ถ่านหิน เจ้าปัญหา


799 ผู้ชม


ต่อต้านการขนย้ายถ่านหินที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม   

1. บทนำ
       กลุ่มต่อต้านการขนย้ายถ่านหินที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เพราะการขนย้ายแล้วหล่นเรี่ยราดลงทะเล กระทบต่อวิถีของชาวประมงโดยเฉพาะประมงพื้นบ้าน ฝุ่นละอองจากถ่านหินยังไปกระทบโดยตรงต่อการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ที่เป็นวงจรชีวิตของคนที่มหาชัยด้วย การออกมาต่อต้านของชาวบ้านเป็นบทสะท้อนว่า ผู้ทำธุรกิจถ่านหินยังไม่รับผิดชอบต่อสังคมเท่าไหร่นัก  "ทองนาค เสวกจินดา" จึงแสดงบทบาทนำด้วยการนำชาวบ้านกลุ่มต่อต้านไปไล่จับการขนย้ายถ่านหินด้วยตัวเอง 
และส่งตำรวจดำเนินคดี แน่นอนว่า การเคลื่อนตัวของกลุ่มต่อต้านถ่านหินย่อมกระทบต่อธุรกิจในย่านนั้นที่ใช้ถ่านหินเป็นพลังงาน
และหากจะถึงขั้นต้องเปลี่ยนพลังงานอาจต้องลงทุนมากขึ้น และต้นทุนสูงขึ้น นักลงทุนจึงไม่นิยมแนวทางนั้น การไล่ล่าเอาชีวิตแกนนำต่อต้านจึงเกิดขึ้น
ที่มา:  คมชัด ลึก บทเรียนทองนาคเสวกจินดา   https://www.komchadluek.net/detail/20110803/104781/
2.  ประเด็นสำคัญ
 โรงงานอุตสากรรมกับปัญหาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
โรงงานอุตสาหกรรม มีผลดีด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากการใช้เชื้อเพลิง

ถ่านหิน เจ้าปัญหา
3.  สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม    
 ตัวชี้วัด วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา 
-  สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เกิดจากการกระทำของธรรมชาติและ มนุษย์
-  ปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้น ควรมีแนวทางในการดูแลรักษาและป้องกัน
4. เนื้อหา
      การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง ฟอสซิลเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล (อังกฤษ: fossil fuel; เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นศัพท์ทางธรณีวิทยา 
ส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล[1]) หรือแร่เชื้อเพลิง (อังกฤษ: mineral fuel)
 เป็นเชื้อเพลิงอันเกิดแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้แก่ไฮโดรคาร์บอนที่พบจากช่วงชั้นดิน (layer) ด้านบนสุดของเปลือกโลก

    

    ถ่านหินเป็นแร่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็ง มีความเปราะมีสีต่างๆ เช่น สีดำ น้ำตาล น้ำตาลแกมดำ และน้ำตาลเข้ม เกิดจากการทับถมและแปรสภาพจากพืช มี 4 ชนิด คือ
            พีต
            ลิกไนต์
            บิทูมินัส
            แอนทราไซต์
 โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล"

ถ่านหิน เจ้าปัญหา


                วิกฤติการณ์น้ำมันที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วโลก ทำให้หลายฝ่ายตระหนักว่า เราไม่อาจฝากอนาคตไว้กับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อีกต่อไปภารกิจเร่งด่วนของมนุษยชาติคือการเสาะหาแหล่งพลังงานทดแทนเพื่อดับความกระหายพลังงานอันไม่มีที่สิ้นสุด 
      น้ำมันดิบเป็นแร่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของเหลว
 มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบของไฮโดรเจนและคาร์บอน 
จึงถูกเรียกว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบบ่อยที่สุด ที่มีสีน้ำตาลแกมเขียว แต่อาจพบสีอื่นบ้าง เช่น สีเหลืองเข้ม น้ำตาลเกือบดำ
           เมื่อนำน้ำมันดิบมากลั่นแยกจะได้น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ ประเภทต่างๆ ให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง ส่วนที่เหลือจากการกลั่นน้ำมัน และก๊าซหุงต้มแล้ว นำไปใช้เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลนำมาใช้ ประดิษฐ์ของใช้สำเร็จรูปอื่นๆ
อีกประมาณ 300 ชนิด เช่น สารพวกพลาสติก ไนลอน เส้นใยสังเคราะห์ ปุ๋ย ยารักษาโรค สีผงซักฟอก เป็นต้นกากที่เหลือตกค้างซึ่งเป็นส่วน ที่หนักที่สุดจะได้แก่ ยางมะตอยซึ่งนิยมนำมาทำผิวถนนลาดยาง
           น้ำมันดิบเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในสมัยอดีต มีหินปูน ดินเหนียว ทรายและอื่นๆตกตะกอนทับถมมาเป็นชั้นๆ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้าน ของแรงกดดันและอุณหภูมิในชั้นหิน ทำให้เกิดการแปรสภาพทางเคมีและฟิสิกส์ 
กลายเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นน้ำมันดิบแทรกตัวอยู่ในเนื้อของหินดินดาน หินทรายและหินปูนที่มีเนื้อพรุน แหล่งที่พบมาก คือ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่และในอ่าวไทย
 ก๊าซธรรมชาติเกิดเช่นเดียวกับน้ำมันและถ่านหินเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในสถานะของก๊าซส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยก๊าซมีเทนก๊าซนี้นอกจากจะได้จาก
 แหล่งธรรมชาติแล้วยังได้จากการกลั่นน้ำมันและอาจกลั่นหรือสกัดจากขยะหรือ โรงกำจัดของเสียต่างๆ แต่ได้ปริมาณน้อย สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานแทนน้ำมันดิบได้ การใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม ประกอบอาหารหรือให้ความอบอุ่นหรืออื่นๆ ต้องใช้ความระมัดระวังถ้าเกิดการรั่วอาจติดไฟและระเบิดได้ง่าย 
การเจาะหาแหล่งน้ำมันในอ่าวไทยปรากฏพบก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก และสามารถนำมาใช้ได้ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2524 ถึงปัจจุบันก๊าซธรรมชาติเมื่อถูกอัดด้วยความดันสูงและส่งผ่านท่อจากบ่อน้ำมัน หรือถูกทำให้เป็นของเหลวและเก็บเป็น LNG ( Liguefied Petroleum Gas ) จัดเป็นก๊าซธรรมชาติซึ่งได้จากการกลั่นแล้วบรรจุในภาชนะในสภาพ ที่เป็นของเหลวภายใต้ความดันสูง มีองค์ประกอบที่สำคัญคือโพรเพนและบิวเทนซึ่งมีชื่อเรียกทางการค้าหลายชื่อ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซหุงต้ม ก๊าซเหลว เป็นต้น ใช้ในครัวเรือนและวงการอุตสาหกรรมมาก ปกติ LPGเป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่นฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงเติมกลิ่นลงไปเพื่อเตือนให้ทราบในกรณีที่ก๊าซรั่ว สารที่เติมลงไป คือ Ethyl mercaptan , Thiophane sulphide เป็นต้น โดยเติม 680 กรัมต่อ 1,000 แกลลอนของ LPG

ถ่านหิน เจ้าปัญหา

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/
5.   ประเด็น คำถามเพื่อการเรียนรู้

    
                        ให้นักเรียนวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคหมวกคิดหกใบ"

หมวกสีขาว  ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

หมวกสีแดง  นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับโรงงานอุตสากรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

หมวกสีดำ  ข้อเสียโรงงานอุตสากรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

หมวกสีเหลือง ข้อดีของโรงงานอุตสากรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

 หมวกสีเขียว นักเรียนมีแนวคิดอย่างไรกับโรงงานอุตสากรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิล

 หมวกสีฟ้า การจัดการที่เหมาะสมกับโรงงานอุตสากรรมที่ใช้พลังงานฟอสซิลควรทำอย่างไร


6.  กิจกรรมเสนอแนะ
         สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับพลังงานทดแทน
7. บูรณาการ
          ภาษาไทย    การเขียนสื่อความหมาย

8.เอกสารอ้างอิง
 https://th.wikipedia.org/wiki/
 https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/134/3134/images/worldhot_5.jpg
 คมชัด ลึก บทเรียนทองนาคเสวกจินดา   https://www.komchadluek.net/detail/20110803/104781/
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4234

อัพเดทล่าสุด