ยอดจ่ายแอดมิชชันส์ 1.1 หมื่นคน


664 ผู้ชม


ยอดจ่ายแอดมิชชันส์ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาและอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมกับที่นั่งว่างในมหาวิทยาลัย 94 แห่ง   

นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) สรุปยอดนักเรียนที่ชำระเงินสมัครเข้ารับการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา (แอดมิสชันส์) จากทั่วประเทศ มีการชำระเงินซ้ำ กรณีที่เปลี่ยนแปลงคณะสาขาที่เลือกและมีสิทธิ์ได้สอบสัมภาษณ์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยอยู่ระหว่างรอผลคะแนนจากสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) นายสุเมธ กล่าวด้วยว่า ยอดผู้ชำระเงินสมัครแอดมิสชันส์ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาและอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมกับที่นั่งว่างในมหาวิทยาลัย 94 แห่ง 

ข่าว ยอดจ่ายแอดมิชชันส์ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาและอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมกับที่นั่งว่างในมหาวิทยาลัย 94 แห่ง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


สถิติที่เกี่ยวข้อง 
1. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น 
1.1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean ) 
นิยาม ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือผลรวมของค่าสังเกตหรือค่าของตัวอย่างที่ได้จากการสำรวจทุกค่า 
ของข้อมูลแล้วหารด้วยจำนวนตัวอย่างของข้อมูล 
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือผลรวมของค่าสังเกตหรือค่าของตัวอย่างที่ได้จาก 
การสำรวจทุกค่าของข้อมูลแล้วหารด้วยจำนวนตัวอย่างของข้อมูลเป็นค่าที่มีความสำคัญมากในวิชาสถิติ 
เพราะค่าเฉลี่ยเลขคณิตเป็นค่ากลางหรือเป็นตัวแทนของข้อมูลที่ดีที่สุดเพราะ 
1) เป็นค่าที่ไม่เอนเอียง 
2) เป็นค่าที่มีความคงเส้นคงวา 
3) เป็นค่าที่มีความแปรปรวนต่ำที่สุด และ 
4) เป็นค่าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 
แต่ค่าเฉลี่ยเลขคณิตก็มีข้อจำกัดในการใช้เช่น ถ้าข้อมูลมีการกระจายมาก หรือข้อมูลบางตัวมีค่ามากหรือน้อยจนผิดปกติ หรือข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะไม่สามารถเป็นค่ากลางหรือเป็นตัวแทนที่ดีของข้อมูลได้ 
1.2 ค่ามัธยฐาน (Median : Me) เป็นค่ากลางของข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาตำแหน่งของข้อมูล ที่อยู่ตรงกลางโดยที่ข้อมูล ต้องทำการเรียงลำดับตามปริมาณจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปมากก็ได้และ 
ค่ามัธยฐานยังสามารถใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลได้เป็นอย่างดีในกรณีที่ข้อมูลมีการกระจายที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการที่มีข้อมูลบางตัวมีค่ามากหรือน้อยจนผิดปกติ

สำหรับขั้นตอนการหาค่ามัธยฐานมี 2 ขั้นตอนดังนี้ 
1) เรียงลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมาก 
2) ทำการหาตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 

1.3 ค่าฐานนิยม (Mode : Mo) 
ค่าฐานนิยมเป็นค่ากลางซึ่งจะนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลมีการซ้ำกันมากๆ จนผิดปกติซึ่งค่าฐานนิยมจะเป็นค่ากลางหรือ ตัวแทนของข้อมูลที่สามารถอธิบายลักษณะที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่ามัธยฐานนอกจากนี้ค่าฐานนิยมยังมีข้อพิเศษมากกว่าค่าเฉลี่ยและมัธยฐานตรงที่สามารถใช้ได้กับข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ(Qualitative) และข้อมูลเชิงปริมาณ(Quantitative) และค่าฐานนิยม ยังสามารถมีค่าได้มากกว่า 1 ค่าอีกด้วย การหาค่าฐานนิยม (Mo) เมื่อข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจงความถี่ในกรณีที่ข้อมูลไม่ได้มีการแจกแจง ความถี่วิธีการหาค่าฐานนิยม (Mo) สามารถทำได้โดยการนับจำนวนข้อมูลซึ่งข้อมูลชุดใดมีจำนวนซ้ำกันมากที่สุดก็จะเป็นค่าฐานนิยม 
https://pibul2.psru.ac.th/~buncha/Chp1_5.htm 
2. การวัดตำแหน่งที่หรือตำแหน่งสัมพัทธ์ของข้อมูล 
การวัดตำแหน่งที่ของข้อมูลการกล่าวถึงตำแหน่งหรือลำดับที่ของข้อมูลในแต่ละชุดเพื่อให้การกล่าวถึงตำแหน่งเป็นไปอย่างมีความหมายกล่าว คือ สามารถบอกได้ทันทีว่า ตำแหน่งนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไรในกลุ่มจึงมีการบอกตำแหน่งที่ของข้อมูลโดยบอกตำแหน่งด้วยค่าเปอร์เซ็นไทล์ เดไซล์และควอร์ไทล์ 
2.1 เปอร์เซ็นไทล์(Percentiles ) หมายถึงตำแหน่งของข้อมูลในทั้งหมด100 ส่วน เขียนแทนด้วยPr โดย Pr คือตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ r ในข้อมูลทั้งหมด 100 ส่วน ตำแหน่งสุดท้ายในข้อมูลทั้งหมด 100 ส่วน คือ ตำแหน่งที่ 99 เขียนแทนด้วย P99ตำแหน่งP100 ไม่มี 
1) การหาเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูลที่ไม่แจกแจงเป็นอันตรภาคชั้น 
เมื่อนำข้อมูลชุดหนึ่งมาเรียงค่าจากน้อยไปมากค่าที่ตรงกับจุด 99 จุดที่แบ่งข้อมูล 
ออกเป็น100 ส่วน โดยที่แต่ละส่วนมีจำนวนข้อมูลเท่า ๆ กันเรียกค่าที่ตรงกับจุด 99 จุดนี้ว่า เปอร์เซ็นไทล์ที่หนึ่ง (P1) เปอร์เซ็นไทล์ที่สอง (P2
เปอร์เซ็นไทล์ที่สาม (P3) ... และเปอร์เซ็นไทล์ที่เก้าสิบเก้า (P99) ตามลำดับ 
เปอร์เซ็นไทล์ที่หนึ่งเป็นค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณหนึ่งในร้อยหรือ 1% ของจำนวนข้อมูลทั้งหมด 
เปอร์เซ็นไทล์ที่สองเป็นค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณสองในร้อยหรือ 2% ของจำนวนข้อมูลทั้งหมด 
เปอร์เซ็นไทล์ที่สามเป็นค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณสามในร้อยหรือ 3% ของจำนวนข้อมูลทั้งหมด 


• 
• 


เปอร์เซ็นไทล์ที่เก้าสิบเก้าเป็นค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณเก้าสิบเก้าในร้อยหรือ 99% ของจำนวนข้อมูลทั้งหมด 
https://thaimathkids.com/Unit3_02.htm 
2) การหาเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูลที่แจกแจงเป็นอันตรภาคชั้น 
หาค่าเปอร์เซ็นไทล์ของข้อมูลที่แจกแจงเป็นอันตรภาคชั้นมีขั้นตอนดังนี้ 
1. หาความถี่สะสมของทุกอันตรภาคชั้น 
2. หาตำแหน่งของ Pr โดยที่ ตำแหน่ง Pr 
3. หาค่าของข้อมูลที่ตรงกับตำแหน่งของPr 
https://thaimathkids.com/Unit3_03.htm 
2.2 เดไซล์ (Deciles) คือตำแหน่งที่แสดงให้ทราบว่ามีจำนวนเท่าใดใน10 ส่วนของจำนวนข้อมูล 
ทั้งหมดที่ได้คะแนนต่ำกว่าคะแนน ณตำแหน่งนั้น เดไซล์ เป็นค่าที่แบ่งจำนวนข้อมูลออกเป็น10 ส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อข้อมูลถูกเรียงจากค่าน้อยไปหาค่ามากเนื่องจากค่าที่แบ่งจำนวนข้อมูลออกเป็น 10 ส่วนเท่า ๆ กัน มีอยู่ 9 ค่าดังนั้นเราตั้งชื่อแต่ละค่าว่า 
เดไซล์ที่หนึ่งใช้สัญลักษณ์ D1 
เดไซล์ที่สองใช้สัญลักษณ์ D2 
• 
• 
• 
เดไซล์ที่เก้า ใช้สัญลักษณ์ D
ค่าแต่ละค่าจะมีความหมายดังนี้ 
D1 คือค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 1 ใน 10 ของข้อมูลทั้งหมด 
D2 คือค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 2 ใน 10 ของข้อมูลทั้งหมด 
D3 คือค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 9 ใน 10 ของข้อมูลทั้งหมด 
ดังนั้น Dr จะเป็นค่าที่บอกให้เรารู้ว่ามีจำนวนข้อมูลที่น้อยกว่าค่าดังกล่าวอยู่ r ส่วนจากทั้งหมด 10 ส่วน 
การหาเดไซล์แต่ละค่ามีธีการหาเหมือนกับควอร์ไทล์ทุกอย่างจะต่างกันตรงที่เดไซล์เราสามารถหาได้ถึง 9 ค่าและในแต่ละค่าสามารถหาตำแหน่งได้ ดังนี้ 
https://thaimathkids.com/Unit3_04_3.htm 

2.3 ควอร์ไทล์ (Quartiles) เป็นค่าที่แบ่งจำนวนข้อมูลออกเป็น4 ส่วนเท่า ๆ กัน 
เมื่อข้อมูลดังกล่าวถูกเรียงจากค่าน้อยไปหามาก เนื่องจากค่าที่แบ่งจำนวนข้อมูลออกเป็น4 ส่วนเท่าๆ กันมีอยู่ 3 ค่า ดังนั้นเราจึงตั้งชื่อเรียกแต่ละคำว่า 
ควอร์ไทล์ที่หนึ่ง ใช้สัญลักษณ์ Q1 
ควอร์ไทล์ที่สอง ใช้สัญลักษณ์ Q2 
ควอร์ไทล์ที่สาม ใช้สัญลักษณ์ Q3 
ค่าแต่ละค่ามีความหมายดังนี้ 
Q1 คือ ค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 1 ใน 4 ของข้อมูลทั้งหมด 
Q2 คือ ค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 2 ใน 4 ของข้อมูลทั้งหมด 
Q3 คือ ค่าที่มีจำนวนข้อมูลน้อยกว่าค่านี้อยู่ประมาณ 3 ใน 4 ของข้อมูลทั้งหมด 
ดังนั้น Q1 จะเป็นค่าที่บอกให้เรารู้ว่ามีจำนวนข้อมูลทีมีค่าต่ำกว่าค่าดังกล่าวอยู่ r ส่วนจากทั้งหมด 4 ส่วน 
จากความหมายดังกล่าว ถ้านักเรียนสังเกตให้ดีจะพบว่า Q2 คือมัธยฐาน นั่นเอง 
ดังนั้น การหา Q1  , Q2 และ Q3  ก็จะใช้วิธีการหาเช่นเดียวกับการหามัธยฐานซึ่งมีวีการหาตามลำดับขั้นดังนี้ 
กรณีที่มีข้อมูลไม่ได้แจกแจงความถี่ ให้ N เป็นจำนวนข้อมูลทั้งหมด 
ขั้นที่ 1 นำข้อมูลมาเรียงจากค่าน้อยไปหามาก 
ขั้นที่ 2 หาตำแหน่งของค่าที่เราต้องการหา 
ถ้าต้องการหา Qตำแหน่งที่ Q 1 คือ ( N + 1) ½ 
ถ้าต้องการหา Qตำแหน่งที่ Q 2 คือ ( N + 1) ¼ 
ถ้าต้องการหา Q3 ตำแหน่งที่ Q3 คือ ( N + 1) ¾ 
ขั้นที่3 หาค่าที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวโดยใช้วีการเช่นเดียวกับการหาเปอร์เซ็นไทล์และมัธยฐาน นั่นเอง 
https://thaimathkids.com/Unit3_04.htm 

คำถามในห้องเรียน 
1. การนำยอดผู้ชำระเงินแอดมิชชันส์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นหรือไม่เพราะเหตุใด 
2. การประกาศผลคะแนนเพื่อจัดอันดับผู้ที่จะมีสิทธิ์ได้สอบสัมภาษณ์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ใช้การวัดตำแหน่งที่หรือตำแหน่งสัมพัทธ์ของข้อมูลใดเหมาะสมที่สุดพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ 

กิจกรรมเสนอแนะ 
1. ศึกษาผลคะแนนเพื่อจัดอันดับผู้ที่จะมีสิทธิ์ได้สอบสัมภาษณ์ในมหาวิทยาลัยต่างๆจากสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)กับจำนวนที่นั่งว่าง120,000 ที่นั่ง ในมหาวิทยาลัย 94 แห่ง มีความสัมพันธ์กับความนิยมมหาวิทยาลัยชื่อดังของรัฐหรือไม่ 

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 

อ้างอิงที่มาของข้อมูล         https://www.thairath.co.th/content/edu/1850  

ภาพประกอบ        https://www.thairath.co.th/media/content/2009/04/25/300/1850.jpg  

 

 

  

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=29

อัพเดทล่าสุด