การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกไม่ยากอย่างที่คิด


834 ผู้ชม


10 แนวทางการปลูกฝังเจตคติที่ดีทางคณิตศาสตร์ให้ลูกเราทำได้ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัวง่ายๆ ซึ่งจะส่งผลในระยะยาว   

ดาว์นโหลด    10 แนวทางการสอนให้รู้ค่าเงิน การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกไม่ยากอย่างที่คิด

           จากบทความ เรื่อง "สอนอย่างไรให้รู้ค่าราคาเงิน" เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้ามเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่สำหรับบุตรหลานของเราได้หากไม่วิเคราะห์และปลูกฝัง ด้วยในสภาวะปัจจุบันประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ หากเรารู้จักการสอนและฝึกให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงินก็จะส่งผลดีต่อบุตรหลานของเราในอนาคต คือเขาจะเป็นคนที่รู้จักการวางแผนในการดำเนินชีวิต เมื่อเขาประสบกับภาวะใดๆก็ตาม ก็จะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับเขาเพราะเขาจะรู้จักวางแผนและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ในการฝึกควรให้เขาปฎิบัติจนเคยชิน และกลายเป็นลักษณะนิสัยของเขา

จากประเด็นข่าวสอนอย่างไรให้รู้ค่าราคาเงินนั้น นอกจากจะบอกแนวทางปฏิบัติ 10 แนวทางง่ายๆที่เราสามารถนำไปใช้ฝึกบุตรหลานในชีวิตประจำวันแล้ว ยังเป็นการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์อีกด้วย

การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกไม่ยากอย่างที่คิด   เนื้อหา การสอนโดยให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ตรงจะทำให้เด็กเข้าใจและจดจำได้ดีกว่าการสอนโดยให้เด็กท่องจำ โดยเราเริ่มสอนจากให้เด็กรู้ค่าของตัวเลข การเปรียบเทียบจำนวน แล้วค่อยเข้าสู่การสอนการบวก การลบ การคูณ การหารและการแก้โจทย์ปัญหาตามศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก โดยในการเรียนรู้นี้อาจฝึกให้เด็กได้ปฏิบัติจริงโดยรู้จักเก็บออมเงินที่ได้ในแต่ละวัน พร้อมทั้งทำบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน

1. ในขณะที่เราเป็นเด็กจำเป็นไหมที่เราควรมีเงินฝาก (จำเป็น เพราะในอนาคตเราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะมีความจำเป็นฉุกเฉิน เช่น เราอาจมีสิ่งของที่เราต้องการอยากได้แต่ผู้ปกครองไม่สามารถซื้อให้ได้เพราะมีรายจ่ายต้องใช้มาก หากเรามีเงินฝากเราก็สามารถซื้อในสิ่งที่จำเป็นโดยไม่ต้องรบกวนผู้ปกครองได้)

2. ถ้าคุณแม่ให้เงินมาโรงเรียนวันละ 10 บาท และเหลือเก็บไปหยอดกระปุกออมสินวันละ 2 บาท ในเวลาหนึ่งสัปดาห์นักเรียนจะมีเงินในกระปุกออมสินเท่าไร ( 2 x 5 = 10 บาท)

3. ถ้านักเรียนเก็บแบบนี้ทุกสัปดาห์ หารเราคิด 1 เดือนมี 4 สัปดาห์ ใน 1 เดือนนักเรียนจะมีเงินในกระปุกออมสินเท่าไร ( 10 x 4 = 40 บาท )

4. ถ้าเราเก็บสะสมไปเรื่อยๆ จนครบหนึ่งปี ( 52 สัปดาห์ ) นักเรียนจะมีเงินในกระปุกออมสินเท่าไร ( 40 x 52 = 2,080 บาท )

5. และถ้าเราไม่เก็บในกระปุกออมสินนำไปฝากธนาคารจะเป็นอย่างไร ( มีมากกว่า 2,080 บาท เพราะจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากด้วย ) เป็นต้น

***ในการตั้งคำถามเราควรจะเริ่มถามจากประเด็นที่ใกล้ตัวเด็กก่อน เพื่อให้เขามองเห็นภาพ***

การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกไม่ยากอย่างที่คิด  กิจกรรมเสนอแนะ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติจริง เช่น ให้นักเรียนทำการสำรวจเปรียบเทียบราคาสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวัน กิจกรรมออมทรัพย์

การสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกไม่ยากอย่างที่คิด   การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

1. บูรณาการกับกลุ่มสาระภาษาไทย เรื่อง การเขียนบันทึก

2. บูรณาการกับกลุ่มสาระสังคมศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

โดย ปรียาภรณ์ สพท.อด.2

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=64

อัพเดทล่าสุด