ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก 'ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤก


889 ผู้ชม


ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งนี้นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีความพิเศษมากเนื่องจากในวันดังกล่าวจะเกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจทางดาราศาสตร์ถึง 2 ปรากฏการณ์   

ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดคู่กับปรากฏการณ์จันทรุปราคา

       ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ครั้งนี้นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีความพิเศษมากเนื่องจากในวันดังกล่าวจะเกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจทางดาราศาสตร์ถึง 2 ปรากฏการณ์ ในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก 'ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดคู่กับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในคืนในวันที่ 15  มิถุนายน 2554 หรือยำรุ่ง วันที 16 มิถุนายน 2554

ที่มา : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.)
https://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=195:-moon-overlay-sphere&catid=1:astronomy-news&Itemid=4

 ากประเด็นข่าวสู่การเรียนรู้  
      สอดคล้องกับเรื่องระบบสุริยะ 
      สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย  และ ทุกระดับชั้น รวมทั้ง ผู้สนใจทั่วไป
     มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิต
บนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
     มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมี
คุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
     
     สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน  สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆเข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

สาระการเรียนรู้

      ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ คืนวันที่ 15 มิ.ย 54หรือยำรุ่ง  16 มิ.ย  54
       ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดคู่กับปรากฏการณ์จันทรุปราคา ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงาของโลกเกือบเต็มดวง ขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวคนแบกงูนั้น ดวงจันทร์ก็เคลื่อนที่ไปบังดาวฤกษ์ ที่ชื่อว่า ดาวออพพูเชียส (C Ophiuchi : C Oph) ด้วยเช่นกัน

        ดาวออพพูเชียส (C Ophiuchi : C Oph) อยู่บริเวณหัวเข่าของคนแบกงู มีค่าความสว่าง 4.75 อยู่ห่างจากโลกออกไปประมาณ 426.35 ปีแสง มีชนิดสเปคตรัม A0V ซึ่งเป็นดาวฤกษ์สีขาวที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรามาก

ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก
รูปที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบขนาดของดาวฤกษ์ และชนิดของสเปคตรัมของดาวฤกษ์

 ที่มา : https://www.narit.or.th/images/stories/Astronomy/2011-05-12/as20110512_1_1.jpg

ตารางที่ 2 ลำดับเวลาการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวออพพูเชียส (C Ophiuchi : C Oph)

ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก

ที่มา : https://www.narit.or.th/images/stories/Astronomy/2011-05-12/as20110512_1_6.jpg

หมายเหตุ : ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ทางภาคใต้ตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรเป็นต้นไปไม่สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ได้

ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก


รูปที่ 2 แสดงตำแหน่งขณะดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปบังดาวฤกษ์ เมื่อผู้สังเกตอยู่ ณ จังหวัดเชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร

 ที่มา : https://www.narit.or.th/images/stories/Astronomy/2011-05-12/as20110512_1_2.jpg

ลักษณะขั้นตอนการสัมผัสของดวงจันทร์กับดาวฤกษ์

     การสัมผัสของดวงจันทร์กับดาวฤกษ์ มี 4 จังหวะด้วยกัน คล้ายกับปรากฏการณ์จันทรุปราคา คือ (ดูรูปที่ 3 ประกอบ)

     หมายเลข 1 คือ สัมผัสที่ 1 (First contact) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดวงจันทร์เริ่มสัมผัสกับดาวฤกษ์ครั้งแรก

     หมายเลข 2 คือ สัมผัสที่ 2 (Second Contact) เกิดขึ้นขณะที่ดาวฤกษ์เริ่มหายเข้าไปด้านหลังของดวงจันทร์ทั้งดวง

     หมายเลข 3 คือ สัมผัสที่ 3 (Third Contact) เป็นจุดที่ดาวฤกษ์เริ่มสัมผัสขอบของดวงจันทร์ก่อนที่ดาวฤกษ์จะโผล่พ้นจากดวงจันทร์ออกมา

     หมายเลข 4 คือ สัมผัสที่ 4 (Fourth Contact) เป็นจุดสิ้นสุดของการเกิดการบังกันก่อนที่ดาวฤกษ์จะโผล่พ้นดวงจันทร์

ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก

รูปที่ 3 แสดงลักษณะขั้นตอนการสัมผัสของดวงจันทร์กับดาวฤกษ์
ที่มา : https://www.narit.or.th/images/stories/Astronomy/2011-05-12/as20110512_1_3.jpg

ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก

ชม!ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากมาก

รูปที่ 4 แสดงการจำลองขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวออพพูเชียส (C Ophiuchi : C Oph)ก่อนเริ่ม และสิ้นสุดปรากฏการณ์ (จำลองปรากฏการณ์ โดยโปรแกรม Stellarium 10.6 ในวันที่ 16 มิถุนายน 2554)

ที่มา :  https://www.narit.or.th/images/stories/Astronomy/2011-05-12/as20110512_1_4.jpg และ       

https://www.narit.or.th/images/stories/Astronomy/2011-05-12/as20110512_1_5.jpg

 ที่มา :  https://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=195:-moon-overlay-sphere&catid=1:astronomy-news&Itemid=4

      ดาวฤกษ์ 
      คืออวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัย

           กำเนิดและวิวัฒนาการดูบทความหลักที่ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
          ดาวฤกษ์จะก่อตัวขึ้นภายในเขตขยายของมวลสารระหว่างดาวที่มีความหนาแน่นสูงกว่า ถึงแม้ว่าความหนาแน่นนี้จะยังคงต่ำกว่าห้องสุญญากาศบนโลกก็ตาม ในบริเวณนี้ซึ่งเรียกว่า เมฆโมเลกุล และประกอบด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีฮีเลียมราวร้อยละ 23-28 และธาตุที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างหนึ่งของบริเวณที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์อยู่ในเนบิวลานายพราน[47] และเมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ก่อตั้งขึ้นจากเมฆโมเลกุล ดาวฤกษ์เหล่านี้ก็ได้ให้ความสว่างแก่เมฆเหล่านี้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนไฮโดรเจนให้กลายเป็นไอออน ทำให้เกิดบริเวณที่เรียกว่า บริเวณเอช 2
         ส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย 
           นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว 
            ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้าวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง[1] ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า

         ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้[4] ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้

การตั้งชื่อ

 การตั้งชื่อดาวฤกษ์, หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ และ บัญชีรายชื่อดาวฤกษ์
หลักการเกี่ยวกับกลุ่มดาวเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่ยุคสมัยบาบิโลน ผู้ที่เฝ้าสังเกตท้องฟ้ายามราตรีในยุคโบราณจินตนาการรูปร่างการรวมตัวของดวงดาวออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ กัน และนำมาเกี่ยวโยงกับตำนานปรัมปราตามความเชื่อของตน มีกลุ่มดาว 12 รูปแบบเรียงตัวกันอยู่ตามแนวสุริยวิถี ในเวลาต่อมากลุ่มดาวทั้ง 12 กลุ่มนี้กลายเป็นพื้นฐานของวิชาโหราศาสตร์[38] นอกจากนี้ยังมีดาวฤกษ์ที่แยกจากกลุ่มอีกจำนวนหนึ่งที่โดดเด่น ก็ได้รับการตั้งชื่อให้ด้วย โดยมากเป็นชื่อในภาษาอารบิกหรือภาษาละติน

      นอกเหนือไปจากกลุ่มดาวและดวงอาทิตย์แล้ว บรรดาดวงดาวทั้งหมดก็มีตำนานเป็นของตัวเองด้วย ตามความเชื่อของชาวกรีกโบราณ ดวงดาวบางดวง หรือที่แท้คือ ดาวเคราะห์ (ภาษากรีกโบราณ  หมายถึง "ผู้พเนจร") เป็นตัวแทนของเทพเจ้าองค์สำคัญหลายองค์ ซึ่งชื่อของเทพเจ้าเหล่านั้นก็เป็นที่มาของชื่อดาวด้วย เช่น ดาวพุธ (เมอร์คิวรี) ดาวศุกร์ (วีนัส) ดาวอังคาร (มาร์ส) ดาวพฤหัสบดี (จูปิเตอร์) และดาวเสาร์ (แซทเทิร์น)  สำหรับดาวยูเรนัสและเนปจูนก็เป็นชื่อของตำนานเทพเจ้ากรีกและตำนานเทพเจ้าโรมันเช่นเดียวกัน แม้ในอดีตดาวทั้งสองนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะมันมีความสว่างต่ำมาก แต่นักดาราศาสตร์ในยุคหลังก็ตั้งชื่อดาวทั้งสองตามชื่อของเทพเจ้าด้วยเช่นกัน

คริสตทศวรรษ 1600 มีการใช้ชื่อของกลุ่มดาวไปใช้ตั้งชื่อดาวฤกษ์อื่นที่พบอยู่ในย่านฟ้าเดียวกัน นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน โยฮัน เบเยอร์ ได้สร้างชุดแผนที่ดาวขึ้นชุดหนึ่ง เขาใช้อักษรกรีกในการตั้งรหัสดาวแต่ละดวงในกลุ่มดาว ต่อมา จอห์น เฟลมสตีด คิดค้นระบบตัวเลขประสมเข้าไปโดยอ้างอิงจากค่าไรต์แอสเซนชั่นของดาว เขาจัดทำรายชื่อดาวไว้ในหนังสือ "Historia coelestis Britannica" (ฉบับปี ค.ศ. 1712) ในเวลาต่อมาระบบตัวเลขนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ ระบบการตั้งชื่อดาวฤกษ์ของเฟลมสตีด หรือ ระบบตัวเลขเฟลมสตีด[

       ภายใต้กฎหมายอวกาศ หน่วยงานเพียงแห่งเดียวซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกว่ามีอำนาจหน้าที่ในการตั้งชื่อวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ คือ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ยังมีบริษัทเอกชนอีกจำนวนหนึ่งที่อ้างการจำหน่ายชื่อแก่ดวงดาว (ดังเช่น "สำนักจดทะเบียนดาวฤกษ์ระหว่างประเทศ") อย่างไรก็ดี ชื่อจากองค์กรเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับจากชุมชนวิทยาศาสตร์ และไม่มีใครใช้ด้วย นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าองค์กรเหล่านี้เป็นพวกหลอกลวงที่ต้มตุ๋นประชาชนทั่วไปซึ่งไม่เข้าใจกระบวนการตั้งชื่อดาวฤกษ์ แต่กระนั้น ลูกค้าที่ทราบเรื่องนี้ก็ยังคงมีความปรารถนาที่จะตั้งชื่อดาวฤกษ์ด้วยตนเอง


 หน่วยวัดคุณลักษณะของดาวฤกษ์

         โดยมากจะระบุโดยใช้มาตราเอสไอ หรืออาจมีที่ใช้มาตราซีจีเอสบ้างจำนวนหนึ่ง (ตัวอย่างเช่น การระบุค่าความส่องสว่างเป็น เออร์กต่อวินาที) ค่าของมวล ความส่องสว่าง และรัศมี มักระบุในหน่วยของดวงอาทิตย์ โดยอ้างอิงจากคุณลักษณะของดวงอาทิตย์ ดังนี้

มวลดวงอาทิตย์:  กก.[45] 
ความสว่างดวงอาทิตย์:  วัตต์[45] 
รัศมีดวงอาทิตย์:  ม.[46]

         สำหรับหน่วยความยาวที่ยาวมากๆ เช่นรัศมีของดาวฤกษ์ยักษ์ หรือค่ากึ่งแกนเอกของระบบดาวคู่ มักระบุโดยใช้หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์)

 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

แหล่งอ้างอิง

1. https://www.narit.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=195:-moon-overlay-sphere&catid=1:astronomy-news&Itemid=4

2.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C

3.https://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-10947.htm

คำถามชวนคิด
1. ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อไรและดาวฤกษ์ที่ถูบังคือดาวอะไร 
2. ทำไมดาวฤกษ์จึงมีแสงสว่างในตนเองหรือเปล่งแสงได้
3. ดาวฤกษ์กำเนิดได้อย่างไร และเขามีการตั้งชื่อกันอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ 
1. การศึกษาและเรียนรู้เรื่องดวงจันทร์บังดาวฤกษ์จากการชมปรากฏการณ์ดังกล่าวช่วงคืนที่ 15 มิถุนายน ถึงเช้ามืดของวันที่ 16 มิถุนายน 2554
2.
   การสืบค้นข้อมูลเรื่องดาวฤกษ์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต


การบูรณาการ 
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  : เรียงความเรื่องปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  :  การทำหนังสืออิเลทรอนิกส์นำเสนอเรื่องปรากฏการณ์จันทร์บังดาวฤกษ์
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ :  การวาดภาพ ศิลปะสร้างสรรค์เรื่องดวงจันทร์บังดาวฤกษ์  จันทรุปราคา
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  : การอ่านการเขียนคำศัพท์และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดวงจันทร์บังดาวฤกษ์  จันทรุปราคา

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4063

อัพเดทล่าสุด