การสอนคณิตศาสตร์ : ถึงเวลาเติมออกซิเจนหรือยัง (ตอนที่ 1)
บทความนี้กล่าวถึงวิธีการสอนที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งครูและนักเรียนจะรู้เป้าหมายของการเรียนรู้ตั้งแต่เริ่มเรียน นักเรียนจะมีส่วนร่วมในการเรียนและ กระบวนการประเมินผลการเรียนจะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงของนักเรียนจากพื้นฐานการใช้เทคนิค K-W-L หรือ K-W-D-L ในการแก้ปัญหา โดยมีครูเป็นผู้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเป้าหมายของการเรียนและเข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย
คำชี้แจงต่อไปนี้เป็นการกำหนดเส้นทางเพื่อให้ท่านขับรถไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง
จงขับรถไปทางทิศตะวันออก 3 ไมล์ ตามเส้นทางสายที่ 40 จนถึงทางออก 103 แล้วให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางออกนั้น มุ่งหน้าตรงไปเรื่อย ๆ ท่านจะได้รับข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการไปให้ถึงจุดหมาย ปลายทางที่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตามจะมีคนอยู่คนเดียวเท่านั้นจะเป็นผู้ประเมินการขับรถของท่านในครั้งนี้ ที่รู้จุดหมายปลายทางที่ท่านจะไปและรู้เหตุผลว่าทำไมท่านจึงจำเป็นต้องไปที่นั่น
การเดินทางครั้งนี้จะมีคะแนนให้ แต่ท่านจะไม่รู้ข้อมูลใดใดเกี่ยว กับเกณฑ์ในการให้คะแนนเลย และไม่รู้ลำดับขั้นที่จำเป็นต่าง ๆ ในการ เดินทางครั้งนี้ ลองหลับตานึกถึงการเดินทางที่กำหนดให้ข้างต้น แล้วท่านรู้สึกอย่างไร สามารถทำได้โดยง่ายหรือไม่ เป็นการกำหนดเส้นทางที่ใช้ได้ไหมถึงแม้ว่าจะชัดเจนบอกเส้นทางเป็นขั้นเป็นตอน แต่ก็ยังยากที่จะขับรถไปได้ถูกเพราะไม่ได้บอกจุดหมายปลายทางยิ่งไปกว่านั้นแรงจูงใจและความกระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จก็ยาก ถ้าไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร
ที่มา : ฺ”Breathe O2 into Your Mathematics Program Promote Openness and Ownership”
ในวารสาร Teaching Children Mathematics. page 496 - 498 : May 1997
www.ipst.ac.th/smath/e-book/math/main-math02.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2