" 10 ถนนดีชวนเที่ยวของไทย "


996 ผู้ชม


มี 10 สถานที่ท่องเที่ยวที่มีถนนสวยงามเหมาะสำหรับคนชอบการขับรถท่องเที่ยวโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดปีใหม่นี้ค่ะ   

10 สถานที่ท่องเที่ยวที่มีถนนสวยงาม น่าขับรถเที่ยวชมบรรยากาศธรรมชาติและทัศนียภาพที่สวยงาม 
(ที่มาจาก อาคม รวมสุวรรณ ไทยรัฐออนไลน์ www.thairath.co.th )

" 10 ถนนดีชวนเที่ยวของไทย "

                                              ที่มาของภาพจาก อาคม รวมสุวรรณ ไทยรัฐออนไลน์ 
1. ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น 1 ใน UNSEEN THAILAND  ด้วยระดับความสูง 1,768 จากระดับน้ำทะเล
2. หาดเฉวง เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหาดทรายสีน้ำตาลที่ยาวที่สุดของเกาะสมุย  และสวยที่สุดของเกาะสมุย ซึ่งมีความยาวถึง 6 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ หาดเฉวงเหนือ หาดเฉวงกลาง หาดเฉวงใต้ และหาดเฉวงน้อย
3. เกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นอุทยานแห่งชาติมีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล ถือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสอง
ของประเทศไทย
4. เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่
5. เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 
6. อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
7. หาดจอมเทียน พัทยา จังหวัดชลบุรี
8. อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ เป็นหาดทรายชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันที่ทอดตัวยาว สภาพภูมิประเทศเป็นเขาหินปูนสูงตระหง่านกับชายหาดยาวสุดสายตา 
9. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ได้รับสมญานามว่าเป็นอุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นผืนใหญ่ตั้งอยู่ในเทือกเขาพนมดงรัก ในส่วนหนึ่งของดงพญา
เย็น หรือดงพญาไฟในอดีต 
10.อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
                                         
            ถนน หมายถึง ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้ (ที่มาจาก วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี ) ผิวถนนสำหรับถนนรุ่นใหม่โดยทั่วไป จะนิยมสร้างด้วยคอนกรีตหรือยางมะตอยคุณภาพดี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน โดยถนนคอนกรีตค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าในการก่อสร้าง แต่ค่าดูแลรักษาจะถูกกว่าถนนยางมะตอย ลักษณะของผิวถนนจะมีการลาดเอียงออกทั้งสองด้านเพื่อให้น้ำที่ผิวถนนสามารถไหลออกได้ง่ายเวลาเกิดฝนตก 
                                    " 10 ถนนดีชวนเที่ยวของไทย "
              ที่มาของภาพจาก https://www.rubber.co.th/knowledge_1p.html
                                               https://bluelemon-blood.blogspot.com/2011/02/blog-post_1154.html
                                               https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/15/web/Bitumen.html
     
                                   วันนี้มารู้จักยางมะตอยที่ใช้ทำถนนดี ๆ ให้เราได้ใช้กันนะคะ 
 
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

มาตรฐาน ว 3.1   เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยว
                        ระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ 
                        นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2   เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย   
                        การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
                        สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
เรื่อง   ยางมะตอย(bitumen)
     
    ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ มีสีดำ มีลักษณะเหนียวและความหนืดต่ำ ยางมะตอยนิยมมาใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้า ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของยางมะตอยทำหน้าที่ประสานระหว่างวัสดุเติมเช่นหินและทราย เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการเทผิวหน้าถนนจะเรียกชื่อเต็มว่า แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) หรือ บิทูเมน(bitumen)
        กระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ จะใช้วิธีการกลั่นลำดับส่วน ใช้หลักการจากลักษณะของส่วนต่างๆของน้ำมันดิบที่มีค่าอุณหภูมิจุดเดือด(Boiling point) ที่ แตก ต่างกันออกไปและเป็นผลให้ส่วนต่างๆของน้ำมันดิบนั้นมีจุดควบแน่น (Condensation point) ที่แตกต่างกันออกไปด้วย น้ำมันดิบจากถังจะได้รับการสูบผ่านเข้าไปในเตาเผา(Furnace) ที่มีอุณหภูมิสูงมากพอที่จะทำให้ทุกๆส่วนของน้ำมันดิบแปรสภาพไปเป็นไอได้แล้วไอ น้ำมัน ดังกล่าวก็จะถูกส่งผ่านเข้าไปในหอกลั่นลำดับส่วน (Fractionating tower) ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกมีขนาดความสูงประมาณ 30 เมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 8 เมตรภายในหอกลั่นดังกล่าวมีการแบ่งเป็นห้องต่างๆหลายห้องตามแนวราบ โดยมีแผ่นกั้นห้องที่มีลักษณะคล้ายถาดกลมโดยแผ่นกั้นห้องทุกแผ่นจะมีการเจาะรูเอาไว้ เพื่อให้ไอน้ำมันที่ร้อนสามารถผ่านทะลุขึ้นสู่ ส่วนบนของหอกลั่นได้ และมีท่อต่อเพื่อนำน้ำมันที่กลั่นตัวแล้วออกไปจากหอกลั่นเมื่อไอน้ำมันดิบที่ร้อนถูกส่งให้เข้าไปสู่หอกลั่นทางท่อ ไอจะเคลื่อนตัวขึ้นไปสู่ส่วนบนสุดของหอกลั่น และขณะที่เคลื่อนตัวขึ้นไปนั้นไอน้ำมันจะเย็นตัวลง และควบแน่นไปเรื่อยๆแต่ละส่วนของไอ น้ำมันจะกลั่นตัวเป็นของเหลวที่ระดับต่างๆในหอกลั่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของการควบแน่นที่แตกต่างกันออกไปน้ำมันส่วนที่เบากว่า (Lighter fractions) เช่น น้ำมันเบนซิน (Petrol) และ พาราฟิน (Parafin) ซึ่งมีค่าอุณหภูมิของการควบแน่นต่ำจะ กลายเป็นของเหลว ที่ห้องชั้นบนสุดของหอกลั่นและค้างตัวอยู่บนแผ่นกั้นห้องชั้นบนสุดน้ำมันส่วนกลาง (Medium fractions) เช่น ดีเซล (Diesel) น้ำ มัน แก๊ส (Gas oils) และ น้ำมันเตา (Fuel oils) บางส่วนจะควบแน่นและกลั่นตัวที่ระดับต่างๆตอนกลางของหอกลั่นส่วนน้ำมันหนัก (Heavy fractions) เช่น น้ำมันเตา และสารตกค้างพวกแอสฟัลต์ จะกลั่นตัวที่ส่วนล่างสุดของหอกลั่นซึ่งมีอุณหภูมิสูงและจะถูก ระบายออกไป จากส่วนฐานของหอกลั่นข้อเสียของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน คือจะได้น้ำมันเบาประเภท ต่างๆ ในสัดส่วนที่น้อยมากทั้งที่น้ำมันเบา เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง

                        


                   ทะเลสาปยางมะตอยที่ใหญ่ที่สุดในโลก   ที่มาจาก https://www.youtube.com/watch?v=BjP2rY2F9Dk

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ที่ถูกแยกออกมาจากจุดเดือดต่ำไปหาสูง ดังนี้

1. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas ; LPG)หรือก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากส่วนบนสุดของหอกลั่นในกระบวนการกลั่นน้ำมัน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการ
แยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีจุดเดือดต่ำมาก จะมีสภาพเป็นก๊าซในอุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น ในการเก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะต้องเพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิ เพื่อให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเปลี่ยนสภาพจากก๊าซเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกและประหยัดในการเก็บรักษา ก๊าซปิโตรเลียมเหลวใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี และเวลาลุกไหม้ให้ความร้อนสูง และมีเปลวสะอาดซึ่งโดยปกติจะไม่มีสีและกลิ่น แต่ผู้ผลิตได้ใส่กลิ่นเพื่อให้สังเกตได้ง่ายในกรณีที่เกิดมีก๊าซรั่วอันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ การใช้ประโยชน์ ก็คือ การใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์และรถยนต์ รวมทั้งเตาเผาและเตาอบต่าง ๆ

2. น้ำมันเบนซิน (Gasoline) น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน หรือเรียกว่าน้ำมันเบนซิน ได้จากการปรับแต่งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันโดยตรง และจากการแยกก๊าซธรรมชาติเหลว น้ำมันเบนซินจะผสมสารเคมีเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น เพิ่มค่าออกเทน สารเคมีสำหรับป้องกันสนิมและการกัดกร่อนในถังน้ำมันและท่อน้ำมัน เป็นต้น

3. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัด (Aviation Gasoline) ใช้สำหรับเครื่องบินใบพัด มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำมันเบนซินในรถยนต์ แต่ปรุงแต่งคุณภาพให้มีค่าออกเทนสูงขึ้น ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ของเครื่องบินซึ่งต้องใช้กำลังขับดันมาก

4. น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น (Jet Fuel) ใช้เป็นเชื้อเพลิงไอพ่นของสายการบินพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ มีช่วงจุดเดือดเช่นเดียวกับน้ำมันก๊าดแต่ต้องสะอาดบริสุทธิ์มีคุณสมบัติบางอย่างดีกว่าน้ำมันก๊าด

5. น้ำมันก๊าด (Kerosene) ประเทศไทยรู้จักใช้น้ำมันก๊าดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่เดิมใช้เพื่อจุดตะเกียงแต่ปัจจุบัน ใช้ประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นส่วนผสมสำหรับยาฆ่าแมลง สีทาน้ำมันชักเงา ฯลฯ

6. น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานการทำงานแตกต่างจากเครื่องยนต์เบนซิน คือ การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซลใช้ความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากการอัดอากาศอย่างสูงในลูกสูบ มิใช่เป็นการจุดระเบิดของหัวเทียนเช่นในเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ปัจจุบันเราใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมักเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น รถบรรทุก รถโดยสาร รถแทรกเตอร์ เป็นต้น

7. น้ำมันเตา (Fuel Oil) น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเตาต้มหม้อน้ำ และเตาเผาหรือเตาหลอมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เครื่องยนต์เรือเดินสมุทรและอื่น ๆ

8. ยางมะตอย (Asphalt) ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง และนำยางมะตอยที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพจะได้ยางมะตอยที่มีคุณสมบัติดีขึ้น คือ มีความเฉื่อยต่อสารเคมีและไอควันแทบทุกชนิด มีความต้านทานสภาพอากาศและแรงกระแทกกระเทือน มีความเหนียวและมีความยืดหยุ่นตัวต่ออุณหภูมิระดับต่าง ๆ ดี

" 10 ถนนดีชวนเที่ยวของไทย "
   ที่มาของภาพจาก https://www.oknation.net/blog/print.php?id=389297

      ดังนั้นยางมะตอยจึงเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมตัวสุดท้าย ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบด้วยการกลั่นลำดับส่วนซึ่งมีประโยชน์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่ง หลัก ๆ ก็คือใช้ทำถนนค่ะ
   

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. ยางมะตอยคืออะไร
        2. ยางมะตอยเกี่ยวข้องกับน้ำมันดิบอย่างไร
        3. ยางมะตอยมีชื่อเรียกอื่นว่าอย่างไร
        
กิจกรรมเสนอแนะ

       1.ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องยางมะตอยเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 
          เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต 
       2. กิจกรรมทัศนศึกษา

การบูรณาการ

        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย       นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับความสำคัญของยางมะตอย
        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์    ทำสถิติการใช้ยางมะตอยทำถนนในแต่ละปี                                          
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนศึกษาสภาพภูมิประเทศที่มีการค้นพบน้ำมันดิบ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  นักเรียนลองประดิษฐ์ถนน                                  
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ              นักเรียนวาดภาพถนนยางมะตอย
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษของยางมะตอยและชื่อถนนต่าง ๆ  
                                                                 
ขอขอบคุณ                             
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาและรูปภาพประกอบ
  ดังนี้
     
      1. https://www.thairath.co.th/content/life/316616
      2. https://th.wikipedia.org/wiki/ถนน
      3. https://th.wikipedia.org/wiki/ ยางมะตอย 
      4. https://th.wikipedia.org/wiki/ การกลั่นน้ำมัน
      5. https://www.rubber.co.th/knowledge_1p.html
      6. https://bluelemon-blood.blogspot.com/2011/02/blog-post_1154.html
      7. https://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/15/web/Bitumen.html
      8. https://www.oknation.net/blog/print.php?id=389297
      9. https://www.youtube.com/watch?v=BjP2rY2F9Dk

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4835

อัพเดทล่าสุด