วิกฤติบรรยากาศโลก


710 ผู้ชม


สภาพอากาศมีความแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ   

1.บทนำ
         ในสภาวะปัจจุปันประเทศต่างๆเกิดภัยพิบัติขึ้น หรือสภาพอากาศมีความแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ  ระบบการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก หลายคนพยายามค้นหาทฤษฏีเพื่อแสวงหาคาตอบและแนวปฏิบัติที่จะไม่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติซ้ำเติม โดยที่มนุษย์ยังไม่ทันตั้งตัว หรือเป็นเพราะว่ามนุษย์เสพสุข จนตั้งอยู่ในความประมาท 
          นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้มีการตรวจวัดอุณหภูมิและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ
โดยการเปรียบเทียบในช่วง 1,000 ปีที่ผ่านมาซึ่งเห็นชัดว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติสอดคล้องกับปริมาณ      
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นด้วยสภาวะ 
ที่ผิวโลกและชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้น 
จากการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
 นั่นก็สรุปได้อย่างแน่ชัดว่าการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

https://www.greenbizthai.com/th/images/fbfiles/images/greenhouse.jpg

วิกฤติบรรยากาศโลก


2.ประเด็นสำคัญ
 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในชั้นบรรยากาศของโลก สำคัญอย่างไร
 
3. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 สาระที่ 6    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 
ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

4.เนื้อหาสาระ
         การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ? 
 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น 
(ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจาก
กิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ 
แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์ 
          มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ? 
กิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) 
ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ? 
           
ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ 
ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ? 
            
 ภาวะเรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน      บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)

ชั้นบรรยากาศ
วิกฤติบรรยากาศโลก
    https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86

https://blog.eduzones.com/montra/2865

5. ประเด็นอภิปรายในห้องเรียน
5.1 นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยโลกได้ ควรทำอย่างไร
5.2 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกที่นักเรียนได้รับมีอะไรบ้าง
5.3  สรุปโดยเขียนแผนที่ความคิด ร่วมมือช่วยกันลดภาวะโลกร้อน

6.   กิจกรรมเสนอแนะ
     สืบค้นเพิ่มเติม เรื่องปรากฏการณ์เอลนิโญ ลานิญาที่ https://www.dmc.tv/pages/El%20Ni%C3%B1o.html
     ฝึกคิดหาเหตุผล และมีวิจารณญาณ ในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม
7.  บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น
         - เทคโนโลยี การสืบค้นข้อมูล
8. เอกสารอ้างอิง
- https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86
https://planet.thaihealth.
- วิกิพีเดีย
- คลังปัญญาไทย https://school.obec.go.th/sms_dontippai/page7.htm

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4532

อัพเดทล่าสุด