สะพานถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามเหว แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ
สะพานถือเป็นตัวเชื่อมสำคัญมากระหว่างฝั่งสำหรับข้ามเหว แม่น้ำ หรือพื้นน้ำต่างๆ
ที่มาของภาพ https://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=223817&st=228,
https://www.wondersonworld.ob.tcสะพานโกลเดนเกต
สะพานข้ามแม่น้ำคำ ซึ่งเป็นสะพานขนาดใหญ่ข้ามแม่น้ำคำบนถนนสายเชียงแสน - เชียงของ
ในเขต อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ทรุดพังลงไปในแม่น้ำคำเป็นระยะทางประมาณ 30 เมตร
(ที่มา ไทยรัฐออนไลน์) สะพานเป็นสิ่งที่ก่อสร้างที่อยู่คู่กับถนนทุกสาย และเป็นสิ่งที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
เพราะเป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามเหว แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก จึงมักถูกบันทึกว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก เช่น สะพานแขวน
ที่เชื่อมถนนและทางรถไฟยาวที่สุดในโลก ดังเช่น สะพานเซโตะ โอฮาชิ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีความยาวถึง
9.4 กิโลเมตร วัสดุที่นิยมใช้ทำสะพาน ได้แก่ไม้ หิน อิฐ ซีเมนต์ เชือก เหล็กและขั้นตอนการสร้างสะพาน
ทำอย่างไรมาดูกันนะคะ
สะพานหัก ที่มา youtube.com
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทุกระดับชั้น และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย
การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง สะพาน (bridge)
สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามเหว แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ
การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง
(เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่อง
ระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว
สะพาน แบ่งออก 5 เป็ นประเภท คือ
1.สะพานไม้
2.สะพานขึง หรือสะพานแขวน
3.สะพานเหล็ก
4.สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
5.สะพานวัสดุหิน อิฐ
ที่มาของภาพนิตยสารเกียร์
(https://www.gearmag.info/topic_detail.php?emag_id=2%20&%20topic_id=176%20&%20topic_value=16)
การสร้างสะพาน
สะพานในยุคแรก จะสร้างด้วยท่อนไม้ หรือหิน โดยมีลักษณะโครงสร้างแบบเรียบง่าย โดยใช้โครงสร้างอาร์ช
พบเห็นได้ในยุคโรมัน สำหรับสะพานที่ใช้สำหรับเป็นทางส่งน้ำ ซึ่งในยุคโรมันได้มีการใช้ ซีเมนต์ ซึ่งพบได้จาก
ส่วนประกอบของหินในธรรมชาติ สะพานอิฐ เริ่มมีการสร้างในยุคต่อมา
สะพานเชือก เป็นสะพานที่ขึงทั้งสองข้างของหน้าผาด้วยเชือก และขั้นที่เหยียบอาจจะเป็นแผ่นไม้หรือว่าเชือก
ได้มีการเริ่มใช้โดยเผ่าอินคา ในบริเวณเทือกเขา Andes ใน ทวีปอเมริกาใต้ ก่อนยุคการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้นิยมนำเหล็ก มาทำเป็นสะพาน โดยเชื่อมต่อในระบบโครงสร้างทรัส สำหรับสะพาน
ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา
วัสดุที่ใช้ทำสะพาน
วัสดุที่นิยมใช้คือ ไม้ หิน อิฐ ซีเมนต์ เชือก เหล็ก คอนกรีต
ไม้
ที่มา https://pairoegroup.blogspot.com/2011/03/blog-post.html
ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง
และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้
แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย
หิน
ที่มา https://www.jomyutnoi.com/shadow/show.php?id=48
หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป
หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ
เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ
หินอัคนี (Igneous Rocks)
หินตะกอน (Sedimentary Rocks)
หินแปร (Metamorphic Rocks)
หรือกล่าวได้ว่า หิน คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ
เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่
มักเป็นแร่ตระกูล ซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็น
คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ
อิฐ
ที่มา https://www.nanagarden.com
อิฐ เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างอาคารทั่วไป อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว
ทราย แกลบ และน้ำ สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน
ประเภทของอิฐ
อิฐสามัญ เรียกกันโดยทั่วไปว่า อิฐมอญ
อิฐขาว
อิฐโปร่ง
อิฐประดับ
อิฐทนไฟ
อิฐมวลเบา
อิฐแดงก่ออาคาร
การผลิตอิฐ
การผลิตอิฐโดยทั่วไป จะผสมดินเหนียว แกลบ ทราย และน้ำ นวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว กดใส่ลงในแบบพิมพ์
แล้วนำเข้าเตาเผา สำหรับอิฐพิเศษอื่นๆ จะผสมสารหรือวัสดุเพิ่ม เช่น หินเกร็ด สำหรับอิฐประดับ เป็นต้น นอกจากนี้
อิฐพิเศษบางประเภทอาจใช้กรรมวิธีการอัดเข้าแม่พิมพ์ด้วยแรงกดสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการป้องกันความร้อน
และทนความชื้นได้สูง
ซีเมนต์
ที่มา https://www.thaicontractors.com/content/gallery/1.html
ซีเมนต์ หรือปูนซีเมนต์ (cement) เป็นวัสดุหลักในการผลิตคอนกรีต ผลิตจากหินปูน ซิลิก้า อลูมิน่า สินแร่เหล็ก
ยิปซั่ม และสารเพิ่มพิเศษอื่น ๆ
ประเภทของซีเมนต์
1.ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ( Ordinary Portland )
2.ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลง (Modified Portland Cement )
3.ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แข็งตัวเร็ว ( High - Early Portland Cement )
4.ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เกิดความร้อนต่ำ (Low - Heat Portland Cement )
5.ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทนเกลือซัลเฟตได้สูง (Sulfate – Resistant Portland Cement )
นอกจากนี้ยังมีซีเมนต์พิเศษ อื่น ๆ เช่น
ซีเมนต์ผสม สำหรับใช้งานก่อ และฉาบ
ซีเมนต์ขาว สำหรับงานตกแต่ง ปูกระเบื้อง
ซีเมนต์พิเศษอื่น ๆ สำหรับงานบ่อขุดเจาะน้ำมัน ฯลฯ
เชือก
ที่มา https://board.palungjit.com
เชือก (Fiber Rope Slings) ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ ที่นำมาถักเกลียวรวมเป็นเส้นเชือก
เชือกถูกนำมาใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุตั้งแต่ยุคแรกๆ โดยทั่วไปเชือกมักใช้ในงานเคลื่อนย้ายวัสดุชั่วคราว เช่น ในงานก่อสร้าง งานทาสี งานประมง เป็นต้น คุณสมบัติของเชือก จะเหนียว ยืดหยุ่นได้ดี โค้งงอได้มาก ทำให้ยึดเกาะกับวัสดุที่จะเคลื่อนย้ายได้ดีและไม่ทำให้ผิวของวัสดุได้รับความเสียหายหรือมีรอยตำหนิ
เชือกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามวัสดุที่ใช้ทำ คือ
1.เชือกที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ (Nature Fiber Rope Slings) วัตถุดิบที่ใช้ทำเชือกประเภทนี้มีหลายชนิด
เช่น ไซแซล (Sisal) มะนิลา (Manila) เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ เชือกที่ทำจากมะนิลา จึงเรียกกันติดปากว่า เชือกมะนิลา เชือกมะนิลามีสีเหลืองอ่อนหรือสีงาช้างและมีความมันเงา ความเหนียว และความแข็งแรง
2.เชือกที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic Fiber Rope Slings) เป็นเชือกที่ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก
เนื่องจากมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ความเบา ดีกว่าเชือกที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ รวมทั้งการต่อ (Splices) เชือกที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ทำได้ง่ายและมีความแข็งแรง (Strength) ใกล้เคียงกับความแข็งแรงของเส้นเชือก วัสดุที่นิยมให้ทำเส้นเชือกมีหลายชนิด เช่น ไนลอน (Nylon) โพลีเอสเตอร์ ( Polyester) โพลีโพรพิลีน (Polypropylene) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไนลอนและโพลีเอสเตอร์เป็นเชือกที่นิยมใช้ในการเคลื่อนย้ายวัสดุมากที่สุด
เชือกมะนิลาและเชือกที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์มีความแข็งแรง (Strength) หรือความทนแรงดึงได้แตกต่างกัน รวมทั้งน้ำหนักของเส้นเชือกก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเชือก
เหล็ก
ที่มา https://www.nanasupplier.com/Content.aspx?id=10013
เหล็ก (Iron) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์เป็น Fe และ หมายเลขอะตอม 26 เหล็กอยู่ในธาตุหมู่ 8 และคาบ 4 โลหะสัญลักษณ์ Fe ย่อมาจากferrum ในภาษาละติน แปลว่าเหล็ก สมบัติมีความแวววาวเพราะว่ามีลักษณะโลหะ และมีสีเทา
คอนกรีต
ที่มา https://www.phuketandamanconcrete.com/2010/01/blog-post_09.html
คอนกรีต เป็นวัสดุผสมที่นิยมใช้ในงานก่อสร้างประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ ปูนซีเมนต์ วัสดุผสม (เช่น หิน ทราย หรือ กรวด) และ น้ำ โดยอาจจะมีสารเคมีเติมเพิ่มเข้าไปสำหรับคุณสมบัติด้านอื่น เมื่อผสมเสร็จคอนกรีตจะแข็งตัวอย่างช้าๆ ซึ่งน้ำและซีเมนต์จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกันในลักษณะที่เรียกว่าการไฮเดรชัน โดยซีเมนต์จะเริ่มจับตัวกับวัสดุอื่นและแข็งตัว ซึ่งในสถานะนี้จะนิยมเรียกกันว่าคอนกรีต ความแข็งแรงของคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่ผสม และยังแข็งแรงขึ้นภายหลังจากการแข็งตัว โดยประมาณหลังจากแข็งตัวแล้ว 28 วัน ความแข็งแรงจะเริ่มคงที่
คอนกรีตมีใช้กันในงานก่อสร้างหลายชนิด ซึ่งรวมถึง อาคาร ถนน เขื่อน สะพาน อนุสาวรีย์ และงานก่อสร้างต่างๆ
ซึ่งมีเห็นได้ทั่วไป
คุณสมบัติหลักของคอนกรีตคือการรับแรงอัดสูง ในขณะที่สามารถรับแรงดึงได้ต่ำ (ประมาณ 10% ของแรงอัด) โดยเมื่อต้องการให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึง จะมีการเสริมวัสดุอื่นเพิ่มเข้าไปในคอนกรีตโดยจะเรียกว่า คอนกรีตเสริมแรง หรือคอนกรีตเสริมเหล็กที่เรียกกัน (โดยเสริมแรงด้วยเหล็ก) วัสดุเหล่านี้จะช่วยรับแรงดึงภายในคอนกรีต ซึ่งงานโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่นิยมใช้คอนกรีตเสริมแรงแทนที่คอนกรีตเปลือย
ขั้นตอนการสร้างสะพาน
1.สะพานไม้
การก่อสร้างสะพานไม้
วัสดุในการก่อสร้าง คือ ไม้ มีท้ังไม้เนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของของความ
ต้องการของการใช้งาน
ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ไผ่ เป็ นต้น
ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้มะค่า เป็ นต้น
วัสดุในการเชื่อมยึดไม้ ขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้าง ส่วนใหญ่ จะใช้ ตะปู น็อต สกรู เป็ นต้น
สะพานไม้ ที่มา https://www.gotoknow.org/blog/pandin/87186
2. สะพานขึง หรือสะพานแขวน
การก่อสร้างสะพานขึง หรือสะพานแขวน
วัสดุในการก่อสร้าง คือ ไม้หรือเหล็ก , เชือกหรือสายเคเบิล ในอดีตการก่อสร้างจะใช้วัสดุ คือ ไม้
กับเชือก เพราะ ไม้มีน้า หนักเบา สามารถรองรับน้า หนัก การใช้งานที่ไม่หนักมาก แต่ปัจจุบันการใช้งาน
ของสะพานต้องรองรับน้า หนักมาก การก่อสร้างจึงต้องคา นึงถึงความแข็งแรง จึงมีการเปลี่ยนวัสดุในการ
ก่อสร้างเป็ น เหล็กและสายเคเบิล ที่มีความแข็งแรงทนทาน
สายเคเบิ้ล ประกอบด้วยเส้นลวดหลายๆ เส้นพันอยู่ด้วยกัน หากสายเคเบิ้ลคุณภาพดีที่ใช้ส าหรับ
ขึงสะพานแล้ว เส้นลวดแต่ละเส้นภายในสายเคเบิ้ลจะต้องเป็ นเส้นลวดดึงสูงชุบสังกะสีและอาบขี้ผึ้งเพื่อ
กันสนิมโดยนา ไปตีเกลียวให้เป็ นเส้นลวดขนาดใหญ่ขึ้นแล้วนา ไปหุ้มพลาสติก โพลิเอทิลีน (polyethylene )
อีกคร้ังหนึ่งเพื่อกันสนิม จากน้ันจึงหุ้มกลุ่มเส้นลวดท้ังหมดด้วยท่อโพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง
(highdensity polyethylene) ซึ่งจา นวนเส้นลวดในแต่ละกลุ่มที่ใช้ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้สายเคเบิ้ลมีความ
สามรถรับแรงดึงได้มากน้อยแค่ไหน
สะพานแขวน Akashi-Kaikyō Bridge
ที่มา https://www.thebestinsure.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539148243&Ntype=11
3.สะพานเหล็ก
โดยหลังจากการก่อสร้างเสร็จแล้ว จะต้องทาสีเพื่อความคงทนและความสวยงาม เพราะสีจะช่วยยืด
อายุการใช้งานของสะพานได้ โดยสีทารองพื้นและสีทากันสนิม
การเชื่อมยึดโครงสร้างสะพานเหล็ก มี 2 วิธี คือ
1.การเชื่อมเหล็ก เหมาะกับสะพานที่ต้องรองรับน้า หนักมาก
2.การขันน็อต เหมาะกับสะพานที่สร้างชั่วคราวสามารถรื้อถอนหือก่อสร้างง่ายได้ง่าย
สะพานเหล็ก
ที่มา https://www.samchuk.go.th/accomplishment-detail.php?id=33
สะพานที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ
สะพานอะคะชิไคเคียว - สะพานแขวนที่ยาวที่สุดในประเทศญี่ปุ่น และมีระยะห่างระหว่างสองเสาสะพานมากที่สุด
ในโลก คือ 1,991 เมตร เชื่อมเกาะอวาจิกับเมืองโกเบ
สะพานโกลเดนเกต - หนึ่งในสะพานที่สวยและแข็งแรงที่สุดในสหรัฐอเมริกา อยูที่เมืองซานฟรานซิสโก
สะพานลอนดอน - สะพานข้ามแม่น้ำเทมส์ ในลอนดอน
สะพานบรูคลิน
สะพานที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ)
สะพานพระราม 3
สะพานพระราม 6
สะพานพระราม 8
สะพานพระราม 9
สะพานกรุงเทพ
สะพานกรุงธน
สะพานพระปกเกล้า
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
สะพานภูมิพล (สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม)
สะพานนวรัตน์
สะพานเดชาติวงศ์
สะพานปรีดี-ธำรง
สะพานนเรศวร
สะพานรัษฎาภิเศก
สะพานสารสิน
สะพานนริศ
สะพานติณสูลานนท์
สะพานเปี่ยมพงษ์สานต์
สะพานแหลมสิงห์
สะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ , สำนักข่าวเจ้าพระยา
ดังนั้นสะพานถือเป็นตัวเชื่อมสำคัญเพื่อข้ามเหว แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ ซึ่งทำจากวัสดุ
หลายชนิดได้แก่ ไม้ หิน อิฐ ซีเมนต์ เชือก เหล็ก คอนกรีต ตามแบบของสะพานที่ต้องการสร้างค่ะ
คำถาม VIP ชวนคิด
1. วัสดุใดบ้างที่ใช้ทำสะพาน
2. คอนกรีตเกิดจากส่วนผสมของสารใด
3. สะพานแขวนกับสะพานเหล็กเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องสะพานเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
2. กิจกรรมทัศนศึกษา
การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับความสำคัญของสะพาน
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำสถิติว่าอยู่ในประเทศใดมีสะพานแขวนมากที่สุด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศที่แหล่งที่สร้างสะพานสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนลองประดิษฐ์สะพานจากเศษวัสดุ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นักเรียนวาดภาพสะพานที่ชื่นชอบ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของสะพาน
ขอขอบคุณ
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ ดังนี้
1. https://www.thairath.co.th/content/region/194370
2. https://th.wikipedia.org/wiki/ไม้
3. https://th.wikipedia.org/wiki/ หิน
4. https://www.rmutphysics.com/charud/scibook/Material1/index_bridge.html
5. https://th.wikipedia.org/wiki/ อิฐ
6. https://th.wikipedia.org/wiki/ซีเมนต์
7. https://th.wikipedia.org/wiki/เชือก
8. https://th.wikipedia.org/wiki/เหล็ก
9. https://th.wikipedia.org/wiki/คอนกรีต
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4297