จันทรุปราคาบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔


840 ผู้ชม


จันทรุปราคา (เรียกได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น จันทรคาธ, จันทรคราส, ราหูอมจันทร์ หรือ กบกินเดือน) คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์, โลก และดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวระดับเดียวกันพอดี หากเกิดขึ้นในช่วงพระจันทร์เต็มดวง เมื่อดวงจันทร์ผ่านเงาของโลก   

บทนำ
              วันที่ 9 ธ.ค. นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต  ปราชญ์ภูมิปัญญาด้านดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า ในค่ำคืนวันที่ 10 ธ.ค. 2554 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ "จันทรุปราคาเต็มดวง" นานกว่า 51 นาที คาดว่าประชาชนจะให้ความสนใจมาก เนื่องจากเป็นช่วงต้นหน้าหนาวและเกิดปรากฏการณ์แต่หัวค่ำ 
 ที่มา เว็บไซด์goosiam


ประเด็นจากข่าว

  จันทรุปราคาบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

ที่มา  เว็บไซด์สมาคมดาราศาสตร์  
            ปรากฏการณ์จันทรุปราคาของดาวพฤหัสบดีในครั้งนี้ เกิดจากดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดี โคจรเข้าไปในเงามืดของดาวพฤหัสบดี ทำให้คนบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์ไอโอค่อยๆ เคลื่อนที่หายเข้าไปหลังดาวพฤหัสบดี ในเวลา 18:12 น. และเคลื่อนที่ออกจากเงามืดของดาวพฤหัสบดีในเวลา 21:22 น. อย่างไรก็ตามการสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาบน           ดาวพฤหัสบดีนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเนื่องจากดาวพฤหัสบดีอยู่ไกลมาก จึงต้องสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่  50 เท่า ขึ้นไปเท่านั้น
  
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้
           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  หรือช่วงชั้นที่ 3   สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
 
เนื้อเรื่อง
           ในช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ยังมีปรากฏการณ์จันทรุปราคาบนดาวพฤหัสบดีเกิดขึ้นพร้อมกันด้วย โดยเกิดจากดวงจันทร์ไอโอซีของดาวพฤหัสบดี โคจรมาอยู่ในเงามืดของดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากโลก จะเห็นดวงจันทร์ไอโอค่อยๆ เคลื่อนหายเข้าไปในดาวพฤหัสบดี ในเวลา 18.12 น.และเคลื่อนออกจากเงามืดของดาวพฤหัสบดีในเวลา 21.22 น. แต่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์เท่านั้น เนื่องจากดาวพฤหัสบดีอยู่ไกลจากโลกมาก

 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
           ครูตั้งคำถามนักเรียนเกี่ยวกับ "จันทรุปราคาที่เกิดที่ดวงจันทร์ของโลกเหมือนหรือต่างอย่างไรกับจันทรุปราคาบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี"
 กิจกรรมเสนอแนะ
      โดยมีขั้นตอนดังนี้
 1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนครูนำเสนอคลิปวีดีโอการเกิดจันทรุปราคา ประมาณ 5 นkmu
 2.  แบ่งนักเรียนแบบคละความสามารถเป็น 9 กลุ่ม 
3.   ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปการเกิดเกิดจันทรุปราราคาที่เกิดกับดวงจันทร์ของโลก
 4.  ให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียนกลุ่มละ 5 นาที
 5.  ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายการเกิดจันทรุปราคาบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี พร้อมสรุปสาระสำคัญ
 การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
             -  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (คำศัพท์เกี่ยวกับTotal Lunar Eclipse)
             -  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (อภิปรายเกี่ยวกับ "ความเชื่อเช่นเดียวกับการเกิดสุริยุปราคา โดยเชื่อว่า “ราหูอมจันทร์” ซึ่งจะนำความหายนะ และภัยพิบัติมาสู่โลก คนจีนและคนไทยจึงแก้เคล็ดคล้ายกันเช่น ใช้วิธส่งเสียงขับไล่ คนจีนจุดประทัด ตีกะทะ ส่วนคนไทยก็เล่นกันก็ตีกะลา เอาไม้ตำน้ำพริกไปตีต้นไม้ เอาผ้าถุงไปผูกเพื่อล้างความโชคร้ายและให้ราหูโลกอมจันทร์")
 อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
 1.  เว็บไซด์ดาราศาสตร์ 
2.  เว็บไซด์สมาคมดาราศาสตร์

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4511

อัพเดทล่าสุด