  ดังนี้
                   เตรียมขวดแสดงสถานะของสาร  ขวดการบูร  ขวดลูกเหม็น  ขวดน้ำ  ขวดเกล็ดไอโอดีน ดังนี้
     1.1  นำขวดเหล้าแม่โขงล้างให้สะอาด  ทำให้แห้งสนิทพร้อมฝาปิด
                   1.2  นำการบูร  ลูกเหม็น  เกล็ดไอโอดีน  น้ำใส่ลงไปแต่ละขวดปิดฝาให้แน่นสนิท ตั้งทิ้งไว้ล่วงหน้า  2  สัปดาห์
 2.  ทบทวนความรู้เดิมเรื่องต่อไปนี้ 
                   2.1  การใช้เครื่องชั่งจานเดียวสามแขนชั่งมวลของ ๆ แข็ง  ครูส่งเสริมให้นักเรียนชั่งวัสดุต่าง ๆ  ในช่วงพักหลังรับประทานอาหารกลางวันบ่อย ๆ
                   2.2  ให้นักเรียนดูวีดิทัศน์เรื่อง มงกุฎทองคำ  ตามอัธยาศัย และให้ยืมไปดูที่บ้านได้เป็นการทบทวนการหาปริมาตรของวัตถุที่มีรูปทรงไม่เป็นเรขาคณิต  ซึ่งเคยเรียนมาแล้วในแผนการจัดการเรียนรู้ที่  8  เรื่อง  ความหนาแน่นของวัสดุ
                   2.3  ให้นักเรียนนำสิ่งของที่เป็นของแข็ง  ของเหลว  และแก๊สที่พอหาได้มาจากบ้าน
            
กระบวนการจัดการเรียนรู้
        ขั้นสร้างความสนใจ (engagement  :  E1)   40  นาที
 1.  นักเรียนจัดกลุ่มใหม่  เลือกประธาน  เลขานุการตั้งชื่อกลุ่มโดยใช้ชื่อสารในสถานะต่างๆ  ที่รู้จัก  แล้วให้แนะนำกลุ่มพร้อมอธิบายเหตุผล
 2.  เล่นเกมแนะนำชื่อ 
 3.  นักเรียนแต่ละกลุ่ม  สังเกต  สิ่งของต่างๆ  ที่วางรวมกันที่โต๊ะกลางห้องเรียน  เช่น  ก้อนหิน  ไม้  ดินน้ำมัน  ถุงพลาสติกใส  ที่เป่าลมจนพอง  ลูกโป่งที่เป่าลมจนพอง  ขวดแสดงสถานะของสาร  ( ขวดการบูร,  ขวดเกล็ดไอโอดีน,  ขวดลูกเหม็น,  ขวดน้ำ  และสิ่งของที่นักเรียนเตรียมมาจากบ้าน )
 4.  ตัวแทนแต่ละกลุ่มบรรยายสมบัติของสิ่งของที่สังเกตได้
 5.  ครูนำอภิปราย  เพื่อจุดประกายให้นักเรียนเกิดความคิด  และวิเคราะห์  โดยใช้คำถามว่า
                   -  สิ่งต่าง ๆ  ที่นักเรียนได้สังเกตมีอะไรบ้าง
                   -  สิ่งเหล่านี้มีสถานะใดบ้าง   ( ของแข็ง  ของเหลว  แก๊ส )
                   -  ครูยกถุงน้ำแข็งขึ้นมาให้นักเรียนดู  แล้วถามว่าในถุงนี้มีสถานะอะไร  ( ของเหลว,ของแข็ง )
                   -  สารในสถานะของแข็ง  ของเหลว  แก๊ส  มีสมบัติต่างกันอย่างไร
 6.  ครู ชักชวนให้นักเรียนตั้งประเด็นปัญหา  ข้อควรศึกษาเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมเสนอประเด็นปัญหาอย่างหลากหลาย  ครู  นักเรียนช่วยกันเรียบเรียงถ้อยคำสำนวนให้สละสลวย  เพื่อตั้งประเด็นปัญหา   ซึ่งควรได้ว่า
                   -  สถานะของสารมีอะไรบ้าง 
                   -  สมบัติของของแข็งมีว่าอย่างไร
                   -  การทดลอง  อธิบายสมบัติของแข็งได้อย่างไร
  ขั้นสำรวจและค้นหา  (exploration :  E2)  
 1.  นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียน  หน้า  48  แล้วให้นักเรียนช่วยกันบอกสิ่งที่เห็นในภาพว่าตรงส่วนใดเป็นของแข็ง  ของเหลว  และแก๊ส ( ต้นไม้  ภูเขา  พื้นดิน  หิน  เป็นของแข็ง  น้ำเป็นของเหลว  อากาศเป็นแก๊ส )
 ให้นักเรียนแต่กลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเพื่อตอบคำถามว่า   เพราะเหตุใดของเหลว  และแก๊สไม่สามารถรักษารูปร่าง หรือปริมาตรให้คงที่ได้เหมือนของแข็ง
                   ( เพราะอนุภาคของแข็งอยู่ชิดกันมาก  การจัดเรียงอนุภาอยู่ในตำแหน่งที่แน่นอน  ส่วนของเหลวมีการจัดเรียงอนุภาคไม่เป็นระเบียบและมีที่ว่างระหว่างอนุภาคเล็กน้อย  ทำให้อนุภาคของเหลวมีอิสระในการเคลื่อนที่ได้มากกว่าของแข็งแต่ไม่แยกจากกัน  สามารถเทของเหลวจากภาชนะไปสู่อีกภาชนะหนึ่งได้  โดยรูปร่างของของเหลวจะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ  และมีปริมาตรคงที่  สำหรับแก๊ส  อนุภาคจะอยู่ห่างกันมาก  เมื่อเปรียบเทียบกับของแข็งและของเหลว  เมื่อบรรจุแก๊สไว้ในภาชนะ  แก๊สจะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ  ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ  )
 2.  ครูนำอภิปรายเพื่อศึกษาสมบัติของแข็ง  โดยตั้งคำถามว่า
                    -  สมบัติด้านใดบ้างของแข็งที่แตกต่างกัน
                        ( สี  ผิวมัน  ผิวหยาบ  เหนียว  ยืดหยุ่น  ไม่หยืดหยุ่น  นำความร้อน  ไม่นำความร้อน ฯลฯ)
                    -  สมบัติด้านใดบ้างของของแข็งที่เหมือนกัน
                        ( มวล,  ปริมาตร )
                    -  ลองคาดคะเนหรือตั้งสมมุติฐานว่า  มวล  ปริมาตร  ของแข็งคงที่หรือไม่อย่างไร
                        ( นักเรียนตั้งสมมุติฐาน )
                    -  เราจะมีวิธีการพิสูจน์ตรวจสอบสมมุติฐานของของแข็งอย่างไร
                        ( ทดลอง,  นำไปชั่ง,  นำไปหาปริมาตรแทนที่น้ำ )
 3.  นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาวิธีการทดลองเรื่อง  สมบัติของของแข็งในใบกิจกรรมที่  9.1
 4.  ครูซักถามขั้นตอนการทดลองเพิ่มเติม  และบอกข้อควรปฏิบัติ  เช่น  การใช้เครื่องชั่งมวล  การใช้ถ้วยยูรีกา
 5.  นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองตามขั้นตอนในใบกิจกรรมที่  9.1  ดังนี้
                    5.1  ชั่งมวลของก้อนหิน  บันทึกผล
                    5.2  เติมน้ำลงในถ้วยยูรีกาให้เต็ม  พร้อมกับนำบีกเกอร์มารองรับน้ำที่ล้น  รอจนไม่มีน้ำล้นออกมาอีกรินน้ำออกจากบีกเกอร์  และเช็ดบีกเกอร์ให้แห้ง  แล้วนำมารองรับที่ล้นอีกครั้ง
                    5.3  ค่อย ๆ หย่อนก้อนหินที่ผูกเส้นด้ายไว้ลงในถ้วยยูรีกาจนมิดน้ำทั้งก้อน  และรอจนไม่มีน้ำล้นออกจากถ้วยยูรีกา
                    5.4  วัดปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมาจากถ้วยยูรีกาโดยใช้กระบอกตวง
                    5.5  เช็ดก้อนหินและบีกเกอร์รองรับน้ำให้แห้ง  แล้วทำการทดลองตามข้อ  5.1 – 5.4  ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  บันทึกผล

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป  (explanation :  E3)
  
 1.  ครูนำอภิปราย  เพื่อสรุปผลการทดลอง  โดยตั้งคำถามว่า
                    -  ผลการทดลองของนักเรียนแต่ละกลุ่มได้ผลอย่างไรบ้าง
 2.  ครูสุ่ม  2 - 3  กลุ่มให้นำเสนอผลการทดลอง  พร้อมอธิบายเหตุผล
 3.  ครูใช้คำถามนำเพื่อสรุปผลการทดลอง ดังนี้
                    -  ก้อนหินมีมวลเท่าใด
                       ( ก้อนหินมีมวล…กรัม )  แต่ละกลุ่มจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนหิน
                    -  เพราะเหตุใดเมื่อหย่อนก้อนหินลงถ้วยยูรีกาน้ำจึงล้นออกมา
                         ( เพราะก้อนหินไปแทนที่น้ำ  ทำให้น้ำที่ถูกแทนที่ล้นออกมา  แสดงว่าก้อนหินต้องการที่อยู่ )
                    -  น้ำที่ล้นออกมามีความสัมพันธ์กับก้อนหินอย่างไร
                       ( น้ำที่ล้นออกมาจะมีปริมาตรเท่ากับปริมาตรของก้อนหิน )
                    -  วัดปริมาตรของก้อนหินครั้งที่ 1  และครั้งที่ 2  ได้เท่าใด  และมีค่าคงที่หรือไม่  ถ้าไม่คงที่คิดว่าเป็นเพราะเหตุใด
                        ( ปริมาตรของก้อนหินวัดครั้งที่ 1  และครั้งที่ 2  ควรจะได้ค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันที่สุดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะในการทำการทดลองของผู้เรียน  ความคลาดเคลื่อนอาจเป็นเพราะเช็ดก้อนหินไม่แห้ง  การหย่อนก้อนหินลงในถ้วยยูรีกาอาจจะแรงหรือค่อยต่างกัน  การรินน้ำจากบีกเกอร์ใส่ลงในกระบอกตวงอาจจะรินไม่หมด  ระดับสายตาขณะอ่านปริมาตรของน้ำในกระบอกตวงอาจจะคลาดเคลื่อน  เป็นต้น )
                    -  ในการทดลองนี้รูปร่างของก้อนหินเปลี่ยนแปลงหรือไม่
                       ( ในการทดลองนี้ก้อนหินไม่เปลี่ยนแปลง  แสดงว่าก้อนหินมีรูปร่างคงที่ )
                    -  สรุปผลการทดลองเกี่ยวกับสมบัติของของแข็งได้ว่าอย่างไร
                        ( ของแข็งมีมวล  มีรูปร่าง  และปริมาตรคงที่  ต้องการที่อยู่ )
 4.  ครู  นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้สมบัติของของแข็ง  โดยใช้สไลด์คอมพิวเตอร์ 
( Power Point )  ดังนี้  “  ของแข็งมีมวล  ต้องการที่อยู่  มีรูปร่างและปริมาตรคงที่  ไม่เปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ ” 
 ขั้นขยายความรู้ (elaboration : E4)  40  นาที
 1.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปราย  และสร้างจินตนาการเกี่ยวกับการจัดเรียงตัวของอนุภาคสารสถานะต่าง ๆ  แล้วเขียนผังมโนทัศน์  
 2.  ให้นักเรียนแต่ละคน  สืบค้นประโยชน์ของของแข็ง  จากเพื่อนรอบข้าง  แล้วบันทึกในแบบสืบค้นในใบกิจกรรมที่  9.2
ให้นักเรียนหาคนที่มีความสามารถต่อไปนี้
1.  ยกตัวอย่างและบอกประโยชน์ของสารในสถานะของแข็ง
     1………………………………………..
     2………………………………………..
          ลงชื่อ…………………………… 1.  ยกตัวอย่างและบอกประโยชน์ของสารในสถานะของแข็ง
     1………………………………………..
     2………………………………………..
          ลงชื่อ……………………………
1.  ยกตัวอย่างและบอกประโยชน์ของสารในสถานะของแข็ง
     1………………………………………..
     2………………………………………..
          ลงชื่อ…………………………… 1.  ยกตัวอย่างและบอกประโยชน์ของสารในสถานะของแข็ง
     1………………………………………..
     2………………………………………..
          ลงชื่อ……………………………
    
 ขั้นประเมิน (evaluation : E5)  
 1. นักเรียนประเมินทบทวนการทำกิจกรรมของตนโดยทำบันทึกหลังเรียนในใบกิจกรรมที่  9.2  
 2.  ทำแบบทดสอบประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่  9  หลังเรียน
 3.  สังเกตพฤติกรรมของแต่ละกลุ่ม
 4.  นักเรียนทำใบกิจกรรมที่  9.1, 9.2
วัสดุอุปกรณ์/สื่อและแหล่งเรียนรู้
            วัสดุอุปกรณ์/สื่อ
 1.  ก้อนหิน  ไม้  ดินน้ำมัน  ถุงพลาสติกใส  ที่เป่าลมจนพอง  ลูกโป่งที่เป่าลมจนพอง  
 2.  ขวดแสดงสถานะของสาร  ( ขวดการบูร  ขวดเกล็ดไอโอดีน  ขวดลูกเหม็น ขวดน้ำ )
 3.  สิ่งของที่ครูให้นักเรียนนำมาจากบ้าน  เช่น  ก้อนหิน  ของเล่นเก่า  พลาสติก ฯลฯ
 4.  เครื่องชั่งจานเดียวแบบสามแขน  ถ้วยยูรีกา   กระบอกตวง 
 5.  ใบกิจกรรมที่  9.1,  9.2 
 6.  สไลด์คอมพิวเตอร์ (Power Point) สมบัติของของแข็ง
 7.  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ
 8.  วีดิทัศน์เรื่อง  มงกุฎทองคำ

             แหล่งเรียนรู้
 1.  ห้องสมุด  ห้องวิทยาศาสตร์
การวัดผลและประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์ผ่าน

ข้อเสนอแนะ

ครูควรออกแบบการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องตรงตามจุดประสงค์

เวปแนะนำ : https://pirun.ku.ac.th/~g4786027/01/sub_01/02_01_02_2.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3928

อัพเดทล่าสุด