กาดำกลับขาว


1,033 ผู้ชม


เจ้านกแบล็คเบิร์ด (blackbird) ที่กลายเป็นสีขาวทั้งตัว   

1.บทนำ
              นกแบล็คเบิร์ดในสาธารณะที่อังกฤษดึงความสนใจจากนักดูนกจำนวนมาก เพราะแทนที่จะมีสีดำทั้งตัวตามสายพันธุ์ปกติ แต่นกตัวพิเศษนี้กลับมีสีขาวไปทั้งตัว หลังจากเริ่มผลัดขนจากสีดำเป็นสีขาวเมื่อ 4 ปีที่แล้ว 
               เจ้านกแบล็คเบิร์ด (blackbird) ที่กลายเป็นสีขาวทั้งตัวนี้ มีภาวะ “ขาวตาดำ” (leucistic) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ของยีนที่ขัดขวางสารสีในขนไม่ให้ทำงานได้ตามปกติ ซึ่งบีบีซีนิวส์ระบุว่า มันอาศัยอยู่ในป่าไม้ของสวนสาธารณะรัฟฟอร์ดแอบบีย์ (Rufford Abbey Country Park) ในอังกฤษตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว และทุกปีจะนักดูนกที่เห็นว่าผลัดจนจากสีดำกลายเป็นสีขาว
   จนกระทั่งหน้าร้อนเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ดูแลป่าซึ่งถ่ายภาพของแบล็คเบิร์ดตัวนี้ได้ก็พบว่ามันกลายเป้นนกสีขาวไปทั้งตัวแล้ว
   การที่นกกลายเป็นสีขาวไปทั้งตัวนี้ทำให้เสี่ยงต่อการเผชิญนักล่าเพราะสีขนอันเจิดจ้าสะดุดตา ดังนั้น ผู้จัดการสวนสาธารณะจึงขอร้องให้นักดูเลิกจับตาดูนกแบล็คเบิร์ดที่ผิดปกตินี้
  “นกตัวนี้ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวมาในช่วงหลายปีนี้ จนกระทั่งเมื่อหน้าร้อนปีที่แล้วมันก็กลายเป็นสีขาวทั้งตัว และยังค่อนข้างจะเป็นลักษณะพิเศษของสวนสาธารณะในไม่กี่ปีมานี้ ดูเหมอนมันจะปรากฏตัวในช่วงเดือนที่อบอุ่นขึ้น และเราก็ไม่ได้เห็นมันมาหลายเดือนแล้ว แต่หวังว่ามันจะกลับมาที่นี่เร็วๆ นี้” จอห์น เคลกก์ (John Clegg) ผู้จัดการสวนสาธารณะกล่าว
   ทั้งนี้ นกที่มีภาวะขาวตาดำส่วนใหญ่จะยังคงมีรอยจุดหรือรอยแต้มตามขนอยู่บ้าง แต่นกตัวนี้เป็นกรณีพิเศษที่ต่างออกไป
  https://forum.khonkaenlink.info/index.php?PHPSESSID=jddvs0rg8ualtm45bh9sqh92m6&topic=16792907.0
  ***
 กาดำกลับขาว กาดำกลับขาว

 
3. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 สาระที่ 1   สิ่งมีชีวิต
4.เนื้อหาสาระ
กาดำกลับขาว     กาดำกลับขาว

 - ภาวะขาวตาดำนี้มักเป็นที่สับสนกับภาวะเผือก (albinism) ที่พบได้ยากกว่า ซึ่งกรณีเผือกนั้นมีลักษณะพันธุกรรมที่ขัดขวางไม่ให้มีการผลิตสารสีเมลานิน (melanin) ในร่างกาย แต่กรณีขาวตาดำนี้ยังคงมีสารสีปรากฏอยู่ในร่างกาย แต่ไม่มีแสดงออกทางขน
   - บางสีของขนนกนั้นเกิดจากสารสีชนิดอื่น เช่น แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ดังนั้น นกที่มีภาวะเผือกก็มีโอกาสจะมีสีอื่นได้
  - นกที่มีภาวะขาวตาดำนั้นอาจเป็นสีขาวทั้งตัวและยังคงมีเมลานินอยู่ในร่างกาย และในกรณีนกแบล็คเบิร์ดนี้ทำให้มันมีขนสีขาวแต่มีตาสีดำ
  - นกเผือกและสัตว์เผือกอื่นๆ มีตาเป็นสีชมพูซึ่งเป็นเพียงสีเดียวในร่างกายที่เกิดเส้นเลือดหลังดวงตา
ภาวะผิวเผือก (อังกฤษ: Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” 
มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentationชนิดหนึ่ง
 ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา
ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับrecessive allele ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ
 สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino”
 จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที่

5. ประเด็นอภิปรายในห้องเรียน
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะและแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ลองสังเกตบุคคลที่อยู่รอบๆ ตัวเราจะพบว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น 
บางคนมีตาชั้นเดียว บางคนจมูกโด่ง บางคนผมหยิก ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นต่อๆ ไป เราเรียกลักษณะนี้ว่า ลักษณะทางพันธุกรรม
ผิวเผือก เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ตัวอย่าง สามี-ภรรยาคู่หนึ่งต่างมีลักษณะ heterozygous 
ของผิวเผือก โอกาสที่สามี-ภรรยา 
- มีบุตรเป็นชาย-หญิง 
- มีบุตรผิวเผือก 
- มีบุตรหญิงผิวเผือก 
- มีบุตรหญิงผิวปกติ 
วิธีทำ กำหนดให้ A = gene ควบคุมผิวปกติ(ลักษณะเด่น) 
a = gene ควบคุมผิวเผือก(ลักษณะด้อย) 
สามี-ภรรยามีลักษณะพันธุ์ทาง (heterozygous)ของผิวเผือก 
genotype จึงเป็น Aa

กาดำกลับขาว

6.   กิจกรรมเสนอแนะ
     สืบค้นเพิ่มเติม เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
https://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/01.htm
7.  บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น
         - เทคโนโลยี การสืบค้นข้อมูล
        -  คณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็น  แผนภูมิ
       -  ภาษาอังกฤษ gene ,  heterozygous , hypopigmentation,  Albinism 
8. เอกสารอ้างอิง<br />
https://forum.khonkaenlink.info/index.php?PHPSESSID=jddvs0rg8ualtm45bh9sqh92m6&topic=16792907.0
https://th.wikipedia.org/wiki/%

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4585

อัพเดทล่าสุด