โรคที่มากับน้ำท่วม


873 ผู้ชม


ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตาแดง ฯลฯ   

โรคที่มากับน้ำท่วม โรคติดต่อที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม และหลังน้ำท่วม ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตาแดง โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก โรคหัด และโรคไข้มาลาเรีย โรคเหล่านี้ที่สำคัญคือ เชื้อแพร่มากับน้ำ รวมทั้งอาหารที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผล เช่นแผลจากน้ำกัดเท้า พวกนี้ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญ จะมีโอกาสติดเชื้อโรคฉี่หนู หรือเล็ปโตสไปโรสิสได้ง่าย เชื้อเล็ปโตสามารถเข้าทางบาดแผลได้เก่งมากครับ เนื่องจากมีความสามารถในการชอนไช

วิธีป้องกันต้องสวมรองเท้าบู๊ต ป้องกันน้ำถูกแผล และอย่าเดินลุยน้ำสกปรก ซึ่งถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำ ก็ต้องล้างเท้าด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง หน่วยสุขศึกษาเคลื่อนที่ ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันตัวเอง ถือเป็นมาตราการเชิงรุกที่ได้ผลดีอย่างหนึ่ง โรคที่มากับน้ำท่วม มหันตภัยที่แฝงมาทำร้ายผู้คนพร้อมกับน้ำท่วมมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ โรคน้ำกัดเท้า และผื่นคัน ไข้หวัด โรคเครียดวิตกกังวล โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง และสัตว์มีพิษกัด โรคน้ำกัดเท้า และผื่นคัน

โรคผิวหนัง

  1. โรคผิวหนังที่พบบ่อย ได้แก่ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ไม่แห้งเป็นเวลานาน
  2. ในระยะแรกอาจมีอาการเท้าเปื่อย และเป็นหนอง ต่อมาเริ่มมีอาการคันตามซอกนิ้วเท้า และผิวหนังลอกออกเป็นขุย มีผื่น ระยะหลังๆผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก อาจเกิดโรคแทรกซ้อน คือ ผิวหนังอักเสบได้
  3. ป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นต้องย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ และเช็ดให้แห้งเมื่อกลับเข้าบ้าน สวมใส่ถุงเท้า รองเท้า และเสื้อผ้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ หรือเบตาดีน

โรคน้ำกัดเท้า และผื่นคัน โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต จะมีอาการคันจากเชื้อราที่มาจากการแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานจนทำให้ราร้ายตัวนี้เจริญเติบโตไปตามซอกนิ้วเท้า โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุย เกิดผื่นที่เท้าผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนา พบบ่อยที่ซอกนิ้ว แต่อาจลุกลามไปถึงฝ่าเท้า และเล็บได้ การรักษา และป้องกันทำได้โดยล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่ และเช็คให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดไม่เปียกชื้น และไม่ใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน

ไข้หวัด

  1. โรคที่มากับน้ำท่วมเกิดจากเชื้อไวรัส ก่อโรคในบุคคลทุกเพศทุกวัย พบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเชื้อโรคแพร่กระจายมาจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ หรือสิ่งของใช้ของผู้ป่วย
  2. มักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้เล็กน้อย คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอ จาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
  3. หายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

ไข้หวัด เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าสู่จมูก และคอ จะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลั่งของเมือกออกมา โดยผู้ที่เป็นไข้หวัดจะมีอาการจาม และน้ำมูกไหลนำมาก่อนอ่อนเพลียปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน มีการระบาดหนักในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากความชื้นต่ำ และอากาศเย็น ติดต่อได้จากน้ำลาย และเสมหะผู้ป่วยให้พัก และดื่มน้ำมากๆ สิ่งที่สำคัญในการป้องกันคือดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงตลอดเวลา

ไข้หวัดใหญ่

  1. เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดโรคได้ในคนทุกเพศทุกวัย เชื้อจะแพร่กระจายอยู่ในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย น้ำมูก และสิ่งของใช้ของผู้ป่วย จึงมีโอกาสติดต่อกันได้ง่าย
  2. มักมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก มีน้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย
  3. ผู้ป่วยควรใช้ผ้าปิดปาก และจมูกเวลาไอ จาม หรือควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษนุ่มสะอาด เช็ดน้ำมูก และไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะอาจทำให้เกิดหูอักเสบได้
  4. กินอาหารที่อ่อนย่อยง่าย กินผักและผลไม้ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ อาบน้ำหรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น แล้วเช็ดตัวให้แห้งทันที
  5. เมื่อไข้สูง หรือเป็นไข้นานเกิน 7 วัน เจ็บคอ ไอมาก เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรไปพบหรือปรึกษาแพทย์

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อสูดลมหายใจเอาเชื้อเข้าไป จะไปเจริญอยู่ในลำคอ และเยื่อบุทางเดินหายใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการตัวร้อน มีไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 วัน ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว น้ำมูกไหล คัดจมูก ไป จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย

การติดต่อ

ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ง่าย โดยการหายใจเอาเชื้อโรคที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศเข้าไป การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม ละอองน้ำมูก เสมหะ และหายใจรดกัน การใช้สิ่งของต่างๆ ร่วมกับผู้ป่วย การนำมือที่สัมผัสเชื้อจากผู้ป่วย และสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาขยี้ตา จับต้องจมูก ปาก ประกอบกับการที่มีสภาวะอากาศอับขึ้นและหนาวเย็น ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง จึงมีโอกาสติดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย

การป้องกัน

ล้างมือบ่อยๆ จนเป็นนิสัย ก่อนกินอาหาร ก่อนและหลังเตรียม/ปรุงอาหารหลังการขับถ่าย หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังสัมผัสผู้ป่วย หรือสัมผัสสัตว์เลี้ยง และทุกครั้งที่กลับจากนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ไม่ได้ล้างสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะตา จมูก ปาก หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย และอยู่ในสถานที่มีคนอยู่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

โรคที่มากับน้ำท่วม

การปฏิบัติ

  • ใช้ผ้าสะอาดปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ จาม และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโรค และใช้ผ้าสะอาด หรือทิชชูนุ่มๆ เช็ดน้ำมูก ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ จะทำให้เกิดการอักเสบในหูได้
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแทนการอาบน้ำ แล้วเช็ดตัวให้แห้งทันที ไม่ควรอาบน้ำเย็นจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นปอดบวมได้
  • กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกอุ่นๆ บ่อยๆ ใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ล้างมือให้เป็นนิสัย
  • หากมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีไข้สูง และมีประวัติ การสัมผัสสัตว์ปีก ควรรีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับข้อมูล การสัมผัสสัตว์ปีก เพราะอาจได้รับเชื้อโรคไข้หวัดนกได้

โรคปอดบวม

  1. เกิดจากเชื้อได้หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด ทำให้มีการอักเสบของปอด ผู้ประสบภัยน้ำท่วม หากมีการสำลักน้ำ หรือสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปในปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้
  2. ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคในอากาศเข้าไป หรือจากการคลุกคลีกับผู้ป่วยเมื่อ ไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรือในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ อ่อนแอ พิการ มักพบเกิดจากการสำลักเอาเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ปกติในจมูกและลำคอเข้าไปในปอด
  3. มีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบและเร็ว ถ้าเป็นมากจะหายใจหอบเหนื่อยจนเห็นชายโครงบุ๋ม เล็บมือ เล็บเท้า ริมฝีปากซีด หรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่าย หรือซึม
  4. เมื่อมีอาการสงสัยว่าเป็นโรคปอดบวม ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด, หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแตกและมีลมรั่วในช่องปอด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ในผู้ป่วยมีโรคหัวใจอยู่ก่อนอาจหัวใจวายได้

โรคที่มากับน้ำท่วมโรคเครียดวิตกกังวล โรคเครียดเป็นสิ่งที่คนเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ป้องกันไม่ให้ร่างกายอ่อนแอลง เพราะความเครียดได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่าพึ่งสารอาหารใดสารอาหารหนึ่งเพื่อลดความเครียดเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักผ่อนคลาย

โรคตาแดง

  1. โรคตาแดงเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง เพราะส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่ถ้าไม่รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น อาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
  2. ติดต่อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ได้แก่ การสัมผัสโดยตรงกับน้ำตา ขี้ตา น้ำมูกของผู้ป่วย หรือจากใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หรือจากแมลงวันแมลงหวี่ตอมตา
  3. หลังได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง โดยอาจเริ่มที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงลามไปตาอีกข้าง
  4. ผู้ป่วยมักหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ถูกวิธี อาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทำให้ปวดตา ตามัว
  5. โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัส adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อจากการสบตา จ้องตา ไม่ติดต่อทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน
  6. การศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุล พบว่าเกิดจากเชื้ออะดีโนไวรัส 3 ชนิดในสัดส่วนดังนี้ HAdV-8 พบมากที่สุดร้อยละ 80 ส่วนชนิด HAdV-3 และ HAdV-37 พบเท่าๆ กัน อย่างละประมาณร้อยละ 10 ของทั้งหมด โดยศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของไวรัส

โรคตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาที่ติดเชื้อไวรัสติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตา ของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือ อาการเกิดได้ ภายใน 1-2 วัน สามารถติดต่อได้ง่ายมาก โดยการคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย และไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือ และใบหน้า ผู้ป่วยโรคตาแดงจะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมี สีแดงเรื่อๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักมีขี้ตามากจากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน การป้องกันทำได้โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ให้สะอาดอยู่เสมอไม่คลุกคลีใกล้ชิด และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนให้สะอาดอยู่เสมอ

โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

  1. ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ บิด ตับอักเสบเอ และไข้ทัยฟอยด์ เป็นต้น
  2. เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทิ้งค้างคืนโดยไม่ได้แช่เย็น และไม่ได้อุ่นให้ร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย 70 องศาเซลเซียส ก่อนรับประทานอาหาร
  3. โรคอุจจาระร่วง มีอาการถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมีมูกเลือด อาจมีอาเจียนร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงโดยถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าว คราวละมากๆ เรียกว่า อหิวาตกโรค
  4. อาหารเป็นพิษ มักมีอาการปวดท้อง ร่วมกับถ่ายอุจจาระเหลว คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
  5. โรคบิด มีอาการสำคัญคือ ถ่ายอุจจาระบ่อย อุจจาระมีมูก หรือมูกปนเลือด มีไข้ ปวดท้องและมีปวดเบ่งร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการเรื้อรัง
  6. โรคไข้ทัยฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย มีอาการสำคัญคือ มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาจมีอาการท้องผูก หรือบางรายอาจท้องเสียได้

โรคที่มากับน้ำท่วมโรคอุจจาระร่วง จะมีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวนมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือมูกปนเลือดอย่าง หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ อาจทำให้ช๊อคหมดสติโดยเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และปรสิตหนอนพยาธิ ที่มากับการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการปรุงอาหาร และภาชนะสกปรก การรักษาเมื่อเริ่มมีอาการอุจจาระร่วงให้รีบผสมผงน้ำตาล เกลือแร่ดื่มทันที การป้องกันควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือก่อนรับประทานอาหาร และควรถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

โรคข้างต้นเป็นห้าโรคร้ายที่เมื่อเกิดน้ำท่วมผู้ประสบอุทกภัยต้องป้องกันให้ดีไม่เช่นนั้นอาจถูกมันทำร้ายได้

โรคอุจจาระร่วง โรคอุจจาระร่วงหรือท้องเสีย หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการถ่ายเหลวมากกว่า วันละ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือดเพียงครั้งเดียวเป็นอาการที่พบได้บ่อย และมีสาเหตุได้หลายประการ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรง และมักหายได้เอง ในเด็ก และคนชราอาจมีอาการรุนแรง ทำให้มีภาวะขาดน้ำ และขาดเกลือแร่ เป็นอันตรายถึงตายได้ นอกจากอาการถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลว หรือถ่ายมีมูกปนเลือดแล้ว อาจมีอาการไข้ ปวดท้อง และอาเจียนร่วมด้วย

สาเหตุ

เกิดจากการกินอาหาร และดื่มน้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค การกินอาหารที่ไม่สุก อาหารที่ตั้งทิ้งไว้นานๆ การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมอาหารหรือปรุงอาหาร และก่อนกินอาหาร รวมทั้งการใช้ภาชนะที่ไม่สะอาดมีเชื้อโรคปนเปื้อนในการใส่อาหาร และตักอาหาร

การปฏิบัติ

ผู้ป่วยควรกินหรือดื่มของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ และเกลือแร่ ได้แก่ สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ โอ อาร์ เอส น้ำแกงจืด หรือน้ำข้าวใส่เกลือ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

การป้องกัน

  1. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสะอาด และสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียม และปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังการขับถ่าย
  2. ดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำที่ใส่คลอรีน หรือน้ำบรรจุขวด
  3. เลือกกินอาหารที่สะอาด ปรุงสุกด้วยความร้อน และปรุงสุกใหม่ๆ
  4. กำจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรสิส

  1. โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมขัง พื้น ดินที่ชื้นแฉะได้นาน
  2. เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอก หรือไชเข้าเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนาน หรืออาจติดเชื้อจากการรับประทานอาหารที่หนูฉี่รด
  3. ช่วงน้ำท่วมมักจะเกิดการระบาดได้ในหลายพื้นที่ โรคนี้มักจะระบาดในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมากที่สุด ก็คือ ในช่วงน้ำลด เนื่องจากชาวบ้านต่างลุยน้ำ ย่ำโคลน เพื่อทำความสะอาดบ้านเรือนและไปทำนา ทำให้เกิดบาดแผลจากกระจก แก้ว ตะปู และของมีคมอื่นๆ บาดแผลที่เท้าเกิดขึ้นได้ง่ายมากครับ อีกอย่างหนึ่งก็มักจะมีปัญหาเรื่องเท้าเปื่อยจากน้ำกัดเท้า เชื้อเล็ปโตสามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย
  4. มักเริ่มมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 4 -10 วัน โดยจะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะน่องและโคนขา หรือปวดหลัง บางคนมีอาการตาแดง อาจมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร หรือท้องเดิน หากมีอาการดังกล่าวหลังจากที่สัมผัสสัตว์ หรือลุยน้ำ ย่ำโคลน ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ในพื้นที่ทันที
  5. ถ้าไม่รีบรักษา บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้
  6. ป้องกันโดยสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ หากต้องลุยน้ำ ย่ำโคลน โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล หลีกเลี่ยงการแช่น้ำ ย่ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องรีบอาบชำระร่างกายให้สะอาดโดยเร็วที่สุด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่มิดชิด ดูแลที่พักให้สะอาด ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู เก็บกวาด ทิ้งขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู

โรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซีส เป็นโรคติดต่อที่ระบาดจากโรคของสัตว์มาสู่คน โดยเฉพาะหนู ติดต่อมาถึงคนได้โดยเชื้อจะออกมากับปัสสาวะหนูแล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังหรือพื้นที่ขึ้นแฉะ

การติดต่อ

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้ฉี่หนู ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำ หรือแช่น้ำนานๆ ผู้ที่เดินลุยน้ำท่วม คนงานบ่อปลา ชาวสวน ชาวนา คนงานขุดลอกท่อระบายน้ำ เชื้อไข้ฉี่หนูสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยการไชเข้าทางบาดแผล หรือเข้าทางเยื่อบุอ่อนๆ เช่น ง่ามมือ ง่ามเท้า ตา ขณะที่แช่น้ำ หรือการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดมีฉี่หนูปนเปื้อนในอาหารนั้นๆ

อาการหลังจากได้รับเชื้อโรคไข้ฉี่หนูประมาณ 3-10 วัน

  • จะเริ่มมีอาการไข้เฉียบพลัน เมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่อง และโคนขา หรือปวดหลัง บางคนอาจมีตาแดง
  • อาจมีอาการเจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดิน
  • ถ้ามีอาการที่กล่าวมาหลังจากไปแช่น้ำ ย่ำโคลนมา 2-26 วัน (เฉลี่ย 10 วัน) ควรนึกถึงโรคนี้ไม่ควรหายามกินเอง ต้องรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือหน่วยแพทย์ที่ออกมาให้บริการในพื้นที่

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการย่ำ หรือแช่น้ำ หรือโคลนนานๆ โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผลตามแขน ขา มือ เท้า
  • ถ้ามีความจำเป็นต้องย่ำหรือแช่น้ำ ควรสวมรองเท้าบู๊ท สวมถุงมือยาง
  • ชำระล้างร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณบาดแผลให้สะอาด หลังจากลุยน้ำ/ขึ้นจากน้ำ ทันที
  • ดูแลที่พักให้สะอาด ปราศจากสัตว์กัดแทะโดยเฉพาะหนู
  • เก็บกวาด ทิ้งขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้วทันที หรือเก็บอาหารในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อสูดลมหายใจเอาเชื้อเข้าไป จะไปเจริญอยู่ในลำคอ และเยื่อบุทางเดินหายใจของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการตัวร้อน มีไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 วัน ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว น้ำมูกไหล คัดจมูก ไป จาม เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย

การติดต่อ

ไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ง่าย โดยการหายใจเอาเชื้อโรคที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศเข้าไป การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม ละอองน้ำมูก เสมหะ และหายใจรดกัน การใช้สิ่งของต่างๆ ร่วมกับผู้ป่วย การนำมือที่สัมผัสเชื้อจากผู้ป่วย และสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาขยี้ตา จับต้องจมูก ปาก ประกอบกับการที่มีสภาวะอากาศอับขึ้นและหนาวเย็น ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง จึงมีโอกาสติดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย

การป้องกัน

ล้างมือบ่อยๆ จนเป็นนิสัย ก่อนกินอาหาร ก่อนและหลังเตรียม/ปรุงอาหารหลังการขับถ่าย หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังสัมผัสผู้ป่วย หรือสัมผัสสัตว์เลี้ยง และทุกครั้งที่กลับจากนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้มือที่ไม่ได้ล้างสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะตา จมูก ปาก หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย และอยู่ในสถานที่มีคนอยู่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

การปฏิบัติ

  • ใช้ผ้าสะอาดปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ จาม และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อโรค และใช้ผ้าสะอาด หรือทิชชูนุ่มๆ เช็ดน้ำมูก ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ จะทำให้เกิดการอักเสบในหูได้
  • เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแทนการอาบน้ำ แล้วเช็ดตัวให้แห้งทันที ไม่ควรอาบน้ำเย็นจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นปอดบวมได้
  • กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกอุ่นๆ บ่อยๆ ใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ล้างมือให้เป็นนิสัย
  • หากมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน เจ็บหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีไข้สูง และมีประวัติ การสัมผัสสัตว์ปีก ควรรีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับข้อมูล การสัมผัสสัตว์ปีก เพราะอาจได้รับเชื้อโรคไข้หวัดนกได้

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4364

อัพเดทล่าสุด