พบกบจมูกยาว "พินอคคิโอ" ใน "โลกหลงสำรวจ"


1,346 ผู้ชม


ทีมสำรวจนานาชาติพบสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนภูเขาโฟยา (Foja) อันห่างไกลบนเกาะนิวกินี ในจังหวัดปาปัว อินโดนีเซีย   

      ทีมสำรวจนานาชาติพบสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนภูเขาโฟยา (Foja) อันห่างไกลบนเกาะนิวกินี ในจังหวัดปาปัว อินโดนีเซีย ระหว่างการสำรวจเมื่อปลายปี 2008 และรอยเตอร์ระบุว่า พวกเขาได้เผยรายละเอียดพร้อมภาพถ่ายของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นในสัปดาห์นี้ก่อนวันความหลากหลายทางชีวภาพสากล (International Day for Biological Diversity)

พบกบจมูกยาว "พินอคคิโอ" ใน "โลกหลงสำรวจ"

ตัววอลลาบีพันธุ์ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัตว์ในวงศ์จิงโจ้ที่เล็กที่สุด (รอยเตอร์)

https://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1558704

พบกบจมูกยาว "พินอคคิโอ" ใน "โลกหลงสำรวจ"

 ตุ๊กแกตาเหลืองนิ้วงอ ใน "โลกหลงสำรวจ" (รอยเตอร์) 

พบกบจมูกยาว "พินอคคิโอ" ใน "โลกหลงสำรวจ"

หนูต้นไม้ (รอยเตอร์)

https://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1558706

พบกบจมูกยาว "พินอคคิโอ" ใน "โลกหลงสำรวจ"

 หนูขนยาวเชื่องๆ ในโลกหลงสำรวจ (รอยเตอร์)

ผีเสื้อที่ไม่เคยเห็นก็พบในป่าอินโดนีเซียด้วย (รอยเตอร์)

https://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1558708

2. ประเด็นจากข่าวเพื่อนำไปสู่เนื้อหาหลัก
     ตามรายงานของกลุ่มอนุรักษ์สากล (Conservation International) และกลุ่มเนชันนัลจีโอกราฟิก (National Geographic Society) เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่พบระหว่างสำรวจนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและแมลงอีกครึ่งโหล ทั้งนี้ภูเขาโฟยาในอินโดนีเซียนั้นมีพื้นที่กว้างใหญ่ซึ่งเป็นป่าฝนที่ยังไม่ถูกการพัฒนารุกล้ำและยังไม่ถูกรบกวน

3. เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
      สาระที่  ๑   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
      มาตรฐาน ว  ๑.๒    เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
      ตัวชี้วัด    ว 1.2  ม.3/ 4, 5, 6  
                    ว 8.1 ม.1-3/8, 9
 

4. เนื้อเรื่อง  เรื่อง พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
 ความหลากหลายทางชีวภาพที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่อย่างสมดุล ขึ้นอยู่กับความหลากหลายของระบบนิเวศ  ความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายทางพันธุกรรม
 การตัดไม้ทำลายป่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  สัตว์ พืชและสิ่งแวดล้อม
 การใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์และพืช ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
 ผลของเทคโนโลยีชีวภาพ มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม
 การอนุรักษ์ความหลากหลายของท้องถิ่น   การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทำได้หลายวิธี  ดังนี้
            1. จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมให้คงความหลากหลายทางชีวภาพไว้มากที่สุด
            2. จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์หรือพิทักษ์สิ่งมีชีวิตนอกถิ่นกำเนิด เพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวที่ปลอดภัย ก่อนนำกลับไปสู่ธรรมชาติ เช่น สวนพฤกศาสตร์ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
            3. ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม และใช้ต้นไม้ล้อมรั้วบ้านหรือแปลงเกษตร เพื่อให้มีพืชและสัตว์หลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง
ความหลากหลายของระบบนิเวศ

5. ตั้งประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
      - สาเหตุสำคัญใดที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม
      - มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลาย
      - มีสัตว์ป่าปัจจุบันนี้ชนิดใดที่บ้างสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว
      - การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทำได้โดยวิธีใด

6. กิจกรรมเสนอแนะ  
     - การไปศึกษาสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ

7. การบูรณาการรายวิชาอื่น 
       สังคมศาสนาและวัฒนธรรม
       ภาษาไทย  

8. ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล                  https://www.ezytrip.com/Thailand/North/ChiangMai/QueenSirikitBotanicalGarden/QueenSirikitBotanicalGarden
https://w6.thaiwebwizard.com/member/elite/images/Chiang%20Mai/สวนพฤกษศาสตร์6.jpg
https://thai.tourismthailand.org/fileadmin/upload_img/Attraction/3993/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%
 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4281

อัพเดทล่าสุด