สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด


1,209 ผู้ชม


การสอนให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดขี้นมาเองได้นั้น ทำได้ยากกว่าการสอนด้วยการบอกหลายเท่านัก   


สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด

สอนอย่างง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด

                     ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ครูมักจะมีปัญหาว่า จะสอนอย่างไร จึงจะทำให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด (Concept)จะใช้อุปกรณ์รูปภาพ หรือจะหาตัวอย่างอย่างไรดี ซึ่งคิดว่าครูหลาย ๆ ท่านคงจะเห็นด้วยว่า การสอนให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดขี้นมาเองได้นั้น ทำได้ยากกว่าการสอนด้วยการบอกหลายเท่านัก ไหนจะปัญหาที่ว่า ระดับความสามารถในชั้นเรียนของนักเรียนแตกต่างกัน นักเรียนมีพื้นฐานไม่เท่ากัน ครูหลายท่านจึงจำเป็นต้องรวบรัดด้วยการบอก แทนที่จะเป็นการสอนแบบให้นักเรียนเกิดองค์ความรู้ได้เอง ( การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์มักมีปัญหาว่า สอนอย่างไร จะใช้อุปกรณ์ รูปภาพ หรือจะหาตัวอย่างอย่างไรดี จึงทำให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด เพราะ การสอนให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอดขี้นมาเองทำได้ยากกว่าการสอนด้วยการบอสอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอดกหลายเท่านัก ) ที่มา : คลิ๊กที่นี่

จากประเด็นบทความใช้ประกอบเรื่อง
          การสร้างความคิดรวบยอด  (สำหรับครูทุกช่วงชั้นทุกวิชา)

เนื้อเรื่อง
 
ความหมายความคิดรวบยอด 

พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า มโนภาพ หรือความคิดรวบยอด หมายถึง ภาพในใจ หรือแบบของความคิดที่เป็นตัวแทนสิ่งของทั้งประเภท เช่น"แมว" เป็นมโนภาพทั่วไปสำหรับแมวทั้งหมด ถึงแม้แมวแต่ละตัวอาจจะไม่เหมือนกัน "ดำ" เป็นมโนภาพของสีหรือความดำทั่วไป ไม่ว่าจะปรากฏเป็นคุณลักษณะของสิ่งใดในโอกาสใด "ความยุติธรรม" เป็นมโนภาพสำหรับคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เป็นกลางไม่ลำเอียง ไม่ว่าจะปรากฏในการกระทำเรื่องใดที่ไหน (ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2524. หน้า 77. ) 
ที่มา : คลื๊กที่นี่


ความคิดรวบยอด หรือ มโนภาพ (Concept) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจความเห็น หรือภาพสุดท้ายที่เกิดจากสิ่งเร้า หรือเหตุการณ์ของบุคคลที่ได้รับจากการเรียนรู้ในลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น อันเกิดจากประสบการณ์ที่เคยได้รับมาในสิ่งนั้น หรือในเรื่องนั้น หลายๆแบบมีลักษณะเป็นนามธรรม โดยกระบวนการสร้างความคิดรวบยอดประกอบด้วย การรับรู้ การจัดประเภทการแยกแยะ และการสรุปครอบคลุม
ที่มา : คลิ๊กที่นี่ 

ความคิดรวบยอด หมายถึง ความรู้ความเข้าใจลักษณะเฉพาะร่วมของสิ่งเร้า (วัตถุ, สถานการณ์, เหตุการณ์, ปรากฏการณ์ ฯลฯ) กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ความคิดรวบยอดของสิ่งที่เรียกว่า “โต๊ะ” หมายถึงสิ่งเร้ากลุ่มหนึ่งที่มีขา และมีพื้นที่หน้าตัดสำหรับไว้ใช้งาน เช่น เขียนหนังสือ วางสิ่งของ ฯลฯ แต่ไม่ใช่สำหรับใช้นั่ง ความคิดรวบยอดนี้เกิดขึ้นในจิต เราใช้ภาษาเรียกชื่อ หรือใช้สัญลักษณ์แทนความคิดรวบยอดนั้น เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ในกรณีนี้หากผู้ใดมีความคิดรวบยอด (รู้จัก, เข้าใจ) เกี่ยวกับโต๊ะ เมื่อได้ยินคำว่าโต๊ะ หรืออ่านพบคำว่าโต๊ะก็จะบอกถึงลักษณะเฉพาะของโต๊ะได้ทันที คนที่มีความคิดรวบยอด “ประชาธิปไตย” เมื่อพบการใช้ชีวิต หรือการปกครองโดยสมาชิกในกลุ่มสามัคคีร่วมมือกัน ยอมรับนับถือกันและแก้ปัญหาด้วยวิธีการแห่งปัญญาก็จะทราบได้ทันทีว่า คนกลุ่มนั้นใช้ชีวิตหรือปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะลักษณะทั้ง 3 ประการ คือลักษณะเฉพาะของประชาธิปไตยนั่นเอง จะเห็นว่าความคิดรวบยอดมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่เป็นรูปธรรมก็จะเรียนรู้หรือเข้าใจได้ง่ายกว่าที่เป็นนามธรรม เมื่อเรามีความคิดรวบยอดอะไรแล้วนอกจากเราสามารถระบุลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นได้ เรายังสามารถจัดประเภทหรือแยกประเภทของสิ่งนั้นได้อีกด้วย เช่น เรามีความคิดรวบยอด “แมว” เมื่อพบสัตว์ตัวหนึ่งเราสามารถบอกได้ว่าใช่แมวหรือไม่ ถ้ามีลักษณะเฉพาะของแมวเราก็จัดว่าเป็นแมว ถ้าไม่มีลักษณะของแมวเราก็แยกประเภทไม่ใช่แมว เป็นต้น ความคิดรวบยอดนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งที่จะใช้ในเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ (โลก) การเรียนการสอนจึงต้องให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้องให้ได้ มิฉะนั้นแล้วเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้หรือเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างแท้จริงได้ จะรู้หรือเข้าใจเฉพาะกรณีเท่านั้น เช่น ไม่เข้าความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการบวกอย่างแท้จริง เมื่อจะต้องบวกเลขที่ไม่เคยบวกมาก่อนก็ไม่สามารถบวกได้ถูกต้อง เป็นต้น ที่มา : คลิ๊กที่นี

 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1. ขั้นการสังเกต
2. ขั้นจําแนกความแตกต่าง
3. ขั้นหาลักษณะร่วม                                                                             
4. ขั้นระบุชื่อความคิดรวบยอด 
5. ขั้นทดสอบและนําไปใช้ 
ที่มา : https://www.wichaisu.info/job/%A1%D2%C3%E1%BA%BA%C1%D5%E1%B9%C7%A4%D4%B4%20%20%CB%C5%D1%A1%A1%D2%C3%20%20%B7%C4%C9%AF%D5.ppt#256,2,ภาพนิ่ง

สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด       ขั้นตอนการสอนความคิดรวบยอด ให้นักเรียนสังเกต บอกสิ่งที่เห็น ที่เราต้องการให้เกิดความคิดรวบยอด และนำมาเปรียบเทียบหาลักษณะที่แตกต่าง และเหมือนกัน จัดกิจกรรมขั้นที่ 1 และ 2 จำนวน 3-4 ตัวอย่าง แล้วจึงดำเนินการนำตัวอย่างทั้งหมดให้นักเรียนหาลักษณะร่วมที่เหมือนกัน และจึงสอนขั้นที่ 4-5 ให้ตัวอย่างแล้วอย่าลืมตั้งคำถามให้เด็กตอบ  ขั้นที่สำคัญคือขั้นที่ 1-3 ลองคิดลองทำใช้ฝึกเด็ก ต่อไปจะไม่มีคำถามว่าทำไมเด็กไม่คิดดดดดดด   (ส่งผลให้มีหลักฐาน มฐ. ที่ 4 ของการประเมินภายใน ภายนอก)


ตัวอย่าง  กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความคิดรวบยอด

                 สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด

                 สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด            

                สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด

               สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด

               สอนง่ายๆ ให้เกิดความคิดรวบยอด

 ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย

1. ความคิดรวบยอดเกิดขึ้นเอง หรือใช้การบอก
2. การสอนให้นักเรียนเกิดความคิดรวบยอด มีกี่ขั้นตอน
3. ขั้นตอนแรกของการสอนให้เกิดความคิดรวบยอดคืออะไร นักเรียนควรทำอย่างไร
4. ขั้นการหาลักษณะร่วมต้องจัดกิจกรรมที่ 1 - 3 ครั้งเดียวใช่หรือไม่ 


ที่มารูปภาพ : 1. www.oknation.net/.../images/brain/pic12.jpg
                  2. https://www.siamha.com/content/data/2/pic/siamhadotcom8996.gif

                  3. https://www.webhost.cpd.go.th/ewt/poetaram/images/image024.gif

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=75

อัพเดทล่าสุด