ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ


673 ผู้ชม



เศรษฐกิจย่ำแย่ เงินหายาก แต่ราคาเนื้อหมูถีบตัวสูงกก.ละ 120-130 บาท คาดขยับถึง 150 บาทแน่ ส่วนมะนาวแพงถึงลูกละ 7 บาท ชาวบ้านสะกิดนายกรัฐมนตรี   

              
ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ ปัญหาราคาหมู ไม่ใช่มะนาวของนายกฯ

               เศรษฐกิจย่ำแย่ เงินหายาก แต่ราคาเนื้อหมูถีบตัวสูงกก.ละ 120-130 บาท คาดขยับถึง 150 บาทแน่ ส่วนมะนาวแพงถึงลูกละ 7 บาท ชาวบ้านสะกิดนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือและควบคุมราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่อาจกักตุนหมูไว้ทำกำไร วอนรัฐบาลอย่ามัวแก้ปัญหาการเมือง แต่ชาวบ้านตาดำ ๆ กำลังเดือดร้อนเพราะแบกรับภาระของแพงไม่ไหว
                ที่จ.นครสวรรค์ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าช่วงนี้ปริมาณหมูออกสู่ตลาดน้อย ทำให้หมูหน้าฟาร์มราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 65 บาท ส่งผลให้บรรดาพ่อค้า แม่ค้า หน้าเขียงในตลาดสดเทศบาลนครนครสวรรค์ ต้องปรับราคาหมูเนื้อแดง หมูสดอีกกิโลกรัมละ 10-20 บาท ทำให้ราคาหมูเนื้อแดงหน้าเขียงราคากิโลกรัมละ 120-130 บาท ผู้บริโภคต่างบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่ารัฐบาลควรออกมาควบคุมราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคเป็นการด่วน เพราะมีแนวโน้ม 1-2 สัปดาห์นี้ราคาเนื้อหมูจะพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 150 บาท 
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 25 เมษายน 2552

คำถามวิเคราะห์ข่าว  
1. ข่าวที่อ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไร
2. หมูเนื้อแดงทำไมขึ้นราคา
3. หมูเป็นกับหมูสดเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร          ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ
4. หมูเป็นราคาเท่าไร
5. หมูสดราคาเท่าไร
6. ขายหมูสดได้กำไรหรือขาดทุน  เท่าไร
7. ขายหมูสดได้กำไรหรือขาดทุนร้อยละเท่าไร
8. คิดว่าเราจะเป็นพ่อค้าขายหมูหรือไม่ เพราะอะไร
9. ระหว่างพ่อค้าขายหมูเป็นกับขายหมูสดใครได้กำไรมากกว่ากัน
10. ทำไมไม่รู้ว่าใครได้กำไรมากกว่ากัน

จากประเด็นบทความใช้ประกอบเรื่อง  กำไร คิดหาร้อยละ

เนื้อหา

ความหมายกำไร
                    กำไร หมายถึง ราคาขายได้มากกว่าราคาทุน
                           กำไร 10%   หมายถึง       ทุน 100 บาท  ได้กำไร    10    บาท
                           กำไร 10%   หมายถึง       ทุน 100 บาท   ขายไป   110  บาท

ขั้นตอนวิธีสอนแก้โจทย์ปัญหา 4 ขั้นตอน ของโพลยา ( Polya ’s  Four - Stage  Method )
          ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจโจทย์ (Understanding the problam)
          ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา  (Devising a plan)
          ขั้นที่ 3 ปฏิบัติตามแผน (carring out the plan)
          ขั้นที่ 4 ตรวจสอบ (Looking back) 
ที่มา : https://school.obec.go.th/math_sup/polya2.htm 
ดูเพิ่มเติม

ขั้นตอนการแก้ปัญหาร้้อยละ 
          ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ โจทย์บอก โจทย์ถาม
          ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา  เขียนความหมาย  ขีดเส้นใต้ประโยค 1 เส้น(สีแดง)  ถ้าเป็นสิ่งที่ โจทย์บอก ขีดเส้นใต้ประโยค    2 เส้น(สีน้ำเงิน) ถ้าเป็นสิ่งที่โจทย์ถาม  
          ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผน ประโยคที่ขีดเส้นใต้ 1 เส้น อยู่ด้านซ้ายมือ ประโยคที่ขีดเส้นใต้ 2 เส้น อยู่ด้านขวามือ ตามความหมาย แล้วคิดคำนวณให้ได้คำตอบ
          ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคำตอบ  ใช้ข้อมูลที่โจทย์บอกครบหรือไม่ สามารถพิสูจน์ผลลัพธ์ที่ได้ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่

ตัวอย่างที่ 1  หมูหน้าฟาร์มราคากิโลกรัมละ 65 บาท  ราคาหมูเนื้อแดงหน้าเขียงราคากิโลกรัมละ120 บาท พ่อค้าขายหมู1 กิโลกรัมได้กำไรร้อยละเท่าไร

1. ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ 
โจทย์บอก   1 . หมูหน้าฟาร์มราคากิโลกรัมละ 65 บาท    (ทุน)
                    2. หมูเนื้อแดงหน้าเขียงราคากิโลกรัมละ 120 บาท  (ราคาขาย)
โจทย์ถาม    ได้กำไรร้อยละเท่าไร (ทุน 100 บาท ได้กำไรกี่บาท)

2. ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา  
เขียนความหมาย         ทุน      65      บาท          
กำไร              55       บาท  
                                 ทุน      65      บาท          ราคาขาย      120      บาท

3. ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผน 
                               ทุน      65      บาท      ได้กำไร       55                     บาท  
                               ทุน       1       บาท      ได้กำไร     ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ                 บาท  
                             
                               ทุน      100    บาท      ได้กำไร        ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ       บาท

                                                                         =      84.62         บาท  
 ตอบ     พ่อค้าขายหมู1 กิโลกรัมได้กำไรร้อยละ  84.62             

4. ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคำตอบ   
                           ทุน      65      บาท      ได้กำไร         55        บาท  
                           ทุน      130      บาท    ได้กำไร       110       บาท  
  ดังนั้นคำตอบที่ได้อยู่ระหว่าง  55 -110  จึงมีความสมเหตุสมผล

ตัวอย่างที่ 2  หมูราคากิโลกรัมละ 120 บาท  มีแนวโน้ม 1-2 สัปดาห์นี้ ราคาเนื้อหมูจะพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 150 บาท ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์

1. ขั้นที่ 1 วิเคราะห์โจทย์ 
โจทย์บอก   1 . หมูราคากิโลกรัมละ 120 บาท  (เดิมราคา)
                    2.  ราคาเนื้อหมูจะพุ่งสูงถึงกิโลกรัมละ 150 (ราคาใหม่)
โจทย์ถาม    ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์  (เดิมราคา 100 บาท ได้กำไรกี่บาท)

2. ขั้นที่ 2 วางแผนแก้ปัญหา  
เขียนความหมาย     เดิมราคา     120     บาท    ราคาใหม่     150        บาท  
                           เดิมราคา     120    บาท    เพิ่มขึ้น           30         บาท

3. ขั้นที่ 3 ดำเนินการตามแผน 
                           เดิมราคา     120     บาท         
เพิ่มขึ้น          30        บาท
                           เดิมราคา       1        บาท       เพิ่มขึ้น        ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ    บาท  
 ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ                          
     เดิมราคา    100      บาท         เพิ่มขึ้น            ปัญหาราคาหมูไม่ใช่มะนาวของนายกฯ       บาท

                                                             =      25  บาท  

                           ตอบ          ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้น  25%

ที่มา :https://www.zabzaa.com/cartoon/gif/Cartoon_Animation_02.gif[/                          

4. ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคำตอบ   
                  เดิมราคา     120     บาท    เพิ่มขึ้น          30       บาท
                  เดิมราคา       60     บาท    เพิ่มขึ้น          15       บาท
  ดังนั้นคำตอบที่ได้อยู่ระหว่าง  15 - 30  จึงมีความสมเหตุสมผล


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย
1. ขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหามีกี่ขั้นตอน
2. ขั้นตอนที่ 1 ทำอย่างไร
3. ขั้นตอนที่ 2 ทำอย่างไร
4. ในขั้นตอนที่ 3 นำส่วนของขั้นตอนที่เท่าไรมาใช้ ใช้อย่างไร แล้วทำอย่างไรต่อ
5. ขั้นตอนที่ 4 ทำอย่างไร

บูรณาการกับสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การอ่านจับใจความ สังคมฯข่าว  ผลกระทบที่ได้ การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในมาตรฐานการเรียนรู้  สาระที่ 6

โดย Krulek

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=47

อัพเดทล่าสุด