วันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปีคำขวัญเป็นภาษาอังกฤษว่า “Forests : Nature at Your Service”
1.บทนำ
วันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี โดยในปี 2554 นี้ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่ง สหประชาชาติ (UNEP) ได้กำหนดจัดกิจกรรมฉลอง วันสิ่งแวดล้อมโลก ณ เมืองมุมไบและเดลฮี ประเทศอินเดีย ภายใต้หัวข้อเรื่อง และคำขวัญเป็นภาษาอังกฤษว่า “Forests : Nature at Your Service”
ส่วนประเทศไทยได้มีคำขวัญภาษาไทยว่า "ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา"
โดย เน้นสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่าแต่ละคนสามารถปฏิบัติการ ที่ส่งผลกระทบต่อโลกได้ ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การปลูกต้นไม้ในโรงเรียน การกำหนดวันงดใช้รถยนต์
การทำความสะอาดบ้านเรือนในชุมชน การทำความสะอาดสวนสาธารณะ ฯลฯ
คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลกปี 2554 นี้ จะสนับสนุนกิจกรรมที่สอดคล้องกับประกาศขององค์การสหประชาชาติ
ที่กำหนดปี 2011 เป็น International Year of Forests ปีสากลแห่งการอนุรักษ์ป่าไม้
และปี 2011-2020 เป็น "ทศวรรษแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ" (Decade of Biodiversity)
ซึ่งต่อเนื่องจากปี 2010 ที่เป็นปี "The International Year of Biodiversity"
ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่ม:https://i-vu.vu.ac.th/vu2008/environmentzone.php?id=0000002142
2. ประเด็นสำคัญ
"ป่าไม้มีคุณ เกื้อหนุนสรรพชีวิต คิดถนอมรักษา"
3.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่3 สาระที่ ๒ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว ๒. ๑ เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
4. สาระการเรียนรู้
คุณค่าของป่าไม้
ความสำคัญและประโยชน์ของป่าไม้
1.เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของวัฏจักร
2.ป่าช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
3.ช่วยปรับสภาพบรรยากาศ
4.ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
5.ป่าไม้เป็นแหล่งปัจจัยสี่ ป่าไม้เป็นแหล่งผลิต/ผู้ผลิต
6.เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
7.เป็นแนวป้องกันลมพายุ
8.ช่วยลดมลพิษทางอากาศ
ป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต มีส่วนทำให้คุณภาพของมนุษย์ไปในทางที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและดูแลรักษา เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อ การเกิดโรคต่างๆที่เกี่ยวเนื่องมากจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ก็ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตได้ทั้งสิ้น
1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น น้ำใช้เพื่อการบริโภคและเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
อากาศใช้เพื่อการหายใจของมนุษย์และสัตว์ ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบนบก แสงแดดให้ความร้อนและ ช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ จะช่วยปรับให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมันได้ เช่นช่วยให้ปลาอาศัยอยู่ในน้ำที่ลึกมากๆได้ ช่วยให้ ต้นกระบองเพชรดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทรายได้
3. สิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม เช่น มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
4. สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามการกระทำของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น เมื่อสัตว์กินพืชมีจำนวนมากเกินไปพืชจะลดจำนวนลง อาหารและที่อยู่อาศัยจะขาดแคลน เกิดการแก่งแย่งกันสูงขึ้นทำให้สัตว์บางส่วนตายหรือลดจำนวนลงระบบนิเวศก็จะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง
5. สิ่งแวดล้อม จะกำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม ในแง่ของการถ่ายทอดพลังงานระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย ในแง่ของการอยู่ร่วมกัน เกื้อกูลกัน หรือเบียดเบียนกัน มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมได้มากมาย ในลักษณะที่แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
เช่น ใช้ประโยชน์จากดินเพื่อการเพาะปลูก ใช้ประโยชน์จากทุ่งหญ้าเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ใช้ประโยชน์จากเหมืองแร่เพื่อการอุตสาหกรรม
ที่มา:ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมhttps://www.learners.in.th/blog/2500104/264969
5. ประเด็นคำถาม
ต้นไม้มีส่วนสำคัญต่อวงจรการหมุนเวียนเวียนของน้ำบนโลกอย่างไร ?
การสูญพันธุ์ของพืชมีผลกระทบต่อการมีชีวิตของสัตว์หรือไม่ ?
ป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ที่ใด ?
6. บูรณาการ
ภาษาไทย เรียงความเรื่อง ความสำคัญของป่าไม้
7.อ้างอิง
https://banananano.blogspot.com/
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมhttps://www.learners.in.th/blog/2500104/264969
https://learners.in.th/file/prathom01/SFC
https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/753/17753/images/ecoal
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4020