รุ้ง จิตรการผ่านฟ้าสีคราม


1,548 ผู้ชม


รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก   

1.บทนำ
( กาพย์ฉบัง ๑๖ )

 จิตรการผ่านฟ้าสีคราม...............พร่างแพร้วแวววาม 
ข่มข้ามรัศมีสุริยา 
๏ รุ้งเลิศเจิดจรัสทัศนา..................ชม้ายชายตา 
อุราพาชื่นรื่นรมย์ 
๏ รังสรรค์งามครันวิกรม.................แจ่มจ้านภาพรหม 
สวยสมชื่นชมเมียงมอง 
๏ ฤาเทพนิมิตรช่ำชอง..................บรรเจิดเพริศผอง 
สนองหฤทัยไว้เชย ฯ 
๏ อวดอ้างช่างงามล้ำเปรย-.............เปรียบน้องทรามเชย 
*ไลเลยเผยพรรณสคราญงาม 
๏ เรียงสีพรรณีพิราม.....................พุ่งผ่านกาลยาม 
ทาบทามรัศมิมานฉาย 
๏ เรืองรองพ้องแสงพริ้งพราย...........รจนาสาธยาย 
มุ่งหมายให้เห็นเช่นกัน 
๏ สดชื่นระรื่นโดยพลัน....................พรรณาหฤหรรษ์ 
ฉวีวรรณซาบซ่านจิตใจ ฯ

 
ที่มา:https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thewanderingmonkey&month=16-01-2006&group=3&gblog=1
รุ้ง จิตรการผ่านฟ้าสีคราม 

https://wowboom.blogspot.com/2009/05/rainbow.html
2. ประเด็นสำคัญ
     “รุ้งกินน้ำ” ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า “Rainbow” ซึ่งมาจากคำย่อย 2 คำ คือ Rain+bow      ซึ่งสื่อถึง
“โค้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีฝน”
3. สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 สาระที่สาระที่ ๕   พลังงาน
มาตรฐาน ว ๕. ๑    เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม  
 มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ   นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

4.เนื้อหาสาระ
            รุ้งกินน้ำจะมี อยู่ 2 ชนิด คือ 
1. รุ้งปฐมภูมิ เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ำทางขอบบน เกิดการหักเห 2 ครั้ง สะท้อนกลับหมด 1 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กันมีสีแดงอยู่บนและมีสีม่วงอยู่ล่างสุด 
จะเกิดเป็นรุ้งตัวล่าง (มีสีเข้มกว่าตัวล่าง)
2. รุ้งทุติยภูมิ เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ำทางขอบล่าง เกิดการหักเห 2 ครั้ง             สะท้อนกลับหมด 2 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กันมีสีม่วงอยู่บนและมีสีแดงอยู่ล่างสุด 
จะเกิดเป็นรุ้งตัวบน 
          รุ้งกินน้ำ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก โดยเกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้แสงสีต่าง ๆ เกิดการหักเหขึ้น 
จึงเห็นเป็นแถบสีต่าง ๆ ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า รุ้งปฐมภูมิจะประกอบด้วยสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง โดยมีสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด 
ส่วนรุ้งทุติยภูมิจะมีสีเช่นเดียวกันแต่เรียงลำดับในทิศทางตรงกันข้าม
การมองเห็น 
         ลักษณะการเกิดรุ้งกินน้ำเราสามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้เมื่อมีละอองน้ำในอากาศและมีแสงอาทิตย์ส่องมาจากด้านหลังของผู้สังเกตการณ์ในมุมที่สูงจากพื้นไม่มากนัก 
โดยส่วนใหญ่รุ้งกินน้ำจะปรากฏให้เห็นชัดเจนเมื่อท้องฟ้าส่วนมากค่อนข้างมืดครึ้มด้วยเมฆฝน ส่วนผู้สังเกตการณ์อยู่ในที่พื้นที่สว่างซึ่งมีแสงส่องจากดวงอาทิตย์ 
จะทำให้มองเห็นรุ้งกินน้ำพาดผ่านฉากหลังสีเข้ม
ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำยังอาจพบเห็นได้ในบริเวณใกล้กับน้ำตกและน้ำพุ หรืออาจสร้างขึ้นเองได้โดยการพ่นละอองน้ำไปในอากาศกลางแสงแดด 
รุ้งกินน้ำยังอาจเกิดจากแสงอื่นนอกจากแสงอาทิตย์ ในคืนที่แสงจันทร์มีความสว่างมากๆ อาจทำให้เกิดรุ้งกินน้ำก็ได้ เรียกว่า moonbow
 แต่ภาพรุ้งที่เกิดขึ้นจะค่อนข้างจางมองเห็นได้ไม่ชัด และมักมองเห็นเป็นสีขาวมากกว่าจะเห็นเป็นเจ็ดสี
               การถ่ายภาพวงโค้งสมบูรณ์ของรุ้งกินน้ำทำได้ยาก เพราะจำเป็นต้องกระทำในมุมมองประมาณ 84° ถ้าใช้กล้องถ่ายภาพแบบปกติ (35 mm) จะต้องใช้เลนส์ขนาดความยาว 19 mm หรือเลนส์ไวด์แองเกิลจึงจะใช้ได้ ถ้าผู้สังเกตการณ์อยู่บนเครื่องบิน อาจมีโอกาสมองเห็นรุ้งกินน้ำแบบเต็มวงได้ โดยมีเงาของเครื่องบินอยู่ที่ศูนย์กลางวง โดยรุ้งกินน้ำนั้น สีที่เราเห็นมักจะมองเห็นไม่ครบ 7 สี เพราะ สีบางสีจะกลืนซึ่งกันและกัน
           แสงที่เกิดเป็นรุ้งนั้นคือแสงขาว และเกิดการหักเหจนเกิดเป็นแถบสี7แถบ โดยสีม่วงจะมีการหักเหมากที่สุด สีแดงมีการหักเหน้อยทีสุด ♣ ♥ ♠

รุ้ง จิตรการผ่านฟ้าสีคราม

การหักเหและสะท้อนกลับหมดของแสงผ่านละอองน้ำ

5. ประเด็นอภิปรายในห้องเรียน
1.รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร 
2 . รุ้งกินน้ำเกิดในเวลา 9.00น จะเห็นรุ้งในทิศใด
3.ทำไมรุ้งกินน้ำถึงมีลักษณะโค้ง

6.   กิจกรรมเสนอแนะ
   ศึกษาเพิ่มเติม  https://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2121bdbc763e0864
7.  บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่น
         - เทคโนโลยี การสืบค้นข้อมูล
         - ภาษาไทย กาพย์ฉบัง ๑๖

8. เอกสารอ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/
 ที่มา:https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thewanderingmonkey&month=16-01-2006&group=3&gblog=1

 https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4621

อัพเดทล่าสุด