เสื้อสวย แสนอันตราย


871 ผู้ชม


เสื้อผ้าที่เราสวมใส่แสนสวยรู้ไหมว่ามีอันตรายแฝงอยู่   

เสื้อสวย แสนอันตราย
  1.บทนำ
            เสื้อผ้าที่เราสวมใส่แสนสวยเพื่อความอบอุ่นเพื่อปิดบังความอับอายหรือเพื่อแฟชั่นนำสมัย
 รู้ไหมว่ามีอันตรายแฝงอยู่ ในกระบวนการผลิตโรงงานอุตสหกรรมการผลิตเสื้อผ้าเป็นอุตสาหกรรมที่
ที่สำคัญในแถบเอเชีย เช่นจีน อินโดนีเชีย เวียดนาม รวมทั้งประเทศไทยโดยมีโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมและสิ่งทอเป็นจำนวนมากเป็นแหล่งส่งออกเสื้อผ้าที่สำคัญของโลกเสื้อผ้าแบรนเนม เช่น ไนกี้ พูมา อดิดาส แก็ป อัมโบร รีบ็อกฯ  ในกระบวนการผลิตนั้นมีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก นั่นหมายถึงต้องมีการปล่อยน้ำเสียออกไปเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
            ซึ่งมันไม่ได้เป็นการใช้น้ำและปล่อยน้ำเสียอย่างเดียว แต่มีสารเคมีอันตรายที่ใช้ในกระบวนการผลิตปนเปื้อนไปด้วย 
สารเคมีอันตรายที่ว่านี้คือ “สารโนนิลฟีนอลอีทอกซิเลท” (Nonylphenol Ethoxylates หรือ NPEs)สารพิษอันตรายนี้เมื่อถูกปล่อยออกมาแล้วไม่สามารถกำจัดได้ เพราะมีคุณสมบัติตกค้างยาวนานไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเมื่อสารพิษไปสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร เช่น ไปอยู่ในสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เป็นอาหารของปลาและเมื่อปลากินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ นี้เข้าไปก็อยู่ในตัวปลาและเมื่อมาถึงคนซึ่งเป็นห่วงโซ่สูงสุดรับประทานปลาเข้าไปก็ได้รับสารพิษนั้น 
              นอกจากการพบสารโนนิลฟีนอลในกระบวนการผลิตแล้ว เรายังพบสารพิษนี้ปนเปื้อนมากับเสื้อผ้าที่ผู้บริโภคซื้อมาใช้ด้วยผลกระทบต่อมนุษย์ได้จากการปนเปื้อนสารพิษในห่วงโซ่อาหาร โดยสารโนนิลฟีนอล นี้จะเข้าไปรบกวนระบบฮอร์โมน
ซึ่งไม่ใช่เฉพาะสัตว์แต่รวมถึงมนุษย์ด้วยอาจจะมีฮอร์โมนผิดพลาดหรือทำลายการทำงานฮอร์โมนของมนุษย์ 
โดยสารตัวนี้มีผลในระยะยาวไม่ใช่แค่โดนสารนี้แล้วจะเป็นทันทีทันใด แต่สารพิษจะค่อย ๆ สะสมอยู่ในร่างกายเมื่อถึงปริมาณที่มากพอแล้วก็ก่อให้เกิดผลกระทบและที่สำคัญสารพิษนี้ไม่ได้ปนเปื้อนแค่อาหารที่เรารับประทานเข้าไป แต่มันปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่ม ซึ่งก็คือน้ำดื่มของเรามาจากแม่น้ำหากไปอยู่ท่อประปา เมื่อนำมาต้มหรือกรองก็ไม่สามารถกำจัดออกไปได้
ที่มา เดลินิวส์ วาไรตี้วันพุธ ที่ 31 สิงหาคม 2554 
https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=160273
2.ประเด็นสำคัญ
      สารพิษตกค้างในน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้า  โดยสารโนนิลฟีนอล ในกระบวนการผลิต 
สารพิษปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร สะสมในในสิ่งมีชีวิต ในระยะยาวส่งผลต่อระบบฮอร์โมน

เสื้อสวย แสนอันตรายเสื้อสวย แสนอันตราย

เสื้อสวย แสนอันตราย


3.  สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มาตรฐาน ว ๒. ๑   เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ 
 หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ช่วงชั้นที่ 2-3
มาตรฐาน ว ๒.๒    เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ
 และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
4.สาระสำคัญ
       น้ำมีความสำคัญต่อชีวิตและน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม   น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น
 เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำ
มีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้วจะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก เรียกว่าวัฎจักรของน้ำ
ปัญหาของทรัพยากรน้ำ เป็นปัญหามลพิษทางน้ำ
มลพิษทางน้ำ หมายถึง สภาพน้ำที่เสื่อมคุณภาพ น้ำจะมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากสภาพธรรมชาติ เนื่องจากมีสารมลพิษเข้าไปปะปนอยู่มาก น้ำในสภาพเช่นนี้ไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ไม่เหมาะต่อการบริโภคและอุปโภคของมนุษย์
 เช่น น้ำที่มีสีผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นน้ำที่มีสารเคมีที่เป็นพิษหรือเชื้อโรคปะปนอยู่ รวมทั้งน้ำที่มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ

 การตรวจสอบมลพิษทางน้ำ สามารถหาได้ ดังนี้
                       1. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านชีววิทยา( Biological quality ) ได้แก่ปริมาณจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟร์อม หรือ ฟิคัลโคลิฟร์อม
                       2. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านเคมี ( Chemical quality ) ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ( Dissolved Oxygen : DO ) 
ความสกปรกอยู่ในรูปของอินทรีย์สาร ( Biological Oxygen Demand : BOD ) ความเป็นกรดด่าง ( pH ) ของธาตุและสารประกอบต่างๆ ในน้ำ
                       3. ดัชนีที่แสดงคุณภาพของน้ำด้านกายภาพ ( Physical quality ) ได้แก่ ลักษณะของ สี กลิ่น ความขุ่น อุณหภูมิ การนำไฟฟ้า  สารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำ ฯลฯ 
                   

เสื้อสวย แสนอันตราย

    ลักษณะของน้ำเสียทางเคมี เช่น
           -ออกซิเจนละลาย การหาดีโอ(DO)หรืออกซิเจนละลาย สามารถทำได้ทั้งวิธีทางเคมี และใช้เครื่องวัดโดยตรง
น้ำที่มีคุณภาพดีโดยทั่วไปจะมีค่า DO ประมาณ 5-8 ppm หรือปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 5-8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 5-8 ppm 
น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 ppm ค่า DO มีความสำคัญในการบ่งบอกว่าแหล่งน้ำนั้นมีปริมาณออกซิเจน
เพียงพอต่อความต้องการของสิ่งมีชีวิตหรือไม
          
-บีโอดี(BOD)  หมายถึง ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยแบคทีเรีย  น้ำที่มีคุณภาพดี ควรมีค่าบีโอดี ไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อลิตร
         -ซีโอดี(COD)หมายถึง ปริมาณออกซิเจนทั้งหมดที่ต้องการใช้เพื่อออกซิเดชันสารอินทรีย์ในน้ำ
 ด้วยสารเคมีซึ่งมีอำนาจในการออกซิไดส์สูงในสารละลายที่เป็นกรด ให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำ 
ค่าซีโอดีมีความสำคัญในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำทิ้ง การควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย ค่า COD นี้มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม/ลิตร
      -ค่าความกรด-ด่าง(pH)มีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพน้ำและน้ำเสียควบคุมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดการกัดกร่อนของท่อ เพื่อใช้ในการควบคุมสารเคมีที่ใช้บำบัดน้ำเสียให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
โดยทั่วไปน้ำมีค่า pH อยุ่ในช่วง 5-8น้ำดื่มควรมีค่า pH ระหว่าง 6.8-7.3 ค่า pH เป็นค่าที่แสดงปริมาณความเข้มข้นของอนุภาคไฮโดรเจนในน้ำ
   -ไนโตรเจน เป็นธาตุที่มีความสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้พืชน้ำมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
   -สารโลหะหนักชนิดต่างๆขึ้นอยุ่กับชนิดของอุตสาหกรรม สารโลหะหนักยอมให้มีได้ในน้ำในปริมาณที่น้อยมากเนื่องจากบางตัวให้ความเป็นพิษสูงแต่บางชนิดหากทีปริมาณไม่มากนักจะมีผลดีต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
5. ประเด็นคำถามเพื่อการอภิปรายในห้องเรียน
                   -  หากนักเรียนอาศัยอยู่ริมแม่น้ำที่มีน้ำเสียจากโรงงานจะทำอย่างไร
    -  นักเรียนจะเสนอแนวทางอนุรักษ์น้ำอย่างไร
6. บูรณาการสาระอื่น
      สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี  สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
      สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์คำนวณหา  ค่า DO,บีโอดี(BOD) ค่า pH 
      สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การอ่านเขียนสรุปความรู้
      ภาษาอังกฤษ คำศัพท์ Chemical quality ,Dissolved Oxygen : DO, Biological Oxygen Demand : BOD 
7.ข้อเสนอแนะ
   -  ในการจัดการเรียนรู้เรื่องน้ำ ควรใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต ทดลอง โดยนำน้ำจากแหล่งน้ำที่มีในท้องถิ่นมาวิเคราะห์
 เพื่อหาแนวทางร่วมมือกันแก้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
-  .ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL)
8.  เอกสารอ้างอิง
https://www.dailynews.co.th/
https://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/picture/7

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4324

อัพเดทล่าสุด