https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เครียดกลัวอ้วน MUSLIMTHAIPOST

 

เครียดกลัวอ้วน


851 ผู้ชม


สาวเครียดเพราะกลัวอ้วนแขวนคอสลด   

เครียดกลัวอ้วน

ทึมา:https://www.dooqo.com/uploaded/images/health/20090826-1.jpg

    1. บทนำ 
ข่าว  สาวเครียดเพราะกลัวอ้วนแขวนคอสลด

              เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม2554 สาวใช้วัย 17 กลัวอ้วน เครียดจัดตัดสินใจผูกคอลาโลก น.ส.ต่าย(นามสมมติ)บ้านเดิมอยู่อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี สภาพศพสวมเสื้อแขนยาวสีแดงนุ่งกางเกงขาสั้นสีดำ มีรอยช้ำขนาดเล็กรอบลำคอ ข้างศพมีสายไฟฟ้าสีขาวยาว 5 เมตรวางอยู่ แพทย์ชันสูตรศพลงความเห็นว่าเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ชม. ตามร่างกายไม่มีร่องรอยถูกทำร้ายจากการสอบสวนทราบว่า น.ส.ต่าย ผู้ตายและพี่สาวเป็นคนรับใช้อยู่บ้านในจังหวัดร้อยเอ็ด
              จนกระทั่งเมื่อต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ผู้ตายพร่ำบ่นให้พี่สาวกับเพื่อนคนใช้ฟังว่าไม่สบายใจเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกวันกลัวจะอ้วนเหมือนพี่สาว จึงอยากจะกินยาลดความอ้วนต่อมาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้ตายเอาสร้อยคอทองคำหนัก 2 สลึงของตัวเองไปขายที่ร้านทองในตลาดเมืองร้อยเอ็ด เพื่อจะนำเงินไปหาซื้อยาลดความอ้วนมากินแต่ยังไม่ได้ซื้อพอวันรุ่งขึ้นผู้ตายมีอาการซึมเศร้า ชอบนั่งเหม่อลอยอยู่คนเดียว 
 ตอนเช้ามืดวันที่20 พ.ค. คนรับใช้ในบ้านตื่นขึ้นมาทำงานบ้านตามปกติ เมื่อเดินไปที่หลังบ้านก็ต้องตกใจเมื่อพบร่างผู้ตายใช้สายไฟฟ้าผูกคอกับกิ่งต้นขี้เหล็กหลังบ้าน
                 
ที่มา:  ไทยรัฐออนไลน์https://www.thairath.co.th/today/view/173010


2. ประเด็นข่าวที่น่าสนใจ 
       ความอ้วน หรือโรคอ้วน ทำให้เกิดความเครียด และส่งผลเสียต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ โรคเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอัตราที่สูงขึ้น ปัจจุบันสถิติของคนที่มีน้ำหนักเกินหรือ อ้วนมีมากขึ้นสาเหตุของโรคอ้วนมาจากอะไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

3. เนื้อหาสาระ สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
        สาระการเรียนรู้แกนกลาง:     สารอาหาร ได้แก่ โปรตีน   คาร์โบไฮเดรต     ไขมัน แร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ มีความจำเป็นต่อร่างกาย มนุษย์จำเป็นต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัยเพื่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต

ตัวชี้วัด :ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย 
4.  เนื้อเรื่อง
      ความอ้วนหรือโรคอ้วนที่ทำให้สาววัยรุ่นเป็นกังวลเครียดจัดจนฆ่าตัวตาย มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ
ปัจจัย ด้านอารมณ์ของวัยรุ่นที่เป็นวัยที่กำลังรักสวยรักงาม และชอบให้เป็นที่สนใจของเพศตรงข้าม เมื่อมีภาวะอ้วนจึงเกิดความเครียดจัด   สาเหตุ ของความอ้วนหากรู้สาเหตุที่แท้จริงก็สามารถป้องกันได้

สาเหตุหลักของความอ้วน
           •เครียดกลัวอ้วนการรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ จะให้น้ำหนักเกินโดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน
          •เครียดกลัวอ้วนประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose,น้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็วและทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
           เครียดกลัวอ้วน •ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงานได้มากดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ำหนักยาก 
            เครียดกลัวอ้วน •โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยจะมีน้ำหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหารน้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือร่างกายสร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต 
             เครียดกลัวอ้วน •จากยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลดความดัน beta-block ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด ยา steroid 
              เครียดกลัวอ้วน•กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เช่นคนที่เป็นโรคขาด leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่
ที่มา:https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/obesity/cause.htm
https://www.thaigoodview.com/files/u9372/rat.jpg
       

  ผลเสียจากโรคอ้วน มีการศึกษาพบว่าดัชนีมวลกายที่เหมาะอยู่ระหว่าง 21-25 (ดัชนีมวลกายเป็นการเปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง  เรียนรู้ เพิ่มเติมที่ https://www.siamhealth.net/public_html/calculator/bmi_bsi.htm ) เนื่องจากอัตราการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจต่ำ และเมื่ออ้วนมากขึ้นก็จะเกิดโรคมาก

      โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วน 
            โรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งบางชนิด โรคเบาหวาน และโรคถุงน้ำดี เป็นต้น 
               โรคหัวใจขาดเลือด โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงอิสระที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ และยังเป็นสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการตายจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนอ้วน ยิ่งอ้วนมากยิ่งมีโอกาสเป็นโรคหัวใจเพิ่ม พบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กก/ตารางเมตร จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงดัชนีมวลกาย 25-29 กก/ตารางเมตรก็จะเกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ 
                โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนจะมีโรคความดันโลหิตสูงกว่าคนปกติ 2.9 เท่า ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นตามระยะที่เป็นโรคอ้วน เมื่อลดน้ำหนักระดับความดันจะลดลงด้วยพบว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก/ตารางเมตร จะเป็นความดันโลหิตสูงเป็น 2 เท่าของผู้ที่มีดัชนีมวลกาย 22
                
ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมัน triglyceride ,LDL สูงส่วนไขมันที่ดีได้แก่ HDL จะต่ำ 
โรคหลอดเลือดสมอง พบว่าหากอ้วนลงพุงจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 
                 โรคมะเร็งบางชนิด ได้แก่มะเร็งที่พึ่งฮอร์โมนในผู้หญิงได้แก่ โรคมะเร็งมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม ส่วนในผู้ชายได้แก่มะเร็งลูกหมาก มะเร็งลำไส้ใหญ่นอกจากนั้นยังพบว่ามะเร็งทางเดินอาหารเพิ่มขึ้นเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และโรคมะเร็งถุงน้ำดี 
                 โรคเบาหวาน ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่สองเพิ่มขึ้น 40 เท่าในคนอ้วน เมื่อดัชนีมวลกายลดลงความเสี่ยงจะลดลงด้วย โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนตั้งแต่เด็กเมื่อโตขึ้นจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
- โรคถุงน้ำดี คนอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อนิ่ว 3-4 เท่าและความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออ้วนลงพุง 
- ไขมันพอกตับ 
- ภาวะอ้วนลงพุง 
- หัวใจวาย 
- โรคนอนกรน 
- โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อสะโพก ข้อเข่า และยังเพิ่มโอกาสเกิดโรคข้ออักเสบจากเก๊าท์ด้วย 
        มะเร็งบางชนิด พบมากขึ้นในคนอ้วน และสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้อ้วน จากการศึกษาของ American Cancer Society โดยอิงน้ำหนักที่คนไข้บอกเองพบว่าถ้าน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 40% จะมีอัตรารายจากมะเร็งสูงขึ้น 1.33-1.55 เท่า ที่สำคัญ คือ มะเร็งเยื่อบุมดลูกเต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ 
             
 โรคอ้วนที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ 
ภาวะดื้ออินซูลิน โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินโดยเฉพาะอ้วนลงพุง พบภาวะนี้ได้บ่อยในผู้ที่ดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก/ตร.ม.

        ผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ พบว่าคนอ้วนเป็นหมันและปวดประจำเดือนได้บ่อยกว่าคนปกติ คนอ้วนขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง แท้งบุตรได้บ่อย

ที่มา:  https://www.thaigoodview.com/node/30327

 กินให้พอเหมาะ
             การลดความอ้วน คือ การลดการกินอาหาร คือ ลดจำนวนพลังงาน (แคลอรี) ที่กินเข้าไป และการออกกำลังกาย

             อาหารที่เรากินเข้าไป ถ้ามากเกินความต้องการของร่างกายแล้ว จะสะสมอยู่ในร่างกายในรูปของไขมัน 
สำหรับการออกกำลังกายโดยทั่วๆ ไป เป็นการเผาผลาญพลังงานที่เรากินเข้าไป ทำให้น้ำหนักตัวคงที่ แต่ถ้าเราจะใช้การออกกำลังกาย เพื่อทำให้น้ำหนักลดลง (โดยกินเท่าเดิม) จำเป็นต้องออกกำลังกายมากกว่าอาหารที่เรากินเข้าไป จะเห็นว่านักวิ่งมาราธอนมักจะผอม เพราะเผาผลาญพลังงานมาก ส่วนคนที่เป็นนักวิ่งธรรมดาหลายคน วิ่งเท่าไรก็น้ำหนักไม่ลดไม่เพิ่ม เนื่องจากชอบกินมาก 
               การกินอาหารที่ทำให้เราควบคุมน้ำหนักได้ดี คือ อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่มีพลังงาน (แคลอรี) น้อย 
หมายถึงอาหารที่มีไขมันต่ำ มีน้ำตาลน้อย เช่น ผัก ผลไม้ ควรกินมากหน่อย แต่ต้องระวังเหมือนกัน 
ควรเลือกกินผลไม้ที่ไม่สุกงอม ผลไม้ที่สุกงอมมีน้ำตาลมาก ทำให้อ้วนได้ง่าย ส่วนผลไม้ที่เพิ่งเริ่มจะสุกกำลังน่ากิน มีแป้งมากกว่า ดีกว่า เนื่องจากแป้งต้องถูกย่อยและดูดซึม ซึ่งต้องใช้พลังงานและใช้เวลาสลายในร่างกาย ทำให้คนกินหิวช้ากว่า การกินผลไม้งอมเหมือนกินขนมหวาน ต้องระวัง ถ้ากินมากน้ำหนักจะขึ้น 

เครียดกลัวอ้วน

                                              ที่มา :https://2.bp.blogspot.com/   

     6.  กิจกรรมเสนอแนะ
    ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวนดัชนีมวลกาย ได้ที่ https://www.siamhealth.net/public_html/calculator/bmi_bsi.htm

5.  ประเด็นคำถาม

     เครียดกลัวอ้วนอาหารประเภทใดให้พลังงานสูงสุด 
     เครียดกลัวอ้วน สารอาหารที่ให้พลังงานปริมาณ 1 กรัม สารอาหารประเภทใดให้พลังงานมากที่สุด 
    เครียดกลัวอ้วน   ถ้าอยากควบคุมน้ำหนักควรรับประทานอาหารประเภทใด
    เครียดกลัวอ้วน  คอเลสเตอรอลมีมากในอาหารประเภทใด
     เครียดกลัวอ้วน อินซูลิน คืออะไร 

7. บูรณาการ
    คณิตศาสตร์  การคำนวณ
    สุขศึกษา      การรักษาสุขภาพ

8. อ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์https://www.thairath.co.th/today/view/173010
https://www.thaigoodview.com/node/30327
https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/obesity/cause.htm
https://www.thaigoodview.com/files/u9372/rat.jpg
https://www.siamhealth.net/public_html/calculator/bmi_bsi.htm
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4000

อัพเดทล่าสุด