เตือนภัย! สารพิษอันตรายใกล้ตัว


1,146 ผู้ชม


สารพิษ หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายถ้าถูกกลืนกินหรือสูดดมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย   

      1.  บทนำ   

              สาวต่างชาติตายปริศนาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2555 พี่น้องชาวแคนาดา เสียชีวิตปริศนาในโรงแรมแห่งหนึ่งบนหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เสียชีวิตในห้องพักในสภาพ อุจจาระเรี่ยราดตามผิวหนังและไรฟันของผู้ตายมีเลือดออก  ผิวหนัง ลิ้น เล็บมือ เขียวคล้ำ  ตำรวจสัญนิษฐานว่าได้รับสารพิษบางอย่าง
              จากการสอบถามก่อนเสียชีวิตทั้งสองคนเข้ามาท่องเทียวและออกเที่ยวตามบาร์เบียร์ ในตอนกลางคืน  หลังจากนั้นได้เข้าพักในห้องพัก จนกระทั่งแม่บ้านในโรงแรมไปพบว่าเสียชีวิต
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2555 
    2.     ประเด็นสำคัญ
                    สาวต่างชาติได้รับสารพิษ   สารพิษที่เป็นอันตรายมีอะไรบ้างที่ทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลัน

  3.     สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                สาระที่ ๓   สารและสมบัติของสาร
                มาตรฐาน ว ๓.๒       เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
                      ตัวชี้วัด๔.  สืบค้นข้อมูลและอธิบายการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ปลอดภัย วิธีป้องกันและแก้ไขอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สารเคมี  สาระการเรียนรู้-การใช้สารเคมีต้องมีความระมัดระวัง  ป้องกัน   ไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยใช้ให้ถูกต้อง ปลอดภัยและคุ้มค่า- ผู้ใช้สารเคมีควรรู้จักสัญลักษณ์เตือนภัยบน     ฉลาก และรู้วิธีการแก้ไข และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี


4. เนื้อหา
              สารพิษ หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายถ้าถูกกลืนกินหรือสูดดมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ สมอง หัวใจ ตับและไต ได้รับพิษเฉียบพลัน อาจเสียชีวิตได้ทันที
 สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ 
        1.  ทางจมูก  ด้วยการสูดดมไอของสาร  ผลคือละอองของสารพิษปะปนเข้าไปกับลมหายใจ  สารพิษบางชนิดจะมีฤทธิ์กัดกร่อน  ทำให้เยื่อจมูกและหลอดลมอักเสบหรือซึมผ่านเนื้อเยื่อเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้โลหิตเป็นพิษ 
        2.  ทางปาก  อาจจะเข้าปากโดยความสะเพร่า  เช่น  ใช้มือที่เปื้อนสารพิษหยิบอาหารเข้าปากหรือกินผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างอยู่ หรืออาจจะจงใจกินสารพิษบางชนิดเพื่อฆ่าตัวตาย  เป็นต้น 
        3.  ทางผิวหนัง  เกิดอาการสัมผัสหรือจับต้องสารพิษ  สารพิษบางชนิดสามารถซึมผ่านทางผิวหนังได้เพราะเข้าไปทำปฏิกิริยาเกิดเป็นพิษแก่ร่างกาย

                   สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายทางใดก็ตาม  เมื่อมีความเข้มข้นพอจะมีปฏิกิริยา ณ จุดสัมผัสและซึมเข้าสู่กระแสโลหิต  ซึ่งจะพาสารพิษไปทั่วร่างกายความสามารถในการสู่กระแสโลหิตนั้นขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการละลายของสารพิษนั้น  
สารพิษบางชนิดอาจถูกร่างกายทำลายได้  บางชนิดอาจถูกขับถ่ายออกทางไต  ซึ่งจะมีผลกระทบต่อทางเดินปัสสวะและกระเพาะปัสสวะบางชนิดอาจถูกสะสมไว้  เช่น  ที่ตับ  ไขมัน  เป็นต้น 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับสารพิษ
     1.        ถ้าสารพิษถูกผิวหนัง ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีสารพิษ 
     2.        ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษออก 
     3.        รีบขำระร่างกายของผู้ป่วยให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ 
     4.        ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและอบอุ่น 
     5.        ถ้าสารพิษเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง 
     6.        ถ้าสารพิษเข้าปากให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง 
     7.        ถ้าหากมีอาการหายใจติดขัด ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อมด้วยภาชนะบรรจุ

เตือนภัย! สารพิษอันตรายใกล้ตัว

                        อาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกินอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนอยู่มี  2  ลักษณะ  คือ
                             1.อาการเป็นพิษเฉียบพลัน  คือ  การเกิดอาการเป็นพิษหลังจากการกินอาหารนั้น ๆ เข้าไปไม่นานนัก  ภายใน  2 - 6 ชั่วโมง  เช่น  การกินอาหารที่มีแบคทีเรียปะปนอยู่จำนวนมาก  ก็จะเกิดการปวดท้องและท้องเสียองย่างรุนแรง  เป็นต้น
                              2.อาการเป็นพิษเรื้อรัง   คือ  เกิดอาการเป็นพิษเนื่องจากการกินอาหารที่มีสิ่งเป็นพิษเจือปนอยู่ในปริมาณน้อย  และเมื่อกินเป็นเวลานาน  สิ่งเป็นพิษก็จะค่อย ๆ สะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้นทุกวัน 
 อาจเป็นเดือนหรือปี  เช่น  การกินอาหารที่มีปรอทปะปนอยู่  เมื่อกินเป็นเวลานานปรอทก็จะสะสมในร่างกายมากขึ้น  จนถึงระดับหนึ่งอาการเป็นพิษก็จะปรากฏให้เห็น  เป็นต้น


สารที่เป็นพิษที่อาจเกิดอย่างเฉียบพลัน มีดังนี้
        1.   สารกำจัดวัชพืช (Herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดทำลายพืชที่แย่งอาหารจากพืชที่เพาะปลูก ปัจจุบันมีการนำมาใช้กันมากทางการเกษตร  สารกำจัดวัชพืชที่ทำให้เกิดปัญหาที่พบบ่อย  ได้แก่  
Diquat, Paraquat สารกลุ่มนี้ดูดซึมทางผิวหนังได้ดี  โดยเฉพาะถ้ามีบาดแผล พิษเฉียบพลัน มักมีผลต่อตับ ปอด  อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร พิษเรื้อรัง มีอาการเป็นพังผืดที่ปอด 
นอกจากนั้น สารกำจัดวัชพืช  Glyphosate ซึ่งสารกลุ่มนี้ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก อาการรุนแรง อาจมีอาเจียนปนเลือด ปัสสาวะออกน้อย  ไตวาย ปอดบวม อาการทางผิวหนัง ผื่นคัน ผิวหนังไหม้ ตาอักเสบได้  

เตือนภัย! สารพิษอันตรายใกล้ตัว


        2. สัตว์ที่กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาการเป็นพิษ  เช่น  ปลาปักเป้า  แมงดาทะเล    พิษของไข่แมงดาทะเล หอยทาก  หอยโข่ง  คางคก  เป็นต้น 
 สัตว์เหล่านี้เมื่อนำมาประกอบเป็นอาหารและกินเข้าไปจะเกิดอาการเป็นพิษในลักษณะต่าง ๆ กัน  เช่น ปลาปักเป้า  เมื่อกินเข้าไปจะมีอาการชาที่ริมฝีปาก  ปลายนิ้ว  แขนขา  กล้ามเนื้อไม่มีแรง  คลื่นไส้  อาเจียน  หายใจขัด  และอาจถึงตายได้  หอยบางชนิดเมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการชาที่ปาก  หน้า  กล้ามเนื้อเกิดอัมพาต  หากได้รับปริมาณมากจะเสียชีวิตภายใน  12  ชั่วโมง  เนื่องจากระบบหายใจขัดข้อง  เป็นต้น

เตือนภัย! สารพิษอันตรายใกล้ตัว


รักษาอาการเบื้องต้น ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ
          ผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ มักมีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่นการรักษาตามอาการ คือ ถ้าผู้ป่วยยังพอรับประทานได้ ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ ? ถ้าอาเจียนมาก รับประทานไม่ได้ ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ ควรนำส่งโรงพยาบาล

              และฉลากวัตถุมีพิษนั้น 
5.   ประเด็น คำถามเพื่อการเรียนรู้ 
    1.  สารพิษในอาหารประเภทใดที่พบมากในอาหารทะเล
     2. สารพิษในอาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีอะไรบ้าง
     3. ท่านมีวิธีปฏิบัติอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษ


6.  กิจกรรมเสนอแนะ
        ศึกษาเพิ่มเติม เรื่อง สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 14   https://guru.sanook.com/encyclopedia
        ศึกษาเพิ่มเติมข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  ที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตามนโยบายอาหารปลอดภัย หรือ food safety  สารเคมีเฝ้าระวัง 6 ชนิด คือ  สารบอแรกซ์    สารกันรา    สารฟอกขาว    สารฟอร์มาลีน    ยาฆ่าแมลง    สารเร่งเนื้อแดง  
7. บูรณาการ
          ภาษาไทย    การอ่าน การเขียนสื่อความหมาย
          สาระสุขศึกษา  การรักษาสุขภาพอนามัย
8.เอกสารอ้างอิง
 กรมควบคุมโรค รวบรวม : งานควบคุมป้องกันโรค ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
 ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มิถุนายน 2555 
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 14

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4667

อัพเดทล่าสุด