เตือนคนไทยอย่าตื่นตระหนก ดาวเคราะห์ชนโลก !


895 ผู้ชม


วิเคราะห์น้อยที่มีโอกาสเข้าชนโลกหลายโครงการ และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใน ขณะนี้ ทำให้ภัยคุกคามดังกล่าวลดน้อยลงไป เนื่องจากสามารถคำนวณ คาดการณ์ได้ล่วงหน้า และมีเวลาพอที่จะทำให้วัตถุขนาดเล็กเหล่านี้เบี่ยงเบนวงโคจรหรือทำลายทิ้ง ก่อนที่จะถึงโลก   

เตือนคนไทยอย่าตื่นตระหนก ดาวเคราะห์ชนโลก !

 
บทนำ
อย่าตกใจไปนะ...แต่...ก็ต้องจับตาไว้ให้ดี...เพราะโลกเราโคจรอยู่ดีๆ หากดาวเคราะห์น้อยโคจรมาชนโลกจริงๆ...จะเกิดอะไรขึ้น
https://www.thairath.co.th/content/edu/170906
 

ไทยรัฐออนไลน์
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2554

ประเด็นจากข่าว
เตือนคนไทยอย่าตื่นตระหนก ดาวเคราะห์ชนโลก !
เนื้อหาสาระ     สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือช่วงชั้นที่ 2


เนื้อเรื่อง     
เมื่อวันที่ 12 พ.ค. นายศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร.
เตือนอย่าตระหนกกรณีดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 จะพุ่งชนโลกเมื่อวันที่ 9 พ.ย.นี้ ระบุ ระยะห่างเท่ากับโลกและดวงจันทร์ไม่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต และระบบตรวจจับในปัจจุบันก้าวหน้าพอประเมินความเสี่ยงและสั่งทำลายก่อนได้...

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยกรณีมีข่าวจากสื่อในประเทศว่าจะมีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ "วายยู 55" ขนาดกว้าง 1,300 ฟุต หนัก 55 ล้านตัน กำลังเคลื่อนเข้ามาใกล้โลกและอาจจะพุ่งชนโลกได้ในเดือน พ.ย.นี้ ว่า ข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว คือ องค์การการบินและอวกาศสหรัฐฯ หรือ นาซ่า ได้ตรวจสอบวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 จะเข้ามาใกล้โลกในระยะ 3 แสนกว่ากิโลเมตร ไม่ใช่การพุ่งชนโลกอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 ถูกค้นพบเมื่อ 6 ปีที่แล้ว โดยโครงการติดตามวัตถุจำพวกดาวหางขนาดเล็กหรือดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสเข้าชนโลก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 400 เมตร ซึ่งจากการคำนวณพบว่าจะโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 9 พ.ย. 2554 ในเวลา 14.13 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 340,000 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 0.85 เท่าของระยะ ห่างจากโลกถึงดวงจันทร์ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เพียงแต่เป็นที่สนใจ เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยโคจรเข้าใกล้โลกในระดับนี้ โดยในต่างประเทศต่างเฝ้ารอดูเพื่อศึกษาถึงขนาดและองค์ประกอบต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจวัตถุขนาดเล็กที่มีวงโคจรใกล้โลก

นายศรัณย์ กล่าวอีกว่า “แม้ว่าดาวเคราะห์น้อย 2005 YU55 จะมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ค่อนข้างสั้น แต่อย่างน้อยในรอบ 100 ปีนี้ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่มีการโคจรเข้ามาใกล้โลกเท่ากับครั้งนี้อีก และสำหรับผู้ที่สนใจในปี ค.ศ. 2028 จะมีดาวเคราะห์น้อย อีกดวงที่โคจรเฉียดโลกเช่นกัน และเข้าใกล้โลกมากกว่าดวงนี้อีกด้วย นอกจากนี้จากการคำนวณของนักดาราศาสตร์ยังไม่พบว่าจะมีการพุ่งชนโลกแต่อย่างใด”..... และ

"การที่วัตถุขนาดเล็กหรืออุกกาบาตพุ่งชนโลกนั้นเกิดขึ้นเป็นปกติ เพียงแต่ที่มีการชนขนาดใหญ่มาก ครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้น คือเมื่อ 65 ล้านปีก่อนที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ หลังจากนั้นก็มีการชนขนาดเล็กที่ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาต เช่น เมื่อประมาณ 50,000 ปี ที่แล้ว ณ มลรัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา ที่ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาด 1.1 กิโลเมตร หรือ เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว ณ ประเทศรัสเซีย มีความรุนแรงระดับระเบิดปรมาณู แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ไม่มีคนอยู่อาศัย ทำให้นานาชาติจัดตั้งโครงการเฝ้าติดตามวัตถุจำพวกดาวหางขนาดเล็กหรือดาว เคราะห์น้อยที่มีโอกาสเข้าชนโลกหลายโครงการ และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใน ขณะนี้ ทำให้ภัยคุกคามดังกล่าวลดน้อยลงไป เนื่องจากสามารถคำนวณ คาดการณ์ได้ล่วงหน้า และมีเวลาพอที่จะทำให้วัตถุขนาดเล็กเหล่านี้เบี่ยงเบนวงโคจรหรือทำลายทิ้ง ก่อนที่จะถึงโลก” 
clipmass.com
https://www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&biw=771&bih=393&q=%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&oq=%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81&aq=f&aqi=&aql=&gs_sm=e&gs_upl=2875l13297l0l19l19l0l17l17l0l63l95l2


ประเด็นที่ต้องการอภิปราย    
1. เกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อดาวเคราะห์น้อยชนโลก
2. นักดาราศาสตร์มีวิธีการแก้ไขอย่างไร
3.  ความรู้สึกของมวลมนุษย์เป็นอย่างไรบ้าง


กิจกรรมเสนอแนะ
 ควรนำหัวข้ออภิปรายไปทำรายงานด้วยการสรุปในรูปMind Mapping
     
การบูรณาการ
• กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การอ่านเรื่องจับใจความ การเขียนความเรียงขั้นสูง
• กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การคิดคำนวณวิถีการโคจร..ระยะห่าง..ช่วงวัน..เวลา
• กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมฯ สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์
• กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ การฟังเสียง การอ่าน การเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
• กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ การออกแบบตกแต่ง ระบายสี เหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลก
• กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานฯ การออกแบบตกแต่ง ระบายสี เหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลก


แหล่งอ้างอิง     
• ที่มาของข้อมูล
• https://www.thairath.co.th/content/edu/170906

• ที่มาของภาพ: https://variety.thaiza.com

• ที่มาของคลิป

https://youtu.be/pfipHdVNI3M
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3929

อัพเดทล่าสุด