เรียนรู้"ภูคิ้ง" จากกรณีพี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี


1,347 ผู้ชม


เราคงเคยได้ยินคำว่าอุทยาน รุกขชาติ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ว่าแต่มันมีชื่อเรียกที่ต่างกันแล้ว ความหมายของชื่อเหล่านี้คืออะไมติดตามกันค่   

        เห็นพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ที่พระเอกในดวงใจ คือ“พี่ติ๊ก” เจษฎาพร ผลดี     ตกเป็นข่าวใหญ่ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับ กรณีถูกอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สั่งแจ้งความดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่า “ภูคิ้ง” ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว(ทุ่งกะมัง) 
อ.คอนสารจ.ชัยภูมิ  
         โดยส่วนตัวได้อ่านและรับฟังข่าวแล้ว คิดว่าเป็นเรื่องของการสื่อสารกันที่ไม่ชัดเจน และขอให้
เรื่องนี้จบลงด้วยดี เพราะเจตนาที่พี่ติ๊กกับพี่ตั้นทำเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นมีค่ามากต่อการปลูก
จิตสำนึกของเด็กไทยค่ะ พี่ติ๊กยังลงท้ายคำพูดที่เป็นนักอนุรักษ์ตัวจริงอีกด้วยค่ะ
        “ผมแค่ต้องการให้คนไทยได้เห็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ที่เขาควรจะรู้ และส่งเสริมให้เขา
อนุรักษ์ธรรมชาติ ให้เขาได้รู้สึกว่าเขามีส่วนเป็นเจ้าของเหมือนกัน” 
(https://www.manager.co.th/entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000094444)      
       
       

เรียนรู้"ภูคิ้ง" จากกรณีพี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี

                      ภาพ ภูคิ้งค่ะ

 

        เอาล่ะค่ะ มาดูกันซิว่าครูมีอะไรมาฝากจากข่าวนี้ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน 
สวนพฤกษาศาสตร์ 
เราใช้เกณฑ์ใดในการตั้งชื่อกันค่ะ มาติดตามกันเลยค่ะ

         อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยเกิดขึ้นจาก พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซึ่งได้ให้ความหมายของอุทยานแห่งชาติไว้ว่า ได้แก่ "บริเวณที่ดินแห่งใดที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมเพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน โดยรัฐจะประกาศพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่แสดงแนวเขตแห่งบริเวณที่กำหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กำหนดนี้เรียกว่า อุทยานแห่งชาติ ที่ดินที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ให้มีกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงเกษตรเป็นประธาน อธิบดีกรมป่าไม้ ผู้แทนกรมมหาดไทย ผู้แทนกรมที่ดิน และกรรมการอื่นไม่เกินสิบเอ็ดคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง" แนวคิดเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติริเริ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอุทยานแห่งชาติที่มีชื่อเสียง เช่น อุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอน อุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน อุทยานแห่งชาติโยเซมิตี
        อุ
ทยานแห่งชาติที่สำคัญของไทย เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, อุทยานแห่งชาติภูกระดึง,อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง, อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์,อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นต้น การกระทำสิ่งใดในบริเวณอุทยานแห่งชาติจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ และผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติปัจจุบัน ประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติ 148แห่ง(https://th.wikipedia.org/wikihttps://www.dnp.go.th/npo/Html/Management/Manage_np.html)
                                   เรียนรู้"ภูคิ้ง" จากกรณีพี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี

                                                                                

เรียนรู้"ภูคิ้ง" จากกรณีพี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี

      ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Wildlife sanctuary) เป็นพื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เพื่อให้สัตว์ป่าในพื้นที่ดังกล่าว จะได้มีโอกาสสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้มากขึ้น และทำให้สัตว์ป่าบางส่วนมีโอกาสกระจายพันธุ์ออกไปในท้องที่แหล่งอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและยังมีเขตห้ามล่าสัตว์ป่า คือ พื้นที่ที่กำหนดขึ้นเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าบางชนิดตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ นกน้ำ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของไทย คือ เขตห้ามล่าสัตว์ทะเลน้อย เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นพื้นที่ที่ให้ความคุ้มครองแก่สัตว์ป่า เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งของความหลากหลายของพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ป่า แหล่งที่ระบบนิเวศจะคงความสมดุลย์อยู่ได้ เป็นสถานที่สำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกที่ดีเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่ประชาชนทั่วไป(https://www.talontourthai.com/content/TalonTourThai-Sanctuary/sanctuary.html)
         
       วนอุทยาน (Forest park)  คือ พื้นที่ขนาดเล็กที่จัดตั้งขึ้น เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ มีความสำคัญในระดับท้องถิ่น เช่นน้ำตก หุบเหว หน้าผา ถ้ำ ในสถานที่เหล่านี้จะได้รับการปรับปรุง ตกแต่งให้เหมาะสมกับการพักผ่อนของประชาชน เช่นจัดทำถนน ทางเท้า เพื่อให้สะดวกในการเดินทาง มีโต๊ะ ม้านั่ง ปัจจุบัน มีวนอุทยานจำนวน 56 แห่ง โดยกรมป่าไม้ดูแล  (https://www.brdp3.osrd.go.th/place_nationalpark.php)

        สวนรุกขชาติ คือ แหล่งรวบรวมพรรณไม้ของท้องถิ่นที่มีค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งดอกไม้ที่มีในท้องถิ่นต่างๆ สำหรับศึกษาด้านพันธุ์ไม้สวยงาม และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ปัจจุบันมีจำนวน 45

      สวนพฤกษศาสตร์ คือ สถานที่รวบรวมพรรณไม้ทั้งสดและแห้ง เป็นพันธุ์ไม้ของไทยและของต่างประเทศ โดยจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อการศึกษาทางพฤกษศาสตร์ และเป็นสถานที่ให้ประชาชนได้พักผ่อนหย่อนใจ ขณะนี้มีจำนวน 5 แห่ง

       อุทยานประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางหรือสถานที่โบราณวัตถุ และโบราณสถาน เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางศิลปกรรม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งของประเทศ โดยจัดเป็นแหล่งนันทนาการเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ โบราณคดี และเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีกรมศิลปากรดูแล ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติได้ยกย่อง และประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นมรดกโลกในปี พ.ศ.2534 ปัจจุบันมีอุทยานประวัติศาสตร์จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
 
1.  อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย จ.สุโขทัย ภาคกลาง
2.  อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา จ.อยุธยา ภาคกลาง
3.  อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ภาคกลาง
4.  อุทยานประวัติศาสตร์ พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ภาคอีสาน
5.  อุทยานประวัติศาสตร์ พิมาย จ.นครราชสีมา ภาคอีสาน
6.  อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี จ.เพชรบุรี ภาคกลาง
7.  อุทยานประวัติศาสตร์ เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี ภาคตะวันตก
8.  อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ภาคกลาง
9.  อุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร ภาคกลาง 
(https://www.brdp3.osrd.go.th/place_historypark.php)
                                                                                  

คำถามเร้าความสนใจ
1. นักเรียนคิดว่าเหตุใดบริเวณดังกล่าวของภูคิ้งจึงต้องมีหารหวงห้าม
2. นักเรียนคิดว่าจะมีวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ธรรมชาติในเมืองไทยอย่างไร
กิจกรรมเสนอเนอะ
1. ให้นักเรียนจัดทำโมเดลอุทยานที่นักเรียนสนใจ พร้อมอธิบายส่วนประกอบภายในโมเดล
ความรู้คู่บูรณาการ
1. วิชาอังกฤษ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษาศาสตร์เหล่านี้มีชื่อภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
2. วิชาภาษาไทย เรียงความเรื่อง หัวใจของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

สาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สาระที่ 2 
ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่นประเทศ และโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
     
1. วิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก
     2. อภิปรายแนวทางในการป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
     3. วางแผนและดำเนินการเฝ้าระวัง อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ขอขอบคุณ
เนื้อหา อ้างอิงจาก

1. https://www.manager.co.th/entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9540000094444
2. https://th.wikipedia.org/wikihttps://www.dnp.go.th/npo/Html/Management/Manage_np.html
3. https://www.talontourthai.com/content/TalonTourThai-Sanctuary/sanctuary.html
4. https://www.brdp3.osrd.go.th/place_nationalpark.php
5. https://www.brdp3.osrd.go.th/place_historypark.php

ภาพอ้างอิงจาก
1. ยอดภูคิ้ง 
https://chomthai.weloveshopping.com/forum/showimages.php?
                    images=1191412278.jpg
2. ภาพพี่ติ๊กจาก 
https://www.mornor.com/2009/forum/viewthread.php?
                   action=printable&tid=63202
3. ภาพแกรนแคนยอน และเยลโลสโตน จากhttps://cherokee.exteen.com/20080512/entry
4. ภาพโยเซมิตี  จาก https://www.khirivoyages.com/laxxxn-tourinfo-id73-status0.aspx
5. ภาพอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จาก https://www.nookjung.com/travel/168
6. ภาพอุทยาแห่งชาติภูกระดึง จาก https://www.oceansmile.com/E/Leo/LeaForest3.htm
7. ภาพอุทยานหมู่เกาะแห่งชาติอ่างทอง จาก  
                  
https://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1021

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4278

อัพเดทล่าสุด