โรคและความผิดปกติของหู


1,235 ผู้ชม


หูเป็นอวัยวะที่บอบบางและมีลักษณะเป็นช่องเปิดจากภายนอกเข้าไป จึงอาจทำให้เป็นโรคหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้นในส่วนต่างๆของหูได้ง่าย โรคของหูที่พบได้บ่อยคือ หูน้ำหนวก แก้วหูทะลุ และเชื้อราในช่องหู   

โรคและความผิดปกติของหู

โรคและความผิดปกติของหู

https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQWHOfNJ2f-iZe4x4oNYmjY95


     หูเป็นอวัยวะที่บอบบางและมีลักษณะเป็นช่องเปิดจากภายนอกเข้าไป จึงอาจทำให้เป็นโรคหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้นในส่วนต่างๆของหูได้ง่าย โรคของหูที่พบได้บ่อยคือ หูน้ำหนวก แก้วหูทะลุ และเชื้อราในช่องหู
     1.หูน้ำหนวก พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งมักจะเป็นหวัดบ่อยๆ
     สาเหตุ โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากน้ำเข้าหูตามที่เข้าใจกันแต่เกิดจากเป็นหวัดเรื้อรังแล้วมีเชื้อโรคเล็ดลอดจากบริเวณลำคอผ่านท่อยูสเตเชี่ยนเข้าสู่หูชั้นกลาง โดยเฉพาะการสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็ทำให้เชื้อเข้าสูหูชั้นกลางได้
     อาการ หูอื้อ ฟังไม่ค่อยได้ยินและปวดหูมาก เนื่องจากเกิดการอักเสบในหูชั้นกลางแล้วมีหนองขังอยู่ภายใน ถ้าหนองดันทะลุผ่านเยื่อแก้วหูออกมา อาการปวดจึงจะทุเลาลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นหนองไหลออกมาจาก รูหูอยู่เรื่อยๆ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาจลุกลามเข้าสมอง เกิดฝีในสมองจนเสียชีวิตได้
     การป้องกันและการรักษา
     1. ควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคหวัด และเมื่อเป็นหวัดก็ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ
     2. หากมีอาการของโรคหูน้ำหนวกควรปรึกษาแพทย์
     3. ในกรณีที่แพทย์รักษาจนหนองแห้งแล้ว ควรพยายามไม่ให้น้ำเข้าหู เพราะแก้วหูยังทะลุอยู่ ถ้าน้ำไม่สะอาดเข้าหูชั้นกลาง อาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้นไปอีก
     4. ควรรับการผ่าตัดปะแก้วหูที่ทะลุให้เป็นปกติ

    อาการ แก้วหูทะลุ
     สาเหตุ เกิดจากการที่แรงอัดสูงๆ ในรูหู เช่น ถูกตบที่ข้างหูหรืออาจเกิดจากการใช้ของแข็ง เช่น กิ๊บติดผมแคะหู ซึ่งอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด
     อาการ รู้สึกปวดหูในระยะแรก และทำให้หูข้างนั้นได้ยินเสียงไม่ชัดเจน หรือหูอื้อ
     การป้องกันและการรักษา
     1.ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งอื่นๆ แคะหู
     2.หากมีอาการปวดหู หูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์
     3. เชื้อราในช่องหู
     สาเหตุ เกิดจากรูหูสกปรกและเปียกชื้น
     อาการ คันมากในรูหู ทำให้อยากแคะหู ถ้าใช้วัตถุแข็งๆ เข้าไปปั่นหรือเกา จะทำให้เกิดการอักเสบลุกลามมากขึ้น
     การป้องกันและการรักษา
     1. ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู
     2. ไม่ควรใช้กิ๊บ ไม้ หรือวัตถุอื่นใดแคะหรือเกาหู เพราะของดังกล่าวอาจสกปรกทำให้มีการติดเชื้อได้

การดูแลรักษาหู
     หูเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันมิให้หูได้รับอันตรายจากเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ควรปฏิบัติดังนี้
     1. ไม่ควรแคะขี้หูด้วยวัตถุแข็ง เช่นไม้ หรือโลหะเพราะอาจเป็นอันตรายต่อหูได้ โดยแท้จริงแล้ว ขี้หูเป็นสิ่งที่ขับออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งมีกลิ่นพิเศษที่ป้องกันไม่ให้แมลงเข้าหูได้ จึงไม่จำเป็นต้องแคะออก การทำความสะอาดหู ควรใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วมือจะสอดเข้าไปได้ แต่หากมีขี้หูมากและแข็งจนทำให้การได้ยินไม่ชัดเจน ก็อาจใช้น้ำยากลีเซอรีนหยอดเข้าไปในรูหูวันละ 2 ครั้ง ก็จะทำให้ขี้หูนุ่มและละลายไหลมาเอง
     2. เวลาเป็นหวัดไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะจะทำให้เกิดแรงอัดดันให้เชื้อโรคเข้าสู่หูชั้นกลางได้
     3. หลีกเลี่ยงการฟังเสียงที่ดังเกินไป เช่นเสียงปืน เสียงพลุ หรือเสียงที่ดังตลอดเวลา เช่น เสียงเพลงจากหูฟัง เสียงเครื่องจักรทำงานในโรงงานต่างๆ เป็นต้น ถ้าจำเป็นจะต้องใช้สำลีหรือเศษผ้าอุดหูไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหูตึง
     4.เมื่อมีแมลงเข้าหู อย่าพยายามแคะออก ควรใช้น้ำมันพืชหยอดลงในรูหู แล้วทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แมลงตาย แล้วจึงเอียงหูให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมกับแมลงและใช้สำลีเช็ดให้แห้ง
     5. ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู เช่นเด็กเล็กๆ ที่ชอบใส่เศษวัสดุลงในรูหู ไม่ควรเอาออกเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู ควรไปพบแพทย์
     6. ถ้ามีอาการผิดปกติของหู เช่น ปวดหู หูอื้อ ได้ยินไม่ชัดเจน ควรปรึกษาแพทย์
อยากรู้คำตอบ
1. หูเป็นอวัยวะของร่างกาย มีหน้าที่ทำอะไร
2. หูแบ่งออกเป็นกี่ชั้น  อะไรบ้าง
3. หูชั้นใดที่ทำให้เราได้ยินเสียง
4. มีวิธีการดูแลรักษาหูได้อย่างไร
5. หูส่วนใดช่วยในการทรงตัว
อยากเสนอแนะ
1. นำประเด็นความรู้ที่สนใจมาร่วมอภิปราย
2. สรุปความรู้เป็นMind Mapping
บูรณาการกับสาระใดได้บ้าง
1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย: การอ่าน การเขียน 
2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ: การอ่าน การเขียน คำศัพท์
3. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์: การวัดระยะความถี่ของเสียง การจัดลำดับชั้นของหู
4. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปฯ: การอออกแบบMind Mapping
5. กลุ่มสาระการเรียนรู้กอทฯ: การอออกแบบMind Mapping
6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขฯ: การดูแลรักษาสุขภาพของหู

แหล่งความรู้
https://talung.pt.ac.th/ptweb/studentweb/body/arweb/c2/index.htm 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3933

อัพเดทล่าสุด