ตัวอย่าง แบบบันทึกการออกแบบการเรียนรู้


2,103 ผู้ชม


การออกแบบการเรียนรู้มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ตรงตามความต้องการของผู้สอนและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ   

ตัวอย่าง  แบบบันทึกการออกแบบการเรียนรู้   วิชา  คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

ตัวอย่าง แบบบันทึกการออกแบบการเรียนรู้

จุดประสงค์
การออกแบบการเรียนรู้มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ตรงตาม
ความต้องการของผู้สอนและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หลักในการการออกแบบการเรียนรู้มีดังนี้
1. จัดกิจกรรมให้ครอบทั้ง 4 องค์ประกอบคือ
    (1) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
    (2) การสร้างความรู้ร่วมกัน
    (3) การนำเสนอความรู้
    (4) การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติการเรียนรู้แต่ละกิจกรรมควรมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
2. กำหนดกิจกรรมที่ชัดเจนว่าจะให้นักเรียนแบ่งกลุ่มอย่างไร เพื่อทำอะไร ใช้เวลามากน้อยแค่ไหน  โดยจัดเวลาที่เหมาะสมตามความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบการเรียนรู้  เมื่อทำงานเสร็จแล้วให้ทำอะไรต่อ  เช่น  ส่งตัวแทนนำเสนอผลงาน นำผลงานไปติดบอร์ดให้สมาชิกทั้งชั้นได้อ่าน 
3.  กำหนดบทบาทของกลุ่มและสมาชิกแต่ละคะให้ชัดเจน  ควรให้แต่ละกลุ่มมีบทบาทที่ต่างกัน  เมื่อนำมารวมกันในชั้นจะเกิดการขยายการเรียนรู้  ไม่ซ้ำซ้อนน่าเบื่อและใช้เวลาน้อยลง  
4. กำหนดโครงสร้างของงานที่ชัดเจน บอกรายละเอียดของกิจกรรม  บทบาทสมาชิก กำหนดเวลาทำงานในกลุ่มและเวลาในการนำเสนอ
5. ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจริยธรรม
6. ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

ตัวอย่าง แบบบันทึกการออกแบบการเรียนรู้คำถามที่ต้องการคำตอบ
1. การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ครูควรมีบทบาทอย่างไร
ตอบ การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ครูควรมีบทบาทดังนี้
   (1)  บทบาทนักวางแผน  และนักจัดการ  ครูควรวางแผนและจัดการเพื่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการ  ครูต้องประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์การสอน เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้  พัฒนาการเด็ก เทคนิควิธีการสอน งานวิจัย วิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการวางแผนบริหารชั้นเรียนเพื่อนำมาใช้การเตรียมการสอน วางแผนการเรียนรู้และการจัดแระสบการณ์ให้ผู้เรียน
   (2) บทบาทของผู้อำนวยความสะดวก  เพื่อการพัฒนาของแต่ละบุคคล  ได้แก่ ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการ  ความถนัด ความแตกต่างระหว่างบุคคล  เป็นผู้คอยกระตุ้น  ยั่วยุให้เด็กเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ คอยอำนวยความสะดวกให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสถานที่ สื่อ เครื่องมือ แหล่งเรียนรู้ และวิธีการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตลอดจนแนะนำการค้นพบความรู้ด้วยตนเองให้ได้
   (3) บทบาทของตัวกลางของการมีมนุษย์สัมพันธ์  ได้แก่ การที่ครูได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งระหว่างครูกับผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางสังคมที่ดีในหมู่ผู้เรียน ชี้แนะ นำเสนอหรือสร้างค่านิยมที่ถูกต้องดีงาเพื่อเป็นแนวทาในการประพฤติตนของผู้เรียน
   (4) บทบาทในการเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน  ครูต้องปฏิบัติตนเป็นกัลยาณมิตรธรรม 7 ประการ
       4.1)  ปิโย น่ารัก
       4.2) ครุ น่าเคารพ
       4.3) ภาวนีโย น่าเจริญใจ
       4.4) วัตตา รู้จักพูดให้ได้ผล
       4.5) วจนักขะโม  อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา  ซักถาและวิพากษ์วิจารณ์
       4.6) คัมภีร์รัญจะ  กะลังกิตตา  แถลงเรื่องล้ำลึก
       4.7) โนจีฎฐาน  ปิโยชะเย  ไม่ชักนำในฐาน

2. การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  นักเรียนควรมีบทบาทอย่างไร
ตอบ  การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  นักเรียนมีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการจัดการเรียนรู้นักเรียนต้องร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์     สร้างความรู้ร่วมกัน   นำเสนอความรู้  ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติในทำการกิจกรรการเรียนการสอนทุกครั้ง

3. การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีรูปแบบและเทคนิคใดบ้าง  
ตอบ  การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีรูปแบบและเทคนิคการสอนสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ดังนี้

หลักการสอนคณิตศาสตร์ตามกระบวนการ
 1.กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์  
 2.กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ  
 3.กระบวนการสอนทักษะปฏิบัติ 
 4.กระบวนการทักษะการคิดคำนวณ 
 5.กระบวนการสอนทักษะการแก้โจทย์ปัญหา 
 

กลยุทธ์การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(2540:106–134) ได้รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ พบว่าเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในประเทศไทยที่ค้นพบมี 47 วิธี ดังนี้
 1.วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics)
 2.วิธีสอนแบบวรรณี 
 3.วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง
 4.วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ
 5.วิธีสอนแบบอุปมาร
 6.วิธีสอนแบบอุปมาน
 7.วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ 
 8.วิธีสอนแบบแก้ปัญหา 
 9.วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม
 10.วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล
 11.วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย
 12.วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด 
 13.วิธีสอนการแก้ปัญหาแบบ 5 ขั้น
 14.วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ
 15.วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิดกับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว
 16.วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์
 17.วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน 
 18.วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) 
ตัวอย่าง แบบบันทึกการออกแบบการเรียนรู้ 19.วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ
 20.วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ
 21.วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า
 22.วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธรรม 
 23.วิธีสอนตามลำดับขั้นการเรียนรู้
 24.วิธีสอนแบบเรียนปนเล่น
 25.วิธีสอนแบบดอลเซียนี
 26.วิธีสอนแบบ สสวท.
 27.วิธีสอนตามเทคนิคการสอนของสตีฟ
 28.วิธีสอนแบบวิเคราะห์ 
 29.วิธีสอนของนุชุม
 30.วิธีสอนแบบการเรียนแบบสืบสวน - สอบสวน
 31.วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของเลนฮาร์ทและกรีโน
 32.วิธีสอนตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโบลยา 
 33.วิธีสอนโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
 34.วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง
 35.วิธีสอนแบบกลุ่มย่อย
 36.วิธีสอนแบบการเรียนแบบร่วมมือ
 37.วิธีสอนโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยแบบประยุกต์ 
 38.วิธีสอนโดยใช้เพลง 
 39.วิธีสอนโดยใช้การกำบังตน
 40.วิธีสอนโดยใช้กลุ่มพลังเล็กๆ
 41.วิธีสอนโดยบทเรียนโปรแกรมประกอบเครื่องสอนอย่างง่าย
 42.วิธีสอนโดยใช้ชุดการคิดคำนวณ
 43.วิธีสอนโดยการใช้มิติสัมพันธ์
 44.วิธีสอนโดยการทำแบบฝึกหัดคิดเลขเร็วเสริมบทเรียน
 45.วิธีสอนโดยเทคนิคเติมศูนย์ที่บัตรผลคูณ
 46.วิธีสอนโดยใช้เกม และบัตรงานเสริมการเรียน
 47.วิธีสอนโดยใช้บทเรียนที่มีสื่อประสม
 https://www.kanid.com/tutorial2.html

4. การศึกษาเด็กรายบุคคลมีประโยชน์ต่อการออกแบบการเรียนรู้อย่างไร
ตอบ  ประโยชน์ต่อการออกแบบการเรียนรู้ในการศึกษาเด็กรายบุคคลทำให้ครูทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนทุกแง่มุมทุกด้าน  ควรแก้ไขข้อบกพร่องเขาในเรื่องใด  ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบ
การเรียนรู้  การวางแผน การจัดประสบการณ์เรียนรู้หรือเขียนแผนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน  ที่ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือเกิดการพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพากยิ่งขึ้น  ซึ่งสอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ภายใต้หลักการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
5. การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงมีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ  การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงทำเพื่อให้ทราบผลการเรียนรู้ของนักเรียนและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียน  เพราะผลของการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ครูต้องนำมาพิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู  แก้ไขข้อบกพร่อง และเสริต่อการเรียนรู้ให้กับนักเรียน  ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการแนะแนวให้นักเรียนได้เรียนรู้ตาศักยภาพของผู้เรียนได้  
 และการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงมีลักษณะดังนี้ตัวอย่าง แบบบันทึกการออกแบบการเรียนรู้
(1) เป็นการประเมินตามสภาพจริง  กระทำโดยตลอดเวลากับทุกสภาพทั้งที่บ้าน โรงเรียน 
ชุมชน สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ โดยใช้การตัดสินใจของมนุษย์  แทนการให้คะแนน
(2) เป็นการประเมินผลแนวใหม่  ที่ผสมผสานการเรียนการสอนกับการประเมินผลเข้าด้วยกันหรือดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน
(3) ประเมินความสามารถหลาย ๆ ด้าน  เน้นงานที่มีความหมายต่อผู้เรียน
(4) กำหนดปัญหาหรืองานแบบปลายเปิด  เพื่อให้ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง
(5) ไม่เน้นประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน  แต่ให้นักเรียนผลิตสร้างหรือทำบางสิ่งที่เน้นทักษะกระบวนการคิดที่ซับซ้อน  การพิจารณาไตร่ตรอง  การทำงานและแก้ปัญหา
(6) เน้นสภาพปัญหาที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน  โลกแห่งความจริง
(7) ใช้ข้อมูลอย่างหลากหลายเพื่อการประเมิน  นั่นคือความพยายามที่จะรู้จักนักเรียนในทุกแง่ทุกมุม  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลต้องมีหลายกหลายประเภท
(8) การประเมินผลตามสภาพจริงยึดหลักปฏิบัติตนเป็นสำคัญ
(9) เน้นการมีส่วนร่วมระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง
(10) นักเรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการประเมินตนเองและเพื่อนในชั้น

 
ทีมา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=469

อัพเดทล่าสุด